สกว.เปิดผลวิจัยครอบครัว"คนกรุง"รายได้ดีกว่าภาคอื่น แต่กลับไม่มีความสุขเท่าที่ควร


เพิ่มเพื่อน    

21 ม.ค. 62- รศ.ดร.เรณู สุขารมณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นประธานเปิดการประชุม “ครอบครัวไทยอยู่ดีมีสุขเพียงใด: จากครอบครัวระยะเริ่มต้นจนถึงระยะวัยชรา (มาก)” ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การสร้างดัชนีวัดครอบครัวไทยในยุค 4.0 โดยหวังผลให้การศึกษาแบบบูรณาการครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจลักษณะ การเติบโต พัฒนาการของครอบครัว รวมถึงความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่มาตรการพัฒนาหรือจัดปัจจัยเอื้อต่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวที่เหมาะสม และเกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 

ศ.ดร.รุจา ภู่ไพบูลย์ หัวหน้าโครงการศึกษาครอบครัวไทยแบบบูรณาการตามวงจรชีวิตครอบครัว สกว. กล่าวว่า ครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงและลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม ความอบอุ่นลดลง ขณะเดียวกันครัวเรือนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ปัญหาครอบครัวแตกแยก ความรุนแรงในครอบครัว การตั้งครรภ์วัยรุ่นและทอดทิ้งสมาชิกเพิ่มขึ้น หย่าร้างเพิ่มขึ้นทำให้เด็กอาศัยอยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น จากการเก็บข้อมูลและใช้เครื่องมือวัดความอยู่ดีมีสุข 9 มิติ (สัมพันธภาพ บทบาทหน้าที่ เศรษฐกิจ พึ่งตนเอง การร่วมใจชุมชน พัฒนาด้านจิตวิญญาณ การศึกษา การดูแลสุขภาพ และการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง) ในกลุ่มตัวอย่างจาก 5 ภูมิภาค พบว่าสตรีสูงอายุที่สามีตาย อาศัยอยู่กับลูกหรือหลาน มีความสุขน้อยที่สุด รองลงมาคือลูกที่อาศัยอยู่กับญาติ พ่อแม่ไปทำงานต่างถิ่น 

ผลวิจัยที่สำคัญพบว่าดัชนีชี้วัดที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ ด้านเศรษฐกิจ การช่วยตนเองทางการเงิน การออม และการให้การสงเคราะห์ยังเป็นความจำเป็น โดยคนภาคใต้มีความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวมากที่สุด ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคะแนนด้านรายได้ต่ำ (ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน) และพอเพียงน้อยที่สุด 

ในส่วนของชาวกรุงเทพฯ นั้นแม้จะมีรายได้ดีแต่กลับไม่มีความสุขเท่าที่ควร ทั้งนี้ จำนวนบุตรเป็นตัวชี้วัดความสุขของครอบครัวที่สำคัญ ไม่ว่าจะรวยหรือจน แต่หากมีมากเกินไปก็จะมีผลทางลบ ขณะที่ผู้พิการในบ้านเป็นตัวแปรเชิงลบที่มีความสุขน้อยลง แต่จะดีขึ้นถ้าได้อยู่กับลูกหลาน และผู้หญิงจะมีความสุขน้อยกว่าผู้ชายเพราะคิดมากกว่าในหลายแง่มุม 

ขณะที่สมดุลเวลาการทำงานและชีวิตครอบครัว คนที่ไม่มีบุตรจะมีสมดุลดีกว่าคนที่มีบุตร จึงควรรณรงค์ในประเด็นนี้อย่างจริงจัง 

เมื่อมองในช่วงวัยพบว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยอดทน ลาออกจากงานบ่อย เพราะมีวิธีคิดต่างจากคนรุ่นก่อน มักคิด หลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน ครอบครัวกลุ่มวัยรุ่น Gen Z มีคะแนนต่ำสุดทุกด้าน เป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลสนับสนุนและพัฒนามิติย่อยทุกด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่พบทั่วไปในทุกกลุ่มรุ่น โดยกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และ Gen X เป็นกลุ่มที่มีคะแนนรวมครอบครัวอยู่ดีมีสุขสูงสุด 2 อันดับแรก

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายพัฒนาครอบครัวตามวงจรชีวิตครอบครัว ศ. ดร.รุจาระบุว่า ในระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตรเป็นระยะที่ครอบครัวมีระดับคะแนนต่ำสุด รองลงมาคือระยะสูงวัยมาก (อายุเกิน 80 ปีขึ้นไป) ควรพิจารณาเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้การดูแลสนับสนุนเป็นพิเศษจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง คนสูงวัยมีโอกาสซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ขณะที่พ่อแม่ต้องให้เวลากับลูกและต้องการแบ่งเบาภาระ ควรให้สถานประกอบการร่วมรณรงค์เรื่องสมดุลเวลาทำงานและชีวิตครอบครัวซึ่งจะมีผลต่อการรับรู้ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวโดยรวม อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทั้ง 9 ด้านนี้ จะต้องประเมินก่อนว่าปัญหาอยู่ที่ใด จะได้ให้การช่วยเหลือถูกประเด็น รวมทั้งต้องเหมาะสมกับช่วงวัยของชีวิต มีการป้องกันภาวะเสี่ยงตามพัฒนาการและการจัดการภาวะวิกฤติ

ด้าน รศ. ดร.จิตตินันท์ เดชะคุปต์ นักวิจัยร่วมโครงการจาก มสธ. ระบุว่า เวทีแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้นนับเป็นความจำเป็นในการพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดกลาง ที่สะท้อนความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยหลากมิติสู่ความเป็นสากล ประเทศไทย 4.0 ว่าอะไรคือองค์ประกอบหลักที่บ่งบอกความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย อะไรคือดัชนีชี้วัดสำคัญที่สะท้อนสถานการณ์ และใครคือเจ้าภาพหลักหรือร่วมรับผิดชอบข้อมูลกลางด้านครอบครัว “งานวิจัยนี้ช่วยสะท้อนว่าช่วงเวลานั้น ๆ ของชีวิตของกลุ่มจตัวอย่างเป็นเช่นไร เป็นข้อคิดเตือนใจ เครื่องมือไม่ได้เป็นไปเพื่อตัดสินใคร แต่เพื่อการทำงานให้ล่วงรู้สถานะชีวิต และจะต้องทำเช่นไรต่อไป ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อคุณประโยชน์ในการทำงาน นำไปปรับปรุงส่งเสริมหรือให้การช่วยเหลือต่อไป

ผศ. ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอแนะว่าวงจรชีวิตครอบครัวในปัจจุบันเลื่อนไป เป็นเหตุให้การสอดรับช่วยกันดูแลมีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยครอบครัวขยายในอดีตมีอายุไม่มากเท่ากับปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 45 ปี แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 60 ปีขึ้นไป เพราะมีการเลื่อนหรือชะลอการแต่งงานที่สะสมมาในหลายช่วงวัย หลานที่โตแล้วต้องช่วยดูแลปู่ย่าตายายเมื่อพ่อแม่ไปทำงาน ปัจจุบันครัวเรือนกระจัดกระจาย ความอยู่ดีมีสุขอาจขึ้นอยู่กับอายุของหลานด้วย ถ้าหลานอายุยังน้อยถึงจะซนแต่ก็น่ารัก เมื่อโตเป็นวัยรุ่นจะมีช่องว่างมากขึ้น ใช้สื่อสังคมออนไลน์กันมาก อาจมีผลต่อความสุขของครอบครัว

ขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นว่าแม้เขตปทุมวันจะดูเป็นเขตใหญ่แต่แท้จริงมีชุมชนเพียง 17 ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเคหะ มีความเหลื่อมล้ำสูงมากโดยเฉพาะชุมชนหลังวัดปทุมวนาราม ด้านหน้าติดห้างสรรพสินค้าใหญ่แต่ด้านหลังติดคลองแสนแสน อีกทั้งเขตนี้ยังมีประชากรแฝงจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่แออัด สุขลักษณะและคุณภาพชีวิตไม่ค่อยดี ต้องพึ่งพาตวเอง ความเป็นอยู่อัตคัด ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตมากที่สุด และยังต้องการเบี้ยคนชรา เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด และเงินช่วยค่าทำศพ แต่ได้รับเฉพาะผู้มีชื่อตามทะเบียนราษฎร์เท่านั้น

เช่นเดียวกับผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดลที่ระบุว่าคนกรุงต้องผจญกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งสภาวะเศรษฐกิจ การเดินทาง ความปลอดภัย อุบัติเหตุ คนใจร้อนขึ้น ก่ออาชญากรรมรุนแรงต่างจากในอดีต รวมถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง ไม่ค่อยได้คุยกัน เป็นเสมือนยาดำในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีฝุ่นควันเกินมาตรฐาน กรุงเทพมหานครจึงดูด้อยโอกาส ความสุขน้อยกว่าภาคอื่น 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"