นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่แหล่งโบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรมเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มีการหารือกรณีปัญหาโครงการก่อสร้างอาคารสูงใกล้กับบ้านปลายเนิน บนถนนพระราม 4 อดีตเป็นพระตำหนัก ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศนานุวัดติวงศ์ ที่รู้จักกันดีในพระสมัญญานามว่า นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม และสมเด็จครู หลังได้รับแจ้งจากทายาทราชสกุลจิตรพงศ์ ผู้ดูแลรักษาบ้านปลายเนิน ขอให้กรมศิลปากร (ศก.) เข้าไปตรวจสอบข้อมูลการก่อสร้างของบริษัทเอกชนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมสูง 36 ชั้น และ 7 ชั้นในบางส่วนก่อสร้างเต็มพื้นที่ ซึ่งประชิดกับเขตที่ดินของบ้านปลายเนิน เนื่องจากภายในพื้นที่มีอาคารเก่าแก่ แม้จะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากร แต่มีแผนขึ้นทะเบียน อาคารเกือบทั้งหมดนับว่ามีความสำคัญ อายุนับ 100 ปี หากคอนโดดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อสถานที่สำคัญในบ้านปลายเนิน แรงสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เสียง จะทำให้อาคาร วัตถุโบราณ ของใช้ส่วนพระองค์เสียหายหรือได้รับผลกระทบจากงานก่อสร้าง อีกทั้งคอนโดยังบดบังทัศนียภาพ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมศิลปากรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว
ด้านนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของกองโบราณคดี พบว่า ตำหนักปลายเนินถือเป็นโบราณสถาน ตามมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 โดยกองโบราณคดี ได้บรรจุไว้ในแผนการสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปีงบประมาณ 2562 และอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจขึ้นทะเบียน สำหรับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นนั้นได้มอบหมายเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรประสานงานกับบริษัทเอกชนดังกล่าวเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในส่วน ศก.จะเข้าไปสำรวจผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวโบราณสถาน ทั้งระยะทางและแรงสั่นสะเทือน และองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะกระทบกับตัวโบราณสถานดังกล่าว
" จากข้อมูลของสำนักโบราณคดี ระบุว่า ตำหนักปลายเนินถือเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยตำหนักที่ประทับส่วนพระองค์ที่สำคัญมี 2 หลัง ได้แก่ ตำหนักโถง (ตำหนักไทย) มีลักษณะเป็นอาคารไทย ยกพื้นที่ยาวสามห้องมีเฉลียงรอบ ตำหนักหลังนี้เคยเป็นหอนั่งและเป็นที่ประชุมเล่นสักวาของพระยาราชมนตรี (ภู่) ซึ่งรับราชการอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมปลูกอยู่ที่หน้าวัดระฆัง ตำหนักไทยนี้พระองค์ประทับอยู่นานถึง 18 ปี จนถึงพ.ศ.2474 ได้มีการปลูกสร้างตำหนักตึก ซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกัน เป็นอาคาร 2 ชั้น เมื่อแรกสร้างเสด็จมาประทับเฉพาะเวลากลางคืน กลางวันยังคงประทับที่เรือนไทย จนเมื่อทรงพระชรามากแล้วจึงได้ประทับอยู่ที่ตำหนักตึกอย่างถาวร และสิ้นพระชนม์ที่ตำหนักตึกนี้ สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของคอนโดที่กำลังจะมีการก่อสร้างมีระยะห่างจากตำหนักไทย 54 เมตร และระยะห่างจากตำหนักตึก 23.50 เมตร " นายอนันต์ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |