"ศิริราช"ทำกราฟฟิกอินโฟแนะนำการปฎิบัติตัวประชาชนที่เจอฝุ่นพิษในแต่ละพื้นที่ พร้อมเสนอมาตรการระยะยาว


เพิ่มเพื่อน    


18 ม.ค.62- ณ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอำนวยการ ชั้น 2 รพ.ศิริราช  ศาสตราจารย์ นพ.  บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานการแถลงข่าว “มาตรการการดูแลสุขภาพและการจัดการที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้เกี่ยวกับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศาสตราจารย์ นพ.  วินัย วนานุกูล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ผู้แทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมแถลงข่าว


นพ.  ประสิทธิ์ กล่าวว่า การแถลงข่าวในวันนี้มาจากกระบวนการทางวิชาการและหลักฐานทางวิชาการ ที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสิ่งเริ่มต้นเราต้องรู้ว่าเราอยู่ในพื้นที่ใด จะไปที่ใดเพื่อวางแผนชีวิตได้อย่างถูกต้อง ซึ่งข้อมูลในวันนี้จะมีแจกเป็นเอกสารและอินโฟกราฟฟิก ซึ่งง่ายต่อความเข้าใจในหลักปฏิบัติตัวของแต่ละพื้นที่  ดังนั้นจึงอยากขอความกรุณาสื่อมวลชนการเผยแพร่ออกไป   อย่างไรก็ตามในเรื่องสถานที่ทำงาน หากเป็นผู้ที่มีอำนาจในการที่จะสามารถเลื่อนอะไรต่างๆได้ก็ขอให้พิจารณาว่าในพื้นที่ที่ท่านอยู่นั้น คนทำงานหรือนักเรียนกว่าจะเดินทางมาถึงได้มีความเสี่ยงเพียงใด เพราะรถทุกคันที่เข้ามาในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ทั้งนี้ขอย้ำว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นทั้งปี เกิดประมาณ ม.ค.-มี.ค. หลังจากนั้นเราก็สามารถมีชีวิตปกติได้ ซึ่งทุกคนต้องช่วยกันหากเราอยากให้ลูกหลานของเราเติบโตในสังคมที่ดี


ดร. จักรกฤษณ์ กล่าวว่า สาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประเด็นหลักเป็นเรื่องของท่อไอเสียทางรถยนต์รวมถึงการจราจรที่หนาแน่น ประเด็นถัดมาคือเรื่องของการเผาชีวมวลทั้งในที่โล่งและไม่โล่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของฝุ่นทุติยภูมิที่เกิดจากการเผาหรือการจราจรจากที่อื่นลอยมาในระยะไกล และการเผาไหม้จากภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งสิ่งที่ต้องช่วยกันและสามารถดำเนินการได้ทันทีคือการจัดการเรื่องจราจร ในเขตที่น่าเป็นห่วงและการใช้รถขนาดใหญ่ ส่วนการเผาก้น่าจะต้องมีการควบคุมในช่วงที่สำคัญ ในช่วงเดิน ม.ค.-มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่กรุงเทพมีประเด็นเรื่องฝุ่นละอองเกิดต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว 
รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง กล่าวว่า จากนักวิชาการที่เรามีทั้งในด้านอาหาร อากาศ โภชนาการต่างๆก็ได้มีการประมวลข้อมูลและสรุปออกมาได้ เป็นขั้นตอนง่ายๆ คือเราต้องหาข้อมุลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็กมามากแค่ไหน ในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ ที่ต้องไปทำธุระหรือแม้กระทั่งการประกอบอาชีพ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากข้อมูลข่าวสาร ทั้งวิทยุ การรับชมทีวี และการใช้แอฟพลิเคชั่น ต่างๆ ซึ่งสีที่เป็นกังวลกันคือสีส้ม สีแดง แต่หากครอบครัวมีผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงอาจจะต้องเริ่มพิจารณาตั้งแต่สีเหลืองว่าเราจะมีการดุแลอย่างไร อาจจะหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งซึ่งต้องมีการพิจารรากันอย่างรอบคอบ เช่นการหลีกเลี่ยงจะเข้าไปในพื้นที่ที่มีสีส้ม สีแดง หากจำเป็นก็ต้องพิจารณาว่าสามารถเลื่อนหรือปรับเวลาได้หรือไม่ เช่นอาจจะเลือกเป็นช่วงเวลากลางวันที่มีแดดส่องออกมาแล้ว คุณภาพอากาศก็จะดีขึ้นแต่หากเลือกไม่ได้ก็คงต้องหาอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งที่ตื่นตัวกันอยู่ตอนนี้คือเรื่องของการใช้หน้ากาก ทั้งN95 และหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ซึ่งสิ่งสำคัญต้องเลือกที่มีความกระชับกับใบหน้าให้ลมสามารถเข้าไปได้ หรือหากใส่แล้วหายใจลำบาก นักวิชาการบอกว่าให้หาอาคารเพื่อเข้าไปหายใจให้เข้มแข็งก่อน แล้วค่อยออกมาใหม่


รศ.นพ.นิธิพัฒน์  เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบทางเดินหายใจและวัณโรคภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า หลักการของการใช้หน้ากาก N 95 ต้องให้กระชับกับใบหน้า จะมีประสิทธิภาพคุ้มครองได้ สูงถึง 95 % แต่หากไม่กระชับจะลดอวบมาอยู่ที่ 60-70% หรือลดลงมาถึง 30-40 % กรณีการใช้หน้ากากธรรมดาควรใช้ 2 ชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แต่หากจำเป็นต้องใช้แผ่นเดียวก็อาจต้องใช้ทิชชู่เสริมเข้าไป 2 ชั้น ซึ่งมีผลทดสอบว่าสามารถป้องกันได้ 40 % แต่ทั้งนี้ต้องเป็นทิชชู่ที่คลี่ออก  ไม่กระจุกตัวเป็นก้อน และห้ามนำไปชุบน้ำก่อนเพราะประสิทธิภาพจะลดลง


รองศาสตราจารย์ ดร. สุระ พัฒนเกียรติ กล่าวว่า เราทราบกระบวนการป้องกันและลดลักษณะความเสี่ยงจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก แต่จริงๆแล้วชีวิตประจำวันเราได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม ที่มีการรุกล้ำ มีการก่อสร้างเข้ามาค่อนข้างมาก สิ่งที่ลืมนึกถึงไปคือเรื่องพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง ซึ่งพืชเป็นสิ่งที่ปกป้อง คุ้มครองความรุนแรงของชีวิต จากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป  เพราะฉะนั้นในระยะยาวเราต้องใช้พืชพันธุ์ทำอย่างไรเราจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราพยายามมองว่าอาจพยายามสร้างพืชพันธ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวในแนวตั้ง แนวดิ่งมากขึ้น ใครที่อยู่ในคอนโดเราก็อาจจะมีพื้นที่ใช้เป็นไม้เลื้อย ไม้พุ่ม  ไม้ประดับโดยเฉพาะที่มีกิ่งใบซึ่งจะเป็นฝุ่นกำบังชั้นดีที่จะป้องกันมลพิษทางอากาศ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"