จีนประกาศใช้ระบบ "คะแนนความประพฤติทางสังคม" หรือที่เรียกว่า Social Credit System แล้วอย่างน่าสนใจยิ่ง
บางคนบอกว่านี่คือการสร้างคุณภาพของประชาชนคนจีนอย่างเป็นระบบประเทศแรกของโลก
แต่อีกบางคนบอกว่านี่คือสัญญาณอันตราย ว่ารัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังต้องการจะควบคุมพฤติกรรมของคนจีนอย่างน่ากลัว เพราะจะสามารถตรวจสอบประชาชนทุกคนทุกเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
วันก่อนผมคุยกับอาจารย์อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้เกาะติดเรื่องราวของประเทศจีนมาตลอด ได้แนวทางวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น
ดร.อักษรศรีบอกว่าเพิ่งไปเมืองจีนมา และสังเกตได้ว่าคนจีนมี "ความประพฤติ" ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
บางตอนของความเห็นของอาจารย์ใน Facebook ของท่านบอกว่า
Social Credit System ของจีนใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนจีนได้อย่างไร?
1) เท่าที่ไปทริปจีนล่าสุด ทั้งเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมที่ผ่านมา สังเกตเห็นว่าคนจีนมีพฤติกรรมในสังคมดีขึ้น/น่ารักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการใช้รถใช้ถนน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการมีน้ำจิตน้ำใจต่อกัน ก็เป็นเพราะรัฐบาลจีนทดลองนำ "ระบบ Social Credit System" มาใช้ในบางเมืองแล้ว โดยเฉพาะการติดตั้งกล้อง CCTV อัจฉริยะ มี facial recognition มาคอยจับตาให้แต้มคะแนนพฤติกรรมคนจีน เสมือนเป็น "ตาสวรรค์" หรือ sky eyes "เทียนเหยี่ยน" แล้วมีการประมวลผลโดย AI Technology ออกมาเป็นแต้มคะแนน ฯลฯ
2) การนำเทคโนโลยีมาใช้เช่นนี้จะช่วยลดปัญหาของระบบเดิมที่เน้นการใช้ดุลพินิจ/การให้คุณให้โทษที่เปิดช่องให้ติดสินบนเจ้าหน้าที่/การคอร์รัปชัน ฯลฯ ได้ด้วย เพราะในระบบ Social Credit System นี้ใช้ AI technology และ cloud computing ในการทำ Data analytics ประมวลผล Big Data ออกมาได้แม่นยำ และมีหลักฐานในกล้องที่จับภาพชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน ถ้าทำผิดก็จะถูกจับภาพและประมวลผลออกมาเป็นแต้มคะแนนอย่างยุติธรรมจากพฤติกรรมที่แต่ละคนกระทำในสังคมด้วย
3) ไทยเรียนรู้อะไร? คิดว่าในแผน "ตำบลมั่นคงฯ" ของคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ก็น่าจะพิจารณาเพื่อนำระบบนี้มาปรับประยุกต์/ทดลองใช้ในบางตำบลของไทย เพื่อเป็น sandbox ดูผลการลดอุบัติเหตุ การลดปัญหายาเสพติด การลดปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ ปรับมาทดลองมาใช้ในบางตำบลก่อนก็น่าจะดี
4) ที่สำคัญการนำเทคโนโลยีมาใช้ในตำบลฯ เพื่อการจัดระเบียบสังคมเช่นนี้ จะทำให้คนไทยยอมรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมากขึ้นด้วย เพราะมันคือสิ่งใหม่ในยุคดิจิตอล และแตกต่างจากวิธีการเดิมๆ ที่เคยใช้กันมาที่ไม่ได้ผล ยังมีปัญหาเรื้อรังมานาน แถมใช้งบไม่คุ้มค่า มีคอร์รัปชันและมีปัญหาในหน่วยงานราชการที่ต่างคนต่างทำหรือรอแค่นักการเมืองมาสั่งการนโยบายรายวัน
ดร.อักษรศรีย้ำว่า การเสนอให้นำระบบนี้เพื่อมา "ปรับประยุกต์" ให้เหมาะกับบริบทไทยและ "ทดลองใช้ในบางตำบลของไทยเท่านั้น" ไม่ใช่ก๊อบปี้ระบบจีนมาทั้งหมด เพราะเหรียญมี 2 ด้าน และอาจจะมีผลกระทบต่อการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายไทยในบางด้านด้วย
ผมเห็นด้วยครับ ระบบ "ตาวิเศษเห็นนะ" ในระบบดิจิตอลนี้จะเป็นประโยชน์หากนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาระเบียบวินัยและการบังคับใช้กฎหมายบางอย่าง แต่ไม่ควรจะมีเป้าหมายเพื่อ "ตรวจสอบกิจกรรมส่วนบุคคล" โดยมีเป้าหมายทางการเมืองและสังคม
เพราะหากถูกบิดเบือนไปใช้ในทางที่สุ่มเสี่ยงกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนแล้ว ระบบนี้ก็จะกลายเป็นเครื่องมือเผด็จการเพื่อทำลายผู้เห็นต่างหรือเพื่อเป้าหมายการ "กำกับควบคุมสั่งการ" ประชาชนให้อยู่ในกรอบที่ผู้มีอำนาจต้องการเท่านั้น
หากเป็นเช่นนั้น อันตรายอันใหญ่หลวงก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |