16 ม.ค. 2562 นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซีวงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาข้อเสนอของเอกชน ซึ่งทางฝ่ายซีพีได้เสนอซองที่ 4 มาเรียบร้อยแล้ว จะมีการนัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 18 ม.ค.นี้เพื่อสรุปภาพรวมข้อเสนอซึ่งแบ่งเป็น 4 กรอบว่าสิ่งใดวามารถทำได้บ้างหรือข้อเสนอใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้รวมถึงขั้นตอนการเจรจาว่าข้อเสนอใดควรคุยให้จบก่อนลงนามสัญญาและประเด็นใดที่สามารถคุยกันหลังจากนั้นได้
"หากการประชุมคัดเลือกในวันศุกร์นี้จบลงด้วยดี จะสามารถสรุปผลการคัดเลือกได้ภายใน 25 ม.ค.นี้ก่อนส่งต่อไปยังฝ่ายนโยบายรัฐบาลและคณะกรรมการอีอีซีต่อไป โดยยังยึดกรอบเดิมคือการลงนามสัญญาภายในเดือนนี้"นายวรวุฒิ กล่าว
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับเอกชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธ.ค.ที่ผ่านมา โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้สั่งการมายังรฟท.ว่าอย่าเว้นช่วงการเจรจาโครงการดังกล่าวไว้นานเกินไป โดยขอความชัดเจนว่าจะเร่งเดินหน้าเจรจาเพื่อลงนามสัญญาโครงการหรือจะหยุดดำเนินโครงการนี้ต่อไป ส่วนกรณีเรื่องห้วงเวลาการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน 2-3 เดือนนับจากนี้นั้นขณะนี้ตนยังไม่รู้ว่าจะกระทบโครงการหรือแต่ทั้งหมดนี้รฟท.ต้องทำตามขั้นตอนเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐบาล แต่ทั้งนี้ตนมั่นใจว่าการเจรจาไปได้เยอะแล้วคงจะจบในอีกไม่ช้า
นายวรวุฒิ กล่าวถึงกรอบการเจรจาว่าขณะนี้ยังเปิดเผยข้อมูลไม่ได้เพื่อไม่ให้กระทบกับการประมูล แต่เบื้องต้นทางฝ่ายซีพีได้เสนอแผนต่อขยายเส้นทางไฮสปีดออกไปช่วงอู่ตะเภา-ระยอง ดังนั้นจึงต้องพิจารณากันอย่างรอบคอบต่อไป ขณะที่ประเด็นคำถามของเอกชนนั้นมีอยู่ 108 ข้อ ก็จะทยอยตอบไปทีละเรื่องในประเด็นที่สำคัญก่อน
อย่างไรก็ตามเมื่อเจรจาจบแล้วยังคงมีห้วงเวลาในการเสนอผลคัดเลือกให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อได้นับความเห็นชอบแล้วจะลงนามสัญญาต่อไปก่อนทยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มเปิดหน้างานก่อสร้างในจุดที่ทำได้ก่อน
"ส่วนจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้เมื่อไหร่นั้นเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจะดำเนินการลงนามสัญญาต่อไปก่อนทยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเพื่อเริ่มเปิดหน้างานก่อสร้างในจุดที่ทำได้ก่อน ขณะที่กรณีเรื่องเวลาการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 2-3 เดือนนับจากนี้นั้นจะกระทบต่อการดำเนินโครงการหรือไม่นั้น มองว่าทางการรถไฟฯทำตามขั้นตอนเพื่อประโยชน์สูงสุดและมั่นใจว่าได้เจรจากับเอกชนไปได้เยอะแล้วคงจะจบในอีกไม่ช้า"นายวรวุฒิ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับความพร้อมส่งมอบพื้นที่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างวัดพื้นที่สถานีมักกะสัน ซึ่งประเมินไว้ว่าจะมีพื้นที่ 150 ไร่ เพื่อส่งมอบให้เอกชนนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยภายหลังลงนามสัญญาทางการรถไฟฯจะส่งมอบพื้นที่มักกะสันจำนวน 100 ไร่ พร้อมกับพื้นที่สถานีศรีราชาอีก 25 ไร่ ให้เอกชนพัฒนาทันที และพื้นที่มักกะสันอีก 50 ไร่ จะทยอยส่งมอบให้เพิ่มเติมภายใน 5 ปี สำหรับเอกชนที่ชนะประมูลโครงการดังกล่าวจะได้รับสิทธิ์พัฒนา บริหาร เดินรถ รวมถึงพัฒนาและบริหารที่ดินมักกะสัน 50 ปี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |