เช็กแนวคิด 6 พรรคการเมืองกับหลักประกันสุขภาพคนไทย


เพิ่มเพื่อน    

11 ม.ค.62 - ที่โรงแรมมิลาเคิล ในงานรำลึก 11 ปี นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ และมอบรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่นประจำปี 2561 ให้แก่หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ และจิตอาสา ที่ได้รับคัดเลือกเพราะมีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่องด้านจิตอาสา มิตรภาพบำบัด เพื่อช่วยเพื่อน ผู้ป่วยช่วยผู้ป่วย มีการเปิดเวทีเสวนามองไปข้างหน้า “พรรคการเมือง กับการสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อคนไทยทุกคน” 

โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย(พท.) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ตัวแทนพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) นายธนากร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ(ทษช.) นางสาวบุญยืน ศิริธรรม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และนายธนพล ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกันเสวนา

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าบัตรทองเป็นระบบรัฐสวัสดิการ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคนที่ควรได้รับ ควรให้สิทธิแก่คนชายขอบและผู้ตกหล่นที่ไม่ได้รับสิทธิ ความท้าทายในอนาคตเกี่ยวกับระบบการเงินการคลัง ยังคงมองว่าการรักษาสุขภาพต้องเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมต้องเสียเงินสองต่อ ทั้งเงินสมทบและเสียภาษี ผู้อยู่ในสิทธิ์ควรมีสิทธิในการเลือกที่จะอยู่ระบบหรือไม่อยู่  

ขณะที่บัตรข้าราชการต้องได้รับการชดเชยและการดูแล อย่าไปมองเรื่องการยุบกองทุน เพราะไม่แน่ใจว่าระบบหลักประกันสุขภาพจะดีขึ้น เพราะสิ่งที่หลายคนจะได้รับประโยชน์อาจเสื่อมถอยเช่นเดียวกับระบบภาษีปัจจุบันมีลักษณะลดถอยลงทั้งภาษีเงินได้ของมนุษย์เงินเดือนและข้าราชการที่ต้องจ่าย แต่คนรวยกลับมีช่องโหว่ในการยกเว้นภาษี ตลอดจนค่าพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนจะต้องเข้าไปควบคุม ทั้งนี้ ยืนยันไม่เห็นด้วยกับการรวมกองทุน 

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก่อนอื่น ปชป. จะปรับปรุงคุณภาพการบริการพยาบาล ต้องนำระบบข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่มาแก้ปัญหา มีระบบรวมข้อมูลเพื่อลดระยะเวลาการรอคิว การจ่ายยาและระบบส่งต่อผู้ป่วย การเพิ่มขึ้นของงบประมาณต้องแยกออกจากระบบการเงินการคลัง สิทธิของกลุ่มต่างๆ จะได้รับการดูแลมากขึ้นและขยายสิทธิประโยชน์ ผู้ซื้อบริการและขายบริการต้องแยกให้ชัดจน เพราะสธ.เข้ามาบริหารทำให้ระบบประกันขาดประสิทธิภาพ ต้องทำงานเชื่อมโยงเชิงรุก รวมทั้งการให้ภาคส่วนทั้งรพ.สต. และอสม. เข้ามามีส่วนร่วมให้เข้ามาบริหารจัดการได้ รวมถึงดึงคลินิกเอกชนเข้ามาช่วยจัดการบริการเพื่อให้การบริการอย่างครอบคลุม

ขณะที่ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นหลักการที่ทั่วโลกยอมรับและยกย่อง ว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำที่เราได้ทำเพื่อต้องการให้ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพทัดเทียมกัน และเป็นที่ชัดเจนว่าตั้งแต่มีระบบทำให้มีครอบครัวที่เป็นหนี้สินจากการรักษาพยาบาลน้อยลง ประชาชนมีอายุเฉลี่ยยาวขึ้นอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจากการดำเนินการมา 16 ปี ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม และสิทธิ์ข้าราชการ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ประกาศนโยบายเปลี่ยนไปเรื่อยๆก็ทำให้เกิดการเพี้ยนในนโยบายและการที่โลกเปลี่ยน แม้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อัตราแพทย์และพยาบาลเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการไม่มีความสุข ต้องจ่ายค่าตอบแทนเหมาะสม โดยวันนี้ต้องต้องถูกปรับใหม่ 

ทั้งนี้ การทำ 30 บาทรักษาทุกโรคยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนระบบสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ โดยให้คนเป็นศูนย์กลาง ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการเรื่องของการกระจายอำนาจระดับเขต ระดับโรงพยาบาล เพื่อให้การบริหารจัดการบูรณาการทำงานร่วมกัน หน่วยงานสาธารณสุขต้องได้รับการดูแล ลดการบั่นทอนจิตใจ เพิ่มค่าตอบแทนให้เหมาะสมและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ

นายสุวิทย์ กล่าวว่า พปชร.ต้องการเตรียมความพร้อมคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เชื่อว่าการลงทุนทางการแพทย์และสุขภาพจะช่วยให้มีผลตอบแทน บัตรทองต้องไม่มองเรื่องของการเมือง จำเป็นต้องทำต่อให้ดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งประเด็นท้าทายต้องตอบคำถามว่าประชาชนทุกคนได้รับสิทธิถ้วนหน้าหรือไม่ ต้องนำผู้ที่ไม่มีบัตรประชาชนเข้ามาร่วม เมื่อมีสิทธิแล้วประชาชนได้เข้าถึงสิทธิจริงหรือไม่  เมื่อเข้าถึงแล้วได้รับการบริการที่ดีเพียงใด บริการที่ให้ไปแล้วมีการบริหารจัดหารที่มีประสทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไร ในเรื่องรัฐสวัสดิการต้องเป็นเป้าหมายจะต้องไปให้ถึง มองว่าแต่ละระบบจะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ ทั้งบัตรทอง ประกันสังคมและบัตรข้าราชการ โดย พปชร.กำลังคิดว่าจะทำอย่างไรให้ ทั้ง 3 กองทุนมีสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกันและสิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุม 

ทพ.ศุภผล กล่าวว่า การทำให้เกิดนโยบายแต่ละเรื่องจะต้องรับฟังเสียงของประชาชน เพื่อทำนโยบายให้ตอบโจทย์ โดยการเดินคารวะแผนดิน พบว่าปัญหาสุขภาพสัมพันธ์กับสุขภาพคนไทย หากจะแก้ปัญหาสุขภาพจำเป็นจะต้องแก้ปัญหาเรื่องอื่นด้วย เช่น นโยบายอาหารปลอดภัย เป็นต้น พรรครปช. มองเห็นว่าหลักประกันสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพของประเทศ แต่เป็นส่วนสำคัญของคนไทย การทำหลักบัตรเป็นเรื่องที่ดี ควรยกเว้นการเมือง โดยทุกพรรคควรส่งเสริมและพัฒนาระบบให้ดีขึ้น 

"แต่รอบ15-16 ปีที่ผ่านไม่ถูกนำมาปฏิบัตรอย่างจริงจัง รปช.มองว่างานส่งเสริมสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยหัวใจอยู่ที่ชุมชนและหมู่บ้าน รพ.สต. โรงพยาบาลศูนย์ จะต้องยกระดับการบริการให้มีศักยภาพสูงเพียงพอ โดยที่ประชาชนไม่เดินทางเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง" ทพ.ศุภผล กล่าว

ด้านนายธนาธร กล่าวว่า ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความสำคัญ คือ “ประกัน” ไม่เคยมีมาก่อนเป็นการประกันว่าเป็นสิทธิในประเทศไทย “ถ้วนหน้า” สิทธิถ้วนหน้าทุกคนได้รับสิทธิถ้วนหน้าและเท่าเทียมเหมือนกันทุกคน แต่ผลกระทบทำให้การเปิดมิติใหม่ของการเมืองว่าประชาธิปไตยกินได้จริงๆ ว่านโยบายดังกล่าวเป็นไปได้จริง ซึ่งการเดินทางยังไม่จบสิ้น สิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบันยังไม่ใช้รูปแบบสุดท้ายของการพัฒนายังคงต้องดำเนินไปข้างหน้า สำหรับอนาคตใหม่อยากเห็นระบบประกัน ที่ถ้วนหน้าและทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมอย่างแท้จริง สิทธิข้ารากชการต้องโตในอัตราที่น้อยลง และให้สิทธิบัตรทองโตมากขึ้น 

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ระบบหลักประกันถ้วนหน้าเป็นโครงการที่ต้องการให้ประชาชนมีสิทธิในการักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน โดยจุดเริ่มต้นระบบต้องการให้มีการปรับปรุงระบบผ่านกลไก โดยรัฐเป็นผู้จ่ายให้ประชาชนคิดเป็นต่อหัว หลักการดังกล่าวเมื่อทำจริงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เดิมหลักบัตรประกันต้องการให้มีการปรับปรุงทั้งระบบ ทำให้ระบบหลักประกันปัจจุบันกลายเป็นการโจมตีทางการเมือง สำหรับความเท่าเทียมทั้ง3 กองทุน ควรทำให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น แต่ถ้าจะนำมารวมกันให้เหมือนกันทั้งหมดนั้น ต้องคำนึงผู้ที่ทำประกันสังคม ซึ่งกว่าจะเกิดขึ้นต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน ส่วนสวัสดิการข้าราชการจะช่องโหว่มาก อย่างไรก็ตาม เห็นควรให้ปรับปรุงให้เท่าเทียม แต่การทำให้เหมือนกันทั้งหมดจะทำให้กระทบต่อกองทุนอื่น 

นายธนพล กล่าวว่า สิ่งต้องการฝากผู้นำประเทศในอนาคตมี 3  เรื่องสำคัญ คือ 1.ต้องหาทางในการวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน เป็นกองทุนเดียว เพื่อให้มาตรฐานเดียวกันอย่างเท่าเทียม 2.ต้องแก้ปัญหาเรื่องค่ารักษาพยาบาลแพง โดยเฉพาะในรพ.เอกชน ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำการรักษาพยาบาลของคนไทย และ3.ต้องให้มีการจัดซื้อยารวมของประเทศ โดยให้ทั้ง3 กองทุนจัดซื้อยารวมกัน ไม่ต้องกระจายแยกซื้อเป็นรายกองทุน จะทำให้เกิดการต่อรองราคายาได้สูงมาก ช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณ หากไม่แก้ไขจะเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำ  อย่างเช่น การซื้อน้ำยาล้างไต  บัตรทองซื้อ 113 บาท ประกันสังคม ซื้อ 150 บาท และสวัสดิการข้าราชการ ซื้อสูงกว่านี้ เป็นต้น 

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กล่าวว่า การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพรัฐควรจะต้องนำสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ และเกิดระบบบำนาญแห่งชาติ ด้วยการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพมาเป็นระบบประกันบำนาญแห่งชาติ มีการบริหารภาษีอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการตีตราว่าคนจนหรืคนรวย ที่สำคัญ ต้องไม่มีการเก็บค่าบริการ ณ จุดบริการในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของประชาชน  นอกจากนี้ จะต้องแก้ไขกฎหมายให้คนไทยทุกคนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่จำกัดอยู่เพียงคนที่มีเลข 13 หลักเท่านั้น รวมถึง ต้องเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคด้วย ไม่ใช่ให้เป็นหน้าที่ของหน่วยบริการเท่านั้น  ที่สำคัญ ต้องหยุดนโยบายการพัฒนาที่เป็นการทำลายสุขภาพประชาชน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"