(ใน 1 วัน ผู้สูงอายุไม่ควรบริโภคข้าวเกิน 6 ทัพพีต่อวัน (จำเป็นต้องได้รับการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์และนักโภชนาการอย่างละเอียด) ดังนั้นลองเปลี่ยนมาดูแลสุขภาพของท่านด้วย “ข้าวต้มปลากะพง” ที่ได้กินทั้งแป้งและปลาที่มีเกลือแร่และโปรตีนสูง จึงช่วยย่อยได้ดี)
“คาร์โบไฮเดรต” ถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของร่างกายของเด็กและวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยทำงาน เพราะหากขาดแป้งอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำ อีกทั้งโลหิตไม่สามารถพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อขาดพลังงาน อีกทั้งรู้สึกอ่อนเปลี้ยไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกใจสั่น เพราะโดยมาตรฐานด้านโภชนาการแล้ว ใน 1 วันควรบริโภคข้าวหรือคาร์โบไฮเดรตไม่เกิน 6 ทัพพี และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา เมื่อแป้งเป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของวัยหนุ่มสาว จึงเกิดเป็นคำถามว่าอันที่จริงแล้ว ผู้สูงอายุควรบริโภคแป้งในปริมาณเท่าใด สารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุยังมีประเภทใดอีกบ้าง
(วิภา เกียรติหนุนทวี)
พี่แป้ง-วิภา เกียรติหนุนทวี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการด้านผู้สูงอายุ รพ.ปากท่อ กล่าวว่า “สำหรับการที่ระบุว่าผู้สูงอายุควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง โดยหลักของโภชนาการทั่วไป ใน 1 วันไม่ควรบริโภคข้าวหรือแป้งเกิน 6 ทัพพี แต่เนื่องจากมวลร่างกายของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นหากจะให้ข้อมูลครบถ้วนผู้สูงอายุควรไปตรวจสุขภาพประจำปี และพบแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด ในการบริโภคแป้งในแต่ละวันที่เหมาะสม และตรงกับดัชนีมวลรวมร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคนอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้บริโภคแป้งมากเกินไป เพราะอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวาน หรือถ้าหากคุณตาคุณยายเป็นโรคเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการบริโภคแป้งจนเกินไปอาจกระตุ้นน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น จึงควรบริโภคข้าวอย่างพอเหมาะ และไขมันก็ต้องไม่บริโภคมากเกินไปเช่นกัน
(“ปลาจะละเม็ดนึ่งซีอิ๊ว” กินร้อนๆ ช่วยเจริญอาหารและไขมันต่ำเหมาะกับผู้สูงอายุ)
แต่ทว่ากลุ่มสารอาหารที่สำคัญมาก และผู้สูงอายุควรบริโภคเป็นหลัก คือ “กลุ่มของโปรตีน” เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเป็นกลุ่มพลังงาน ที่เหมาะกับกายภาพของผู้สูงอายุที่อาจจะเคลื่อนไหวน้อยลง โดยเฉพาะ “เมนูจากปลาเนื้อขาว” เนื่องจากมีไขมันชนิดดีต่อร่างกาย เช่น ปลากะพง ซึ่งเป็นปลาเนื้อขาวที่อยู่ในทะเลที่มีแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้สูงวัยอีกเช่นกัน รวมถึงปลาช่อนนา, ปลานิล, ปลาตะเพียน, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาสำลี, ปลาจะละเม็ด, ปลาคัง ซึ่งเมนูที่ทำจากปลาเพื่อผู้สูงอายุให้เน้นนึ่ง, ต้ม, ตุ๋น เช่น เมนู “ปลากะพงนึ่งซีอิ๊ว” หรือ “ต้มยำปลาช่อนเผ็ดน้อย” ที่ผู้สูงอายุจะได้รับประทานทั้งเนื้อปลาและซดน้ำแกง เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ หรือ เพื่อให้เข้ากับช่วงอากาศหนาวๆ ต้นปี “ข้าวต้มปลากะพง” ก็ถือเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและมีโปรตีนสูง ดีต่อสุขภาพผู้สูงวัย หรือลูกหลานจะปรุง “ต้มแซ่บปลาคัง” ให้ผู้สูงอายุรับประทาน หรือ “ปลาจะละเม็ดนึ่งซีอิ๊ว” ที่ยิ่งรับประทานร้อนๆ ก็จะช่วยเจริญอาหารในผู้สูงวัยได้เช่นกัน เนื่องจากวัยนี้จะค่อนข้างเบื่ออาหารได้ง่าย จึงควรดัดแปลงเมนูจากปลาที่ตรงกับความชอบของผู้สูงอายุ เช่น “ห่อหมกปลาเนื้ออ่อน” แทนที่จะปรุงปลาเนื้ออ่อนราดพริกหรือทอดกระเทียม เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุคือ “เกลือแร่” ที่ได้จากผักผลไม้สดและปลอดสารเคมี เพราะเกลือแร่จะช่วยป้องกันภาวะอ่อนเพลีย และไม่มีเรี่ยวแรงให้กับคุณตาคุณยายได้ดี ที่สำคัญให้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |