ปัญหาการได้ยินในวัยเกษียณ ส่งผลเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า 


เพิ่มเพื่อน    


    ภาวะสูญเสียการได้ยินในผู้สูงวัยเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้สูงถึงร้อยละ 4 เพราะนั่นจะนำไปสู่การแยกตัว 
    ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าภาวะสูญเสียการได้ยินนั้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยสูงเป็น 4 เท่า โดยนักวิจัยได้กล่าวว่า “ยิ่งการที่ผู้สูงอายุไม่ได้ยินมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และที่น่าสนใจการที่สูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้ถึง 2 เท่าอีกด้วย”
    นักวิจัยได้กล่าวอีกว่า ปัญหาการได้ยิน เป็นสาเหตุหนึ่งของการแยกตัวออกจากสังคม ทำให้ขาดการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญ ดังนั้นนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจทดสอบการได้ยินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้าในช่วงบั้นปลายชีวิตของพวกขา 
    สำหรับภาวะสูญเสียการได้ยินมักเกิดขึ้นจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นโรคเรื้อรังที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย
    จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดย “ดร.จัสติน โกล์ป” พบว่า จากการศึกษาในผู้สูงวัยชาวสเปนและโปรตุเกส จำนวนกว่า 5,300 คน ที่อายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งผู้เข้าร่วมทดสอบแต่ละคนนั้นจะได้รับการตรวจหูและคัดกรองภาวะซึมเศร้าร่วมกันด้วย ซึ่งผลการวิจัยยังระบุไว้อีกว่า ผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอันเกิดจากการได้ยินนั้นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 จากการได้ยินเสียงต่างๆ ในระดับ 20 เดซิเบล กระทั่งผู้ที่แทบจะไม่ได้ยินเสียงกระซิบ 
    ดร.จัสตินบอกอีกว่า “ทั้งนี้ในกลุ่มคนที่อายุ 70 ปีขึ้นไป มักมีการสูญเสียการได้ยิน แต่ได้รับการตรวจสุขภาพหูน้อยที่สุด และแม้ว่าการได้ยินนั้นจะเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการวินิจฉัย และการรักษา แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุสูญเสียการได้ยิน ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งปัญหาสุขภาพจากทั้ง 2 โรคที่เชื่อมโยงกันนี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความตระหนัก” 
    จากผลสำรวจที่ออกมานั้นสะท้อนให้เห็นว่า การสูญเสียการได้ยินอาจทำให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการที่ผู้สูงวัยหูหนวกมักจะมีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น จึงมักที่จะไม่อยากพูดคุยและเข้าสังคม ทำให้เกิดความเหงาและนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด และข้อมูลจากการวิจัยยังระบุอีกว่า สำหรับผู้สูงวัยอายุ 65 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้าจากสุขภาพหู เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มักจะไม่ได้รับการตรวจรักษาแต่อย่างใด 
    สอดคล้องกับหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในอเมริกา หรือ “CDC” ได้ออกมาระบุว่า “ผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 นั้น พบว่าคนช่วงอายุดังกล่าวมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตบางประเภท หรือประเภทใดประเภทหนึ่ง”
    ผลวิจัยยังระบุอีกว่า กลุ่มผู้สูงวัยชาวอังกฤษที่อายุ 65 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายอังกฤษร้อยละ 22 และผู้หญิงร้อยละ 28 นั้น มักจะมีปัญหาสุขภาพจิต 
    ที่น่าสนใจนั้นผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวาสารโสตนาสิก และศัลยกรรมศีรษะและคอของอเมริกา อย่าง “JAMA” ได้เผยว่า “การรักษาอาการหูหนวกในผู้สูงอายุอาจจะเป็นวิธีหนึ่งในการลดปัญหาสุขภาพจิตในด้านต่างๆ ลงได้เช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่พบการเชื่อมโยงที่สามารถฟันธงได้ว่า การสูญเสียการได้ยินนั้นเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้า” 
    ดร.จัสตินกล่าวเพิ่มเติมว่า “ในอนาคตนั้นอาจจะต้องมีการทดสอบในกลุ่มของผู้สูงวัยในแถบภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะประเทศในแถบกลุ่มลาตินอเมริกา ที่จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเพื่อนำไปสู่การรักษา แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดหรือตัวนำร่องในการตรวจรักษาผู้สูงวัยที่มีปัญหาการได้ยินที่นำไปสู่ภาวะทางจิต” 
    ดร.จัสติน นักวิจัยคนเดิมได้กล่าวอีกว่า “โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพหูเป็นประจำ หรือได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าควรได้รับการตรวจรักษาเกี่ยวกับการได้ยิน”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"