จุฬาฯจัดเสวนา “ปัญหาหรือตัณหา : ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” “นักวิชาการเผย 5 ปี ไทยมีข่าวการฟ้องร้องการล่วงละเมิดทางเพศเพียง 53 ราย แต่ของจริงน่าจะมีมากกว่านี้ ด้านตัวแทนมูลนิธิสร้างความเข้าใจผู้หญิง ชี้การล่วงละเมิดทางเพศเป็นข่าวเพียง 5% อีก95% ซุกใต้พรม แนะไม่ใช้กม.แก้ปัญหาอย่างเดียวต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ โรงเรียนไม่ควรละเลยจัดพื้นที่สร้างความเข้าใจในเรื่องเพศ ปกป้องเด็ก
การจัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 10 เรื่อง “ปัญหาหรือตัณหา : ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” โดยนายอรรถพล อนันตวรสกุล นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการติดตาม สถิติการฟ้องร้องการล่วงละเมิดทางเพศของประเทศไทย ตลอด 5 ปี พบว่า มีปรากฎตามข่าว 53 ราย ทั้งที่ตัวเลขความเป็นจริงมีมากกว่านี้ และจากสถิติการฟ้องร้องการล่วงละเมิดทางเพศระดับนานาชาติ พบว่า เด็กผู้ชาย 1 ใน 6 เคยถูกล่วงละเมิดเพศ และเด็กผู้หญิง1 ใน 4 เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเด็กที่เจอสถานการณ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่สามารถหันไปพึ่งพาใครได้ ไม่ว่าจะเป็น ครู หรือภาครัฐเอง ทำให้มียอดผู้เสียหาย หรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมาตรการสังคมอย่างการซุบซิบนินทา ยังซ้ำเติมผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุเหยื่อมักจะเงียบขณะเดียวกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ข้อระเบียบของคุรุสภาที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ก็ตั้งกรรมการเป็นข้าราชการด้วยกันสอบกันเอง โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนรวมในการสอบสวน แต่กลับถูกให้เก็บเงียบ ไม่มีสัญญาณเชิงบวกที่จะแก้ปัญหาหรือทำให้ข้อเท็จจริงเกิดขึ้นอย่างจริงจัง
"เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงการแก้กฎหมายแต่ต้องสร้างค่านิยม วัฒนธรรมในโรงเรียนใหม่ ซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับ เป็นปัญหาที่ซุกใต้พรม ความสัมพันธ์ชายหญิง เรื่องเพศในโรงเรียน เพียงแค่การหยอกล้อ ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับกันได้ กระทั่งการถูกเนื้อต้องตัว นัดพบระหว่างครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก จนถึงการมีพื้นที่ออนไลน์ หรือพื้นที่ส่วนตัว เป็นโจทย์ท้าทายที่ยังค้นหาคำตอบซึ่งกระแสเหล่านี้ยังอยู่ในโรงเรียน เด็กพบสถานการณ์เหล่านี้จะหันไปพึ่งใคร โรงเรียนจะมีการเทคแอคชั่นได้แค่ไหน และตอนนี้ ไม่ใช่เด็กผู้หญิงที่ถูกกระทำ แต่ผู้ชายถูกกระทำก็มีไม่น้อย เพียงแต่อาจจะยังส่งเสียงออกมาได้น้อยเนื่องจากผู้ชายถูกสอนให้ต้องเข้มแข็ง รวมถึงเด็กกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่น่าห่วงเมื่อเด็กเหล่านี้ถูกกระทำจะกลายเป็นลูกโซ่ที่จะส่งต่อการถูกกระทำเหล่านั้นไปทำกับบุคคลอื่นหรือคนใกล้ตัว"นายอรรถพล กล่าว และว่าดังนั้น จะต้องมีกระบวนการจัดการแก้ปัญหาในเรื่องนี้โรงเรียนอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงการดำเนินตามกฎกติกาตามกฎหมา ให้ความเป็นธรรมและปกป้องผู้ถูกกระทำครูแนะแนวหรือมีคนที่เข้ามาช่วยครูให้ความรู้ด้านนี้ ครูต้องเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในโรงเรียน และต้องมีพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ด้านนางจิตติมา ภาณุเตชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง กล่าวถึงมุมมองทางเพศ ในสถานศึกษาว่าการล่วงละเมิดทางเพศในโรงเรียนเกิดขึ้นทุกปี แต่เป็นข่าวเพียง ร้อยละ 5 และซุกอยู่ใต้ภูเขา ร้อยละ 95 ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการล่วงละเมิด พบว่า1.ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ 2.เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ลับหรือไม่ 3.กระทรวงศึกษาธิการไม่มีนโยบายชัดเจน เพราะต่อให้มีศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน(ฉก.ชน.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แต่ก็เป็นภาพรวมวิธีการแก้ปัญหาต้องร้องเรียนผ่านส่วนกลาง ก่อนส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจจะไม่ทัน และ4.นักเรียน และครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจการล่วงละเมิดทางเพศจริงๆ สำหรับการทางออกของปัญหานี้ ต้องปูพื้นให้โรงเรียนมีความปลอดภัย และสร้างสังคมที่ยอมรับ ไม่กดขี่ ไม่มีความรุนแรง ต้องทำให้เรื่องเพศ เป็นระบบหนึ่งในโรงเรียน ที่ควรให้ความรู้ในเรื่องเพศ 3 .ในแง่ระบบ คือ 1.ต้องมีหลักสูตรวิชาเรื่องเพศอย่างชัดเจน 2 สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการไม่ล้อเลียน เสริมความรู้ทางเพศ ครูพร้อมฟังเด็ก ไม่ตัดสินเด็ก3.โรงเรียนต้องดึงเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนต้องร่วมกัน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |