"ส่งออกไทย" โตหืดจับ


เพิ่มเพื่อน    


    “กระทรวงพาณิชย์” สรุปภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2561 ออกมาแล้วว่า เติบโตอยู่ที่ระดับ 6.7% ถือว่ายังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 3 โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 2.52 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งถือเป็นมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8% เนื่องจากผลกระทบสำคัญจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวทำให้การส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมา จากมาตรการทางตรงสหรัฐ ลดลง 41.6% หรือเป็นผลลบต่อการส่งออก 421.5 ล้านเหรียญฯ ผลจากห่วงโซ่อุปทานจีน ลดลง 5.8% ซึ่งกระทบต่อการส่งออกของไทย 438.6 ล้านเหรียญฯ และผลทดแทนจีนในสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.6% หรือเป็นบวกต่อการส่งออกของไทย 478 ล้านเหรียญฯ
    ทั้งนี้ เมื่อย้อนกลับไปดูภาพรวมการส่งออกปี 2561 ของไทย พบว่า ในช่วงต้นปียังขยายตัวได้ในระดับสูง ก่อนจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง ตามภาวะการค้าในภูมิภาคจากปัจจัยที่มีความท้าทายสูง อาทิ ผลของสงครามการค้าที่ไทยได้รับผลกระทบโดยตรงในตลาดสหรัฐ และจากการที่สินค้าไทยอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของสินค้าจีน, ความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงินในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ จากการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินในหลายประเทศ และผลของฐานการส่งออกสูงในบางกลุ่มสินค้า
    ส่วนทิศทางการส่งออกในปี 2562 กระทรวงพาณิชย์ยังตั้งเป้าหมายการส่งออกของไทยไว้ที่ 8% เช่นเดิม พร้อมกับโจทย์คือ การส่งออกในแต่ละเดือนจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญฯ
    “การส่งออกในปีนี้ยังมีความท้าทายจากความผันผวนและปัจจัยเสี่ยงภายนอก โดยเฉพาะเรื่องข้อพิพาททางการค้า รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ นั่นอาจเป็นผลให้ภาพรวมการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ ก่อนจะเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปี หากปัญหาสงครามการค้ามีทิศทางคลี่คลายลง”
    ขณะที่ภาคเอกชนอย่าง “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)” ประเมินว่าภาพรวมการส่งออกของไทยในปี 2562 จะขยายตัวได้เพียง 3.4% เท่านั้น  ลดลงจากปีก่อนหน้าด้วยเหตุผลที่ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่คาดว่าจะมีทิศทางทรงตัว ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปและเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ขณะที่สินค้าส่งออกไทยหลายกลุ่มยังมีโอกาสได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า ทั้งจากมาตรการที่ประกาศใช้ไปแล้วในปีก่อน และมาตรการเพิ่มเติมที่จะเริ่มใช้ในปีนี้
    ทำให้ไทยยังต้องติดตามท่าทีของทางจีนและสหรัฐ ต่อข้อตกลงด้านสงครามการค้า ซึ่งระหว่างนี้ยังอยู่ในช่วงของการเจรจา 90 วัน โดยจะหมดอายุลงในวันที่ 1 มี.ค.2562
    ขณะที่ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่า ปัจจัยที่ยังเป็นความท้าทายของภาคการส่งออกไทยในช่วงไตรมาส 1/2562 คือ ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข็งค่าของเงินบาท โดยปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ต่ำกว่าประมาณการส่งออกทั้งปี 2562 ที่ 4.5% นั่นเพราะยังมีอีกหลายปัจจัยท้าทายที่รออยู่ ทั้งสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆ ชะลอตัวตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินบาทแข็งค่า ทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องราคาสินค้าส่งออก เป็นต้น
    อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมตัวเลขส่งออกในปีที่ผ่านมา จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ก็ยังถือเป็นการเติบโตในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ โดยเรื่องนี้ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การเติบโตที่ระดับ 6.7% ถือเป็นตัวเลขที่ใช้ได้ แม้จะต่ำกว่าเป้าหมาย เพราะหากดูจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง แต่ไทยยังสามารถประคับประคองการส่งออกให้เติบโตได้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี และสอดคล้องกับที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเมินว่าด้วยความที่เศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นในระดับสูง ถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะสามารถรองรับผลกระทบกรณีที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาได้.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"