10ม.ค.62-นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “การศึกษาปฐมวัยเพื่อสังคมที่เสมอภาคและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล” ในงานมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (มกค) เปิดตัวคณะการศึกษาปฐมวัย และโรงเรียนสาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันเด็กไทย ประมาณร้อยละ 50 เป็นเด็กกำพร้าเทียม คือไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ซึ่งตัวเลขทั้งโลกชัดเจนอยู่แล้วว่าเด็กอยู่กับพ่อเดี่ยว แม่เดี่ยว ประมาณ ร้อยละ 70 เพราะปัญหาครอบครัวหย่าร้าง แต่นั้นก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้ามีคุณภาพ แต่สำหรับประเทศไทยเด็กกำพร้าเทียม ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มีปัญหา และเมื่อไปอยู่ในสถานศึกษาก็เหมือนถูกซ้ำเดิมเข้าไปอีกเพราะโรงเรียนไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ตนจึงรู้สึกดีใจที่ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดคณะการศึกษาปฐมวัยและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพราะตั้งแต่เป็น รมว.ศธ. ตนมีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา ซึ่งในฐานะที่อยู่ภาครัฐ ต้องเป็นการศึกษาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ แต่การศึกษาที่ดีต้องเป็นการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ และนโยบายด้านการศึกษาไม่ใช่ออกโดยไม่รู้ว่าอะไรดี ไม่ดี หรือทำเพียงการเพิ่มดีกรีให้แก่ครู เพิ่มเงินเดือนครู เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ครูสอนดีขึ้น และการพัฒนาเด็กที่ดีควรลงทุนตั้งแต่การศึกษาปฐมวัย
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า การศึกษาปฐมวัย ต้องคิด 4 เรื่องใหญ่ คือ 1.การเข้าถึงการศึกษา ซึ่งโชคดีที่ประเทศไทยไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ 2.เรื่องคุณภาพ ซึ่งเรามีปัญหาเรื่องคุณภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน 3.ความไม่เสมอภาค และ 4.การลงทุนที่ต้องได้รับผลตอบแทน โดยปีนี้ ศธ. ได้ใช้งบด้านการศึกษาลดลงไป ร้อยละ 2.7 เหลือ 4.7 แสนล้านบาท และมีการลงทุนเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย หรือเด็กอนุบาลอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่าง โดยขณะนี้ร้อยละ 50 ของเด็กปฐมวัยอยู่ในศูนย์เด็กเล็กและมาศึกษาต่อในโรงเรียนของรัฐ จำนวนร้อยละ 25 เรียนต่อโรงเรียนอนุบาลเอกชน ร้อยละ 25 และมีประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่รู้ว่าเด็กไปอยู่ที่ไหน ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน อย่างไรก็ตาม การศึกษา ถ้าเป็น 4.0 แล้วต้อง Open up ซึ่งการเป็น Open up ในยุคนี้ ไม่ง่าย เพราะขณะเป็นรมว.ศธ.มีหลายเรื่องที่อยากทำแต่ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีคนเวลาอยู่กระทรวง การที่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดคณะศึกษาปฐมวัย ซึ่งไม่ใช่สาขาเล็กๆ อยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ และเปิดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถือเป็นความกล้าหาญ และเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนในระยะยาวและเป็นการช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทยได้
“ที่ผ่านมามีนโยบายด้านการศึกษาที่มีทั้งผลบวก และผลลบ โดยผลบวกคือการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยมีหลายแนวคิด เป็นการจัดการศึกษาที่ดีต่อเด็กแต่ผลที่ได้มากน้อยต่างกัน แต่ก็ต้องลงทุนสำหรับเด็กเล็กอย่างจริงจัง เพราะสมองเด็กกำลังสร้าง ซึ่งถ้าช้ากว่านี้จะสายไปเสียแล้ว ดังนั้นการศึกษาปฐมวัยต้องเป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้แก่เด็ก ซึ่งขณะนี้ที่มีการส่งเสริมทักษะให้แก่เด็กมหาวิทยาลัย เด็กอาชีวะแต่ไม่ค่อยเห็นการพัฒนาเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเกิดจากตอนเด็กเล็กไม่ได้มีการปลูกฝังทักษะเหล่านี้ หลักสูตรไฮสโคป เป็นหลักสูตรเน้นการปฏิบัติ การฝึกฝน ฝึกทักษะที่จำเป็นแก่เด็ก ซึ่งมีการนำหลักสูตรดังกล่าวมาทดลองใช้ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดต่างๆ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้การตอบรับเท่าที่ควร เพราะติดปัญหาหลายอย่าง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่มีแต่เรื่อง กระทรวงผมยุบได้น่าจะดีที่สุด ผมไม่เสียดายตำแหน่ง”รมว.ศธ. กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |