'พลังประชารัฐ' กระอัก ฝั่งตรงข้ามรุมกินโต๊ะ!


เพิ่มเพื่อน    

      ดูเหมือนทุกฝ่ายจะสามัคคีปรองดองกันเป็นพิเศษ ทั้งนักการเมืองขั้วประชาธิปไตย องค์กรมวลชน กลุ่มนักเคลื่อนไหว ต่างเล่นเกมสัประยุทธ์กับ "พรรคพลังประชารัฐ" และ "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" อย่างหนักหน่วงขึ้นตามลำดับ

      หลายข้อกล่าวหาและการโจมตีประเดประดังเข้าใส่อย่างไม่บันยะบันยัง

      ถ้าจะเรียกว่าเป็นการ “รุมกินโต๊ะ” ก็ไม่น่าจะผิด

      หรือถ้าเปรียบเป็นมวยก็เหมือนกับโดนคู่ต่อสู้ถลุงรัวหมัดซ้าย-ขวาเข้าใส่ใบหน้า ลำตัว จนต้องตีกรรเชียงหนีและถอยเข้าพิงเชือก

      ปรากฏการณ์หนึ่งที่พรรคพลังประชารัฐและ พล.อ.ประยุทธ์ กำลังถูกล้อมกรอบจากพรรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามคือ การลงสัตยาบันของผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ที่จัดโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม และมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย มีอยู่ข้อหนึ่งที่พรรคการเมืองต่างๆ ให้คำสัญญาต่อกันคือ

       “หลังการเลือกตั้ง พรรคการเมืองขอสัญญาว่าจะเคารพเสียงของประชาชน และเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม โดยสาระสำคัญคือการตั้งรัฐบาลจะต้องมีเสียงสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล จะนำนโยบายที่แต่ละพรรคใช้ในการหาเสียงมาบูรณาการกันอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญแก่การจัดทำนโยบายร่วมกันนี้ในลำดับก่อนการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี”

      พรรคการเมืองที่ผู้นำของพรรคลงนามในสัตยาบัน เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติ พรรคไทยรักษาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย เป็นต้น

      สำหรับพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่อยู่ฝ่ายสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มาร่วมลงสัตยาบัน

       นัยทางการเมืองก็คือ พรรคที่รวม ส.ส.ได้เกินครึ่ง นั่นคือ ได้เกิน 250 เสียง นายกฯ จะต้องเป็นรายชื่อที่พรรคการเมืองขั้วนี้เสนอไว้ตอนหาเสียง

      เท่ากับว่า ไม่ยอมให้ ส.ส.ในขั้วพรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่ได้ ส.ส.เกิน 126 เสียงไปจับมือกับ ส.ว.อีก 250 เสียง เพื่อโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งพรรคการเมืองขั้วเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และอีกหลายพรรคที่เกาะกลุ่มกันจะอ้างว่าเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน ดังปรากฏให้เห็นจากคะแนนเสียงที่เลือก ส.ส.ขั้วนี้เข้ามาเกินครึ่งจากจำนวน ส.ส.ทั้งหมด

      พร้อมกับสร้างกระแสว่า ส.ว.ที่ถูกเลือกมาโดย คสช.ไม่ชอบธรรมในการโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ ส.ว.มีอำนาจเลือกนายกฯ

      การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่จะเริ่มเปิดฉากตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมพลังประชาชาติไทย ก็คือ

      การเปิดปราศรัยของพรรคขั้วเพื่อไทย ประชาธิปัตย์และพรรคเครือข่ายที่ลงสัตยาบันจะโจมตีถึงความล้มเหลวและข้อกล่าวหาในเรื่องต่างๆ โดยที่พรรคพลังประชารัฐและพรรครวมพลังประชาชาติไทยแก้ไม่ตก เพราะขาดนักการเมืองระดับขุนพลที่จะมาต้านทานฝ่ายตรงข้าม   

      สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เป็นพวกพ้องกับ คสช.ก็ไม่มีใครออกมาปกป้อง เฝ้ารอแต่จะได้รับการเลือกจาก คสช.ไปเป็น ส.ว.

      พล.อ.ประยุทธ์นั้นเล่าก็ไม่รู้จะเล่นบทไหน เพราะหมวกใบที่หนึ่ง คือผู้ถูกพรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อเป็นนายกฯ หมวกใบที่สอง เป็นนายกฯ ตัวจริง ไม่ใช่นายกฯรักษาการ หมวกใบที่สาม เป็นหัวหน้า คสช.ที่มีอำนาจตามมาตรา 44

      ผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ของพรรคการเมืองอื่นๆ  ตระเวนไปพบปะประชาชนและขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงในจังหวัดต่างๆ ออกรายการโทรทัศน์และสื่อต่างๆ ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์กระทำไม่ได้

      กกต.จัดให้ดีเบตว่าที่นายกฯ ถ่ายทอดสดออกสื่อทีวี สื่อโซเชียลมีเดีย พรรคการเมืองอื่นๆ เขามีผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ มาออกรายการ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้เข้าร่วมดีเบตกับเพื่อน

      ยังไม่รวมถึง 4 รัฐมนตรีที่เป็นผู้นำพรรคพลังประชารัฐที่ไม่รู้จะลาออกจากตำแหน่งเมื่อไร หรืออาจไม่ลาออก ซึ่งจะตกเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายตรงข้าม

       การวิเคราะห์ที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ แบเบอร์เพราะมี ส.ว. 250 คน เป็นต้นทุน หา ส.ส.อีก 126 คน ก็โหวตเลือกให้เป็นนายกฯ ได้แล้ว นั่นเป็นการคำนวณตามคณิตศาสตร์ แต่เรื่องกระแสสังคมและความชอบธรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาชนก็ไม่ควรมองข้าม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"