18 ม.ค. 2562 นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)เปิดเผยว่าผลการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟและรถไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นดำเนินการมาแล้ว 5-6 เดือนคาดว่าจะเสนอกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)ได้ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ก่อนส่งต่อไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป เริ่มจากรถไฟฟ้านั้นพบว่าจากการเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รายได้และกำลังการบริโภคของคนกรุงเทพนั้นพบว่าประชากรครึ่งหนึ่งหรือราว 4-5 ล้านคนนั้นไม่สามารถรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันได้
อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ ดังนั้นจึงต้องการเสนอให้รัฐบาลควบคุมโครงสร้างค่าโดยสารอย่างเป็นระบบทั้งเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่ในอนาคต เช่นเดียวกับการคุมค่าโดยสารรถเมล์ในช่วงที่ผ่านมา หรืออย่างน้อยต้องไม่ปล่อยให้ค่าโดยสารลอยตัวเหมือนในปัจจุบัน ดังนั้นจึงยกตัวอย่างผู้มีรายได้ขั้นต่ำราว 10,000-15,000 บาท อาทิ ค่าเฉลี่ยของค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายอยู่ที่ 42 บาท หากเดินทางเข้าเมืองต้องมีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอีกสายจะเป็น 84 บาท/เที่ยว หรือ 168 บาท/วัน และ คิดเป็น 3,360 บาท/เดือน ในกรณีที่มีวันทำงาน 20 วัน/เดือน ดังนั้นจึงพบว่าเฉพาะแค่ค่ารถไฟฟ้านั้นคิดเป็นสัดส่วน 33.6%-22.4% ของรายได้ทั้งหมด 1-1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเกินไป
นายสุเมธกล่าวอีกว่าส่วนด้านค่าโดยสารรถไฟธรรมดานั้นพบว่าควรปรับเพิ่มขึ้นให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในปัจจุบัน โดยเฉพาะรถไฟชั้น 3 มีราคาค่าโดยสารเริ่มต้นเพียง 2 บาท เป็นเรทราคาซึ่งไม่ได้ปรับเพิ่มมามากกว่า 20 ปีแล้ว ดังนั้นจึงเห็นควรให้ปรับเพิ่มตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เสนอราคามาที่ 10 บาท
สำหรับโครงสร้างราคารถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้นควรมีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 บาท/เที่ยว และควรจะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางที่ถูกมากที่สุดเพราะสนับสนุนการเดินทางของผู้มีรายได้น้อยตามชานเมือง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีราคา 45 บาทตลอดสายรวมระยะทาง 28 กม. คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.7 บาทถือว่าถูกที่สุดในปัจจุบัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |