19 ม.ค. 62 - นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพ แสดงความคิดเห็นต่อผลการสอบคดีนาฬิกา ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ว่าการที่กฎหมายกำหนดให้นักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นกระบวนการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะทรัพย์สินและหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติเป็นตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งในเรื่องการทุจริตรับสินบนของนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง หากไม่สามารถชี้แจงที่มาของทรัพย์สินและหนี้สินนั้น
แนวทางการสอบสวนของป.ป.ช.เกี่ยวกับนาฬิกาที่พล.อ ประวิตร วงษ์สุวรรณอ้างว่าขอยืมเพื่อนนั้น เป็นการตั้งโจทย์ในการหาข้อมูลที่น่าจะไม่ถูกต้อง แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในฐานะกรรมการขององค์กรปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ใช่หรือไม่?
แนวทางที่ควรเป็นในการตรวจสอบของป.ป.ช.คือ
1)ต้องให้พล.อ.ประวิตรมีหน้าที่ต้องนำหลักฐานมาแสดงจนสิ้นสงสัยว่านาฬิกาทั้ง22เรือน ไม่ใช่ของตน และใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง หากพล.อ ประวิตรไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์จนสิ้นสงสัยได้ว่าใครเป็นเจ้าของ ย่อมแสดงว่านาฬิกาทั้งหมดเป็นนาฬิกาของพล.อ ประวิตรเอง
ไม่ใช่หน้าที่ของป.ป.ช ที่ต้องไปหาหลักฐานมาพิสูจน์แทนพล.อ ประวิตร ว่าใครคือเจ้าของนาฬิกาที่แท้จริง
2)ในเมื่อการหาหลักฐานของป.ป.ช พบว่านาฬิกาทั้งหมดไม่ได้ขายผ่านตัวแทนในประเทศไทย และกรมศุลกากรก็ไม่พบว่ามีการเสียภาษีนำเข้า ย่อมแสดงว่าเป็นนาฬิกาที่ลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมาย ซึ่งต้องถูกยึดให้ตกเป็นของแผ่นดิน
3)ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ในฐานะที่ดิฉันเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา เคยได้รับการชี้แจงจากป.ป.ช .ว่าหนี้สินที่แม้เป็นการยืมส่วนตัวก็ต้องแจ้งไว้ในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน แล้วจู่ๆ เลขาธิการป.ป.ช มาประกาศว่าถ้าเป็นการยืม ก็ไม่ต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินนั้น จะมิกลายเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ทำลายการตรวจสอบ และเปิดช่องให้ทุจริตกันง่ายๆในอนาคตหรือ!?
การยืมนาฬิกามูลค่าเรือนละเป็นแสน เป็นล้านบาทนั้น ถ้าไม่ต้องแจ้งในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเสียแล้ว ต่อไปใครรับสินบนอะไรมา ก็อ้างว่าเป็นการยืมได้ ใช่หรือไม่?
4)ตามหลักการของป.ป.ช แต่เดิมเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ที่การยืมต้องถือว่าเป็นหนี้สินที่ต้องแจ้ง นาฬิกาที่ยืมจึงเป็นทั้งทรัพย์สินและหนี้สินไปพร้อมกัน
การไม่แจ้งจึงถือว่าเป็นปกปิด ใช่หรือไม่
การให้สัมภาษณ์สื่อของกรรมการป.ป.ช เมื่อวันที่18 ม.ค 2562ที่ผ่านมา จึงไม่ได้ทำให้ข้อสงสัยคาใจของประชาชนต่อ
มติอัปยศของป.ป.ช หมดไป แต่กลับเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า กรรมการป.ป.ช. ไม่ใช่มืออาชีพ ทั้งขาดความรู้ในกฎหมายที่ตัวเองต้องใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ
การใช้เวลาถึง 1ปี ในการตรวจสอบโดยตั้งโจทย์เปะปะผิดประเด็นเช่นนี้ สังคมย่อมประเมินได้ว่าควรเป็นผลงานที่ผ่านโปร หรือไม่ และคุ้มค่ากับเงินเดือนที่มาจากภาษีของประชาชนหรือไม่?!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |