10 ม.ค.62- ทพ.อาคม ประดิษฐ์สุวรรณ ผอ.กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างรพ.เอกชน เกี่ยวกับกรณีที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ค่ายา และเวชภัณฑ์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาล ในรพ.เอกชนเป็นสินค้าควบคุมว่า เรื่องนี้ยังต้องมีการหารือกับอีกรอบกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่กรณีนี้จะมีผลให้ราคายาถูกควบคุม ราคายา ในร้ายขายยา จะต้องไม่เกินที่กำหนดข้างกล่องยา ขณะเดียวกันราคายาในโรงพยาบาล ต้องมีการพิจารณาตีความว่า ยาเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะหรือไม่ เพราะถือว่าการสั่งจ่ายยาอยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์ ไม่ใช่ผู้ป่วยเป็นผู้ซื้อหายามาใช้เอง
นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่าประชาชนมีโรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษาอยู่แล้ว ซึ่งการที่เราต้องการไปรักษาพยาบาลใน รพ.ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ ก่อนที่จะเข้ารักษาเราสามารถสอบถามราคาก่อนได้ หากพอใจก็รักษาไม่พอใจก็ไม่รักษาเป็นสิทธิที่ประชาชนคนไทยมี อีกประเด็นคือ หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน มีการประเมินว่าเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินก็สามารถเข้ารักษาได้ฟรี หากไม่เข้าเกณฑ์และไม่ต้องการรักษาก็สามารถส่งต่อไปรักษาใน รพ.ตามสิทธิ์ได้ เมื่อเบื้องต้นเป็นเช่นนี้จึงสรุปได้ว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องไปเดือดร้อนกับราคาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล เพราะไม่ได้เป็นการรักษาแบบบังคับแต่เป็นทางเลือกของประชาชนการที่รัฐ จะเข้ามาควบคุมราคายา และค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เท่ากับเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการเลือกรับบริการ ถามว่าประชาชนอยากมีทางเลือกมากหรือไม่หรืออยากมีทางเลือกน้อยๆ การที่จะเดินเข้าในโรงพยาบาลเรารู้เกือบทันทีจากลักษณะการดูแลของ รพ. ว่าราคาจะสูงหรือไม่สูง อีกคำถามคือโรงพยาบาลเหลือเงินมากหรือไม่หลังจากเก็บค่ารักษา 18 โรงพยาบาลเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ มีกำไรจากยอดขาย 100 บาท สูงสูด 14 บาท ต่ำสุด 8-9 บาท ไม่ได้มากมายมีการปันผลเพียง 2 % ที่เหลือนำไปพัฒนาโรงพยาบาลให้ดีขึ้น เพื่อให้ดูแลประชาชนที่มีประสิทธิภาพเรื่อยๆ ประเทศไทยจึงมีชื่อเสียงเพราะ รพ.เหล่านี้มีรายได้ในการพัฒนา
นพ.เอื้อชาติ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันคนไทยรักษาภายในประเทศ ไม่ได้ไปรักษาในต่างประเทศเหมือนในอดีต เพราะเรามีการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาได้ก็ต้องมีเงิน ไม่มีคุณภาพใดๆที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้เงิน ดังนั้นการไปจำกัดราคาเป็นอุปสรรคในการพัฒนา และผลสุดท้ายผลกระทบจะเกิดขึ้นกับทางเลือกของประชาชน ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยนอกที่ไปใช้บริการในรพ.ที่ต้องจ่ายเงินเองโดยไม่ใช้สิทธิ์ ทั้งประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 250 ล้านครั้งต่อปี ซึ่งแน่นอนอาจต้องมีปัญหา อาจจะมีบอกว่าแพงบ้าง 2.5 ล้านครั้ง หรือต่ำกว่านี้ ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเล็กน้อย อย่าไปทำให้โครงสร้างใหญ่เสีย การที่รัฐบาลจะออกกฎเกณฑ์อะไรก็ต้องคิดไตร่ตรองให้รอบคอบว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย หรือข้อเสียมากกว่าข้อดีส่วนที่มีต่างชาติมาร้องเรียน ว่ามาใช้บริการรพ.เอกชนไทย และเก็บค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น เรื่องนี้ต้องดูกันให้แน่ชัด ว่า สัดส่วนของคนที่ร้องเรียนมีกันกี่คน อย่าเอาคนส่วนน้อยมากสร้างผลกระทบ
ด้านนพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า การควบคุมราคายา และเวชภัณฑ์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลในรพ.เอกชน มีทั้งข้อดีและเสีย ข้อดีคือราคาอาจถูกลง แต่ว่า ต่อไปอาจทำให้เป็นแพงเรื่องอื่นแทน โดยเห็นว่า สิ่งที่ควรควบคุม คือ เรื่องค่าธรรมเนียมแพทย์ และ อัตราราคายาก็ควรสมเหตุสมผล ตรงไปตรงมา โดยปัจจุบัน มีกลไปการควบคุมอยู่แล้ว เช่น ในระบบการประกันชีวิต หากมีการจ่ายยาเกินจำเป็น หรือ มีราคาแพงเกินไป ทางบริษัทประกันจะเข้ามาตรวจสอบ และกำหนดสถานพยาบาลว่า ควรใช้สถานพยาบาลไหนอยู่แล้ว อีกทั้งทุกรพ.มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกัน รพ.เอกชน ต้องสร้างอาคารเอง ค่าน้ำไฟ ต้องจ่ายเอง ขณะที่รพ.รัฐ มีงบประมาณ เข้ามาช่วยสนับสนุน ทั้งนี้ สิ่งที่อยากเตือนคือ หากมีการควบคุมมากจนเกินไป แม้จะลดลงในส่วนนี้ ก็อาจเป็นไปส่วนอื่นแทน ฉะนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |