9ม.ค.62-นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ให้สัมภาษณ์ว่า สธ.กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ สธ. เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลใช้บังคับในวันที่ 9 มกราคม 2562 นี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้รับการชื่นชมจาก WHO ที่มีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจน รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและสื่อสารถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
รมว.สธ. กล่าวต่อว่า กฎหมายฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมมือกับภาคเครือข่าย ทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมกันดำเนินการ โดยได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหลังจากประกาศฯ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ พร้อมจัดทำคู่มือสำหรับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งประเด็นถาม-ตอบ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับไขมันทรานส์อย่างถูกต้อง
“อย่างไรก็ตาม การห้ามนำไขมันทรานส์มาใช้ในการผลิตอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ ไม่รวมถึงไขมันทรานส์ที่พบอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว จึงขอให้ผู้บริโภคตระหนักในการรับประทานอาหารแต่อย่าตระหนกจนเกินไป เพราะการมีสุขภาพที่ดีนั้นมาจากการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่กับการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ” นพ.ปิยะสกลกล่าว
ทางด้านนพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ อย.กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการรับทราบและได้เรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ ไม่ให้มีในท้องตลาด ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบรับรองเพื่อยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าไม่มีการปนเปื้อนไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมอาหาร
ทั้งนี้ อย.ได้จัดทำแผนตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวัง ณ สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค หากพบการกระทำฝ่าฝืน จะมีโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท นอกจากนี้ อย. ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ อย. อีกทั้งได้ร่วมกับ สสส. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และคนไทยไร้พุง จัดทำข้อมูล Infographics เพิ่มเติม หากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย ให้แจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือร้องเรียน ผ่าน Oryor Smart Application หรือ Line@Fdathai
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |