'ธนาธร'ปรับทัศนคติคสช.ถ้าคิดสืบทอดอำนาจตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยไปไม่รอด ประเทศเจ๊งไม่มีงบประมาณ


เพิ่มเพื่อน    

22 ม.ค.62-นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  Thanathorn Juangroongruangkit ว่า US Government Shutdown ถึง พรบ. งบประมาณแผ่นดิน ๒๕๖๓; ไทยจะมีการชัตดาวน์ทางงบประมาณไหม? 

วันนี้รัฐบาลกลางอเมริกาเข้าสู่วันที่ ๓๐ ของภาวะชะงักงันด้านการจ่ายงบประมาณ หรือ US Government Shutdown ภาวะดังกล่าวเกิดจากการที่สภาไม่สามารถหาข้อสรุปและผ่านกฎหมายงบประมาณสำหรับปี ๒๐๑๙ ได้ สาเหตุหลักคือการดื้อดึงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการให้สภายอมรับการสร้างกำแพงตามแนวพรมแดนสหรัฐฯกับเม็กซิโก ซึ่งต้องใช้งบประมาณ ๕.๗ พันล้านดอลลาร์ หรือ ๑.๙ แสนล้านบาท

กฎหมายสหรัฐฯ ห้ามไม่ให้หน่วยงานที่ภารกิจไม่จำเป็นอย่างยิ่งยวดในการดำเนินการของรัฐใช้จ่ายเงิน หากกฏหมายงบประมาณในปีนั้นๆยังไม่ผ่านสภา หน่วยงานที่ภารกิจ “ไม่จำเป็นอย่างยิ่งยวด” (เช่นหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม, นาซ่า, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ หรือแม้แต่เอฟบีไอ) ไม่สามารถลงทุน, ซื้อข้าวของอุปกรณ์ที่จำเป็น หรือจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐได้ มีการประมาณการว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับผลกระทบจากการชัตดาวน์มีมากถึง ๘๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ๙ กระทรวง

เสียงข้างมากในสภาสูงเป็นของพรรครีพับบลิกันและอำนาจในการวีโต้เป็นของประธานาธิบดี ขณะที่เสียงข้างมากหลังการเลือกตั้งผู้แทนในเดือนพฤศจิกายน ๒๐๑๘ ในสภาล่างของสหรัฐฯ ปัจจุบันเป็นของพรรคเดโมแครต ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการลงทุนมหาศาลเพื่อสร้างกำแพงกีดกันชาวเม็กซิโก ภาวะเช่นนี้ทำให้อำนาจถ่วงดุลกัน ไม่มีข้างใดชนะเด็ดขาดได้แต่ฝ่ายเดียวในสภา ทรัมป์ไม่ยอมประนีประนอม ยืนยันจะสร้างกำแพงให้ได้แม้จะต้องชัตดาวน์นานเป็นปีก็ตาม

การชัตดาวน์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคมปีที่แล้ว จนถึงวันนี้กลายเป็นการชัตดาวน์ที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน เจ้าหน้าที่รัฐประสบความลำบากในการวางแผนการเงินเพราะไม่ได้รับเงินเดือน ในตลาดหุ้น ดัชนีดาวโจนส์ตกลงถึงร้อยละ ๘ ในสัปดาห์นั้น เป็นสัปดาห์ที่ตลาดหุ้นตกต่ำที่สุดใน ๑๐ ปีหลังจากเกิดวิกฤตการเงินในปี ๒๐๐๘ มีผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าการชัตดาวน์ของรัฐบาลครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 1.2 แสนล้านบาททีเดียว

หันกลับมามองการเมืองไทย หากคสช. สืบทอดอำนาจด้วยการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยโดยใช้เสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาแต่งตั้ง รัฐบาลจะประสบปัญหาการผ่านพรบ. งบประมาณแผ่นดินสำหรับปีบัญชีพ.ศ. ๒๕๖๓ ถ้าการเลือกตั้งเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปี รัฐบาลใหม่จะเริ่มบริหารงานได้ในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลใหม่มีเวลา ๔ เดือน หรือจนถึงเดือนกันยายนในการผ่านพรบ.งบประมาณปี ๒๕๖๓

รัฐบาลเสียงข้างน้อยย่อมไม่สามารถผ่านกฎหมายงบประมาณได้ รัฐบาลมีทางเลือกสองทาง นั่นก็คือ (๑) แสดงสปิริตตามมารยาททางการเมืองด้วยการยุบสภา ซึ่งพรรคของคสช. ก็ยังจะถืออำนาจในฐานะรัฐบาลชั่วคราวต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ หรือ (๒) ดื้อดึงดำเนินการต่อไป พรบ.งบประมาณของไทยอนุโลมให้ใช้กรอบงบประมาณของปีก่อนหน้าดำเนินการไปพลางก่อน (ตามมาตรา ๑๒ พรบ. งบประมาณรายจ่าย) ดังนั้นจะไม่มีเหตุการณ์ชัตดาวน์ทางงบประมาณในประเทศไทย

ไม่ว่าจะกรณีไหน ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการไม่มีพรบ.งบประมาณ เราจะเสียเวลาการพัฒนาประเทศไปกับปัญหาทางการเมือง ความต้องการสืบทอดอำนาจของคนกลุ่มเดียวทำให้ประเทศทั้งประเทศถอยหลัง แทนที่จะเอาเวลาและทรัพยากรของประเทศไปพัฒนาขีดความสามารถเพื่อแข่งขันกับโลก เรากลับปล่อยให้พวกเขาเอาเวลาของเราไป เพื่อต่อเวลาแห่งอำนาจให้พวกเขาเอง โครงการและการลงทุนต่างๆที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนหรือเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศจะไม่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการจะขาดความเชื่อมั่นจากความไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีใครรู้ว่าคำว่า “อนุโลม” มีขอบเขตเท่าใด ความไม่ชัดเจนของกฎหมายจะทำให้ข้าราชการไม่กล้าที่จะตัดสินใจใช้จ่าย เศรษฐกิจจะถดถอยเนื่องจากขาดการลงทุนอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ

เลือกพรรคที่เป็นกองหน้าประชาธิปไตยเพื่อหยุดยั้งภาวะดังกล่าว ถึงเวลาปรับทัศนคติคสช. ด้วยปลายปากกา ฆ่าเผด็จการด้วยการเลือกตั้ง เปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างสันติผ่านกลไกรัฐสภา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"