รู้ไว้ก่อนต่างชาติแห่ลงทุน


เพิ่มเพื่อน    


    คาดการณ์กันว่าแนวโน้มการลงทุนของต่างชาติในปี 2562 จะหลั่งไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น จากผลพวงของสงครามการค้าจีน สหรัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างชาติจำนวนมากย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น รวมถึงประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็ต้องคอยรับโอกาสการกระจายรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย 
    มณฑินี ธีระมังคลานนท์ อาจารย์ประจำหลักสูตรจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ เป็นหนึ่งในความท้าทายหลักของนักเศรษฐศาสตร์ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ จากข้อมูลงานวิจัยผลกระทบของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ในประเทศไทย พบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทยมากขึ้น และมีผลอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
    ทั้งนี้ จากรายงานการลงทุนโลก ประจำปี 2561 พบว่าเอฟดีไอที่เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นแตะ 400% เป็นผลจากการลงทุนที่เข้ามาเพิ่มขึ้นจากสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน อีกทั้งมีแนวโน้มที่การลงทุนยังคงหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในปีถัดไป จากผลกระทบของสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น
    จากการที่เอฟดีไอมีแนวโน้มหลั่งไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นในปี 2562 ภาครัฐและผู้ประกอบการไทยควรเรียนรู้ความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งการรับมือการเข้ามาของทุนจากต่างประเทศอย่างเหมาะสม ที่จะทำให้ประเทศไทยคว้าโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น นำมาซึ่งการกระจายรายได้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมีหลายประการที่ต้องคำนึงถึง
    อย่างแรกเลยต้องจับตาผลเทรดวอร์ พร้อมรองรับโอกาสครั้งใหญ่ สงครามการค้า และการตั้งกำแพงภาษีระหว่างจีนและสหรัฐอันดุเดือดตลอดทั้งปี ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันมาสนใจการลงทุนในตลาดเกิดใหม่อย่างประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งสงครามการค้าที่ยืดเยื้อก็มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง หลังการเจรจาสงบศึกทางการค้าในเวทีการประชุมจี 20 ที่เพิ่งผ่านมา ภาครัฐและผู้ประกอบการไทยจึงควรจับตาผลการเจรจา และท่าทีของทั้ง 2 ประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับนโยบายการค้าต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามมาหลังการเจรจา
    ส่วนที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้สูงสุด และยังเป็นที่หมายตาของนักลงทุนต่างชาติก็คือ ภาคบริการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย เป็นจุดแข็งที่ประเทศไทยและที่ผ่านมาสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติได้อย่างมหาศาล สิ่งที่ภาครัฐควรทำก็คือ เร่งสร้างแรงงานเพื่อตอบสนองการลงทุนจากต่างประเทศในภาคบริการ ผ่านการอบรมด้านวิชาชีพ หรือส่งเสริมการศึกษาที่สนับสนุนงานภาคบริการ อันเป็นการคว้าโอกาสที่ถูกทางจากนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาในอนาคต
    พร้อมกันนี้ยังควรซึมซับเทคโนโลยีต่างชาติ พัฒนาธุรกิจไทย เนื่องจากการลงทุนที่เข้ามา ไม่ได้นำพาเม็ดเงินเข้ามาในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังจะเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามายังประเทศไทยด้วย
    ขณะที่โครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นสูงก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน การรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคที่มากกว่าขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ระบบการผลิตและระบบจำหน่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ 
    และการรู้เขารู้เรา ก็จะเอาใจนักลงทุนได้ไม่ใช่น้อย สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติพิจารณาก่อนตัดสินใจทุ่มการลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยความพร้อมทางเศรษฐกิจดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่สิ่งที่นักลงทุนพิจารณามากไปกว่านั้นก็คือ ความรู้และความเข้าใจของประเทศเจ้าบ้าน ตลอดจนบริบทและวัฒนธรรมทางการค้าของประเทศผู้มาลงทุน
    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทยมากขึ้น คือการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งต้องการแรงงานที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน รวมทั้งความสามารถปรับตัวในการทำงาน และการประยุกต์ความรู้เพื่อใช้งานอย่างกว้างขวาง.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"