คนไทยอยากหย่อนบัตรมาก 98.4%บอกหากกำหนด 24 ก.พ.ไปใช้สิทธิ์แน่ “บิ๊กตู่” ยังคงครองอันดับหนึ่งที่อยากให้เป็นนายกฯ “ชัชชาติ” มาแรงติดอันดับ 6 “วิษณุ” ก็ร่วมวงบ๊วย ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนยี้ รมต.ถือหุ้นสัมปทาน คนส่วนใหญ่ยังกังวลความไม่แน่นอนวันเลือกตั้ง
เมื่อวันอาทิตย์ มีการเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็น (โพล) ที่เกี่ยวกับการเมืองถึง 3 สำนัก โดยนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เผยผลโพลเรื่อง ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 6) ซึ่งสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง
โดยเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 59.72% ระบุว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ๆ, 39.04% ระบุว่าพรรคการเมืองพรรคเก่า และ 1.24% ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ สำหรับเหตุผลของผู้ที่ระบุว่าอยากได้พรรคการเมืองพรรคใหม่ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ 57.06% ระบุว่าอยากเห็นคนใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น, 30.48 ระบุว่าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ของประเทศ, 12.26% ระบุว่าเบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า และ 0.2% ไม่ระบุ
“ผู้ที่ระบุว่าอยากได้พรรคการเมืองพรรคเก่า ส่วนใหญ่ 34.42%.ให้เหตุผลว่ามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์, 31.05% ระบุว่าเคยเห็นผลงานมาแล้ว, 20.7% ระบุว่าชอบการบริหารงานแบบเก่าๆ บริหารงานดีอยู่แล้ว, 7.07% ระบุว่ารู้จักและคุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี, 6.25% ระบุว่ามีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่ และ 0.51% ไม่ระบุ” นิด้าโพลระบุ
สำหรับบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกฯ 10 อันดับแรก พบว่า 26.2% ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 22.4% คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคเพื่อไทย, 11.56% นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, 9.6% นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พรรคอนาคตใหม่ 7.32%, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส พรรคเสรีรวมไทย, 7.28% นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พรรคเพื่อไทย, 3.28% นายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์, 2.32% พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ พรรคเพื่อไทย, 1.2% นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย และ 0.72% ระบุว่าเป็นนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี โดยนายชัชชาติติดอันดับเป็นครั้งแรก หลังจากที่สำรวจมา 5 ครั้ง
เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ 32.72% ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย, 24.16% พรรคพลังประชารัฐ, 14.92% พรรคประชาธิปัตย์, 11% พรรคอนาคตใหม่, 5.76% พรรคเสรีรวมไทย, 1.92% พรรคภูมิใจไทย, 1.6% พรรคชาติไทยพัฒนา, 0.92% พรรคไทยรักษาชาติ, 0.56% และ 0.52% พรรคประชาชาติ และพรรคเพื่อชาติ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ 40.64% ระบุว่าเป็นบุคคลที่มีผลประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศ, 36.2% ระบุว่าชอบพรรค/นโยบายของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด, 13.28% ระบุว่าชื่นชอบเป็นการส่วนตัว, 6.76% ระบุว่าต้องการได้ ส.ส.หน้าใหม่, 1.4% ระบุว่าต้องการได้นายกฯ ตามมติของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด, 1.12% ระบุว่าเป็นอดีต ส.ส. หรือนักการเมืองในพื้นที่ หรือเป็นญาตินักการเมืองเดิมในพื้นที่, 0.4% ระบุว่าผู้สมัครสังกัดพรรคที่จะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน, 0.12% ระบุว่าผู้สมัครสังกัดพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่ตนเองไม่ชอบ และ 0.08% ระบุว่าไม่แน่ใจ
นิด้าโพลยังถามถึงปัญหาที่อยากให้นายกฯ คนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 52.8% ระบุว่าปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน, 21.96% ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ, 8.92% ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล, 4.8% ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ, 3.44% ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า, 2.16% ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย, 2.08% ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ, 1.56% ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค, 2.16% ระบุอื่นๆ และ 0.12% ไม่แน่ใจ
“ความเชื่อมั่นว่าจะเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ.2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 57.88% ระบุว่าไม่เชื่อมั่น, 32.28% เชื่อมั่น, 9.8% ไม่แน่ใจ และ 0.04% ไม่ระบุ และเมื่อถามถึงการไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 24 ก.พ.2562 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 98.4% ระบุว่าไปลงคะแนน, 1.08% ระบุว่าไม่แน่ใจ และ 0.52% ไม่ไปลงคะแนน ซึ่งผู้ที่ระบุว่าจะไปลงคะแนน พบว่าส่วนใหญ่ 93.62% ระบุว่าไปลงคะแนนในวันเลือกตั้ง, 6.34% ไปลงคะแนนเสียงล่วงหน้า และ 0.04% ไม่แน่ใจ”
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง คุณธรรมสัมปทานรัฐรัฐมนตรี ศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ 1,081 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 70.7% เห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐมนตรีที่ถูกลงมติถือหุ้นสัมปทานรัฐควรลาออกทันที ในขณะที่ 29.3% ไม่เห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และส่วนใหญ่หรือ 67.1% ระบุกรณีรัฐมนตรีถือหุ้นสัมปทานรัฐกระทบภาพลักษณ์รัฐบาลและ คสช. ในขณะที่ 32.9% ระบุไม่กระทบ
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือ 77.1% จะไม่เลือกพรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนระบบคุณธรรมและจริยธรรมการเมือง แม้ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่ 22.9% จะเลือกถ้าได้ผลประโยชน์ตอบแทน ที่น่าเป็นห่วงคือ ก้ำกึ่งกัน 50.6% มองว่าการเมืองวุ่นวายไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางเสรีภาพการเดินทางและหารายได้ แต่ 49.4% ระบุเป็นอุปสรรค
ส่วนสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,071 คน ใน 10 เรื่องที่คนไทยกังวลใจเกี่ยวกับการเมืองไทย ณ วันนี้ พบว่า 48.46% วันเลือกตั้งไม่ชัดเจน กลัวไม่มีการเลือกตั้ง, 40.90% ความขัดแย้งแตกแยก ใส่ร้ายโจมตี ทำให้เกิดความวุ่นวาย, 36.69% เศรษฐกิจตกต่ำ นักลงทุนไม่เชื่อมั่น, 30.63% ทุจริต คอร์รัปชัน ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง หาเสียงสกปรก, 24.18% การบริหารงานและเสถียรภาพของรัฐบาล, 22.50% การแก่งแย่งอำนาจ กอบโกยผลประโยชน์, 21.29% ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ขาดความน่าเชื่อถือ, 17.55% ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน, 16.34% การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง และ 15.59% การปล่อยข่าว สร้างกระแส ข่าวเท็จ ข่าวโคมลอย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |