"ปาบึก" อ่อนกำลังลงแล้ว​ คร่า​ 2​ ชีวิต​ ยังห่วงฝนตกหนักภาตใต้ตอนบน


เพิ่มเพื่อน    

 

เมื่อวันที่​ 6​ ม.ค.​ ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงติดตามเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง และจังหวัดตรัง​ โดยสภาพอากาศ และฝน พบว่า ประเทศไทยตอนบน อากาศเย็น มีฝนบางแห่ง ภาคใต้ตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณจ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และ จ.ชุมพร ปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักมาก บริเวณ อ.สิชล (251.4 มม.) จ.นครศรีธรรมราช อ.สวี (222.5 มม.) อ.เมือง (217.5 มม.) อ.ท่าแซะ (101 มม.) จ.ชุมพร อ.ทับสะแก (132 มม.) อ.บางสะพาน (122 มม.) อ.บางสะพานน้อย (121.5 มม.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.ละอุ่น (111.5 มม.) อ.กระบุรี (106 มม.) จ.ระนอง อ.เกาะพงัน (127.8 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 7-11 ม.ค.62 ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปกับมีลมแรง อุณหภูมิลดลง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับพายุดีเปรสชัน“ปาบึก”(PABUK) บริเวณทะเลอันดามันตอนบน ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 5 ม.ค.62 มีแนวโน้มว่าจะอ่อนกำลังลงและสลายไปตามลำดับแต่ยังคงส่งผลให้ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และลมกระโชกแรง รวมทั้งภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพฯและพื้นที่จังหวัดแนวชายฝั่งภาคตะวันออกที่มีฝนเพิ่มขึ้น​โดยสถานการณ์น้ำในแม่น้ำ ทุกภาคของประเทศ ปริมาณน้ำน้อยถึงปกติ เว้นภาคใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา อัตราการไหลผ่าน 451 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา อัตราการไหลผ่าน 0.78 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำชี อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ อัตราการไหลผ่าน 4 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อัตราการไหลผ่าน 116 ลบ.ม./วินาที ส่วนแม่น้ำโขงตั้งแต่บริเวณ จ.เชียงราย จ.นครพนม ถึง​จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำ ต่ำกว่าตลิ่ง 9.63 ม.,9.7 ม.และ 11.75 ม. ตามลำดับ ส่วนคุณภาพน้ำนั้น​คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ค่าความเค็ม แม่น้ำบางปะกง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา (ตั้งแต่ 28 ธ.ค.61) อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง สำหรับคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร  ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ แม่น้ำนครชัยศรี ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.61)

ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่า​ อ่างฯ ขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำ 53,895 ล้าน ลบ.ม.(76%) ปริมาณน้ำใช้การ 30,352 ล้าน ลบ.ม.(64%) อ่างฯ ขนาดกลาง (419 แห่ง) มีปริมาณน้ำ 3,639 ล้าน ลบ.ม. (67%) ปริมาณน้ำใช้การ 3,214 ล้าน ลบ.ม. (63%) อ่างฯ น้ำมากกว่า 80% ของความจุที่ต้องเฝ้าระวัง (ภาคใต้) : ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน (86%) น้ำไหลเข้าวันละ 0.17 ออก 1.30 ล้าน ลบ.ม. ปราณบุรี (90%) น้ำไหลเข้าวันละ 0.64 ออก 5.86 ล้าน ลบ.ม. และ รัชชประภา (83%) น้ำไหลเข้าวันละ 4.51 ออก หยุดการระบายน้ำ ขนาดกลาง 22 แห่ง (เพิ่มขึ้นจาก        เมื่อวาน 2 แห่ง )อ่างฯ น้ำระหว่าง 30-50% ของปริมาณน้ำใช้การ : ขนาดใหญ่ 6 แห่ง ได้แก่ แม่มอก ห้วยหลวง ลำพระเพลิง มูลบน ลำนางรอง สิรินธร ขนาดกลาง 70 แห่ง  อ่างฯ น้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ : ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ อุบลรัตน์ 186 ล้าน ลบ.ม. (10%) ทับเสลา 25 ล้าน ลบ.ม. (17%) และกระเสียว 31 ล้าน ลบ.ม. (12%) ขนาดกลาง 43 แห่ง

"ผลกระทบที่เกิดขึ้น สถานการณ์กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก”ส่งผลกระทบให้เกิดวาตภัย ภาวะน้ำทะเลหนุนสูง น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ทุกจังหวัดภาคใต้ (16 จ.82 อ.391 ต. 2572 ม. 28 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบ 179,868 ครัวเรือน 539,847 คน เสียชีวิต 2 ราย"

ทั้งนี้​ การช่วยเหลือและอพยพประชาชนในพื้นที่ จังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทหาร ตำรวจ หน่วยงานปกครองท้องถิ่น​ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลนิธิ อาสาสมัครภาคประชาชน ได้ให้ความช่วยเหลือจัดเตรียมพื้นที่อพยพ อพยพประชาชน  ทำอาหารแจกจ่าย เตรียมทีมแพทย์ จัดเตรียมเครื่องจักร รถบรรทุก รถสูบน้ำ ขณะนี้ส่วนใหญ่ประชาชนได้กลับเข้าที่พักอาศัยตามปกติแล้ว ยังคงมีประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รองรับอพยพ 8 แห่งใน จ. นครศรีธรรมราช
ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ภาคใต้ในระยะ 1-2 วันนี้ ยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม ดังนั้น ยังคงต้องเฝ้าระวังระดับน้ำที่อาจล้นตลิ่งและท่วมขังที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจ.ตรัง โดยเฉพาะบริเวณ คลองท่าดี อ.เมือง คลองกลาย อ.ท่าศาลา คลองท่าเลา อ.ทุ่งสง อ.ลานสกา และต้นแม่น้ำตาปี อ.พิปูน       จ.นครศรีธรรมราช แม่น้ำตรัง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง คลองบางสะพาน อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ คลองสวี อ.สวี คลองชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร และอ่างเก็บน้ำความจุมากกว่า 90% เสี่ยงน้ำไหลล้นข้ามทางระบายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำห้วยสามเขา อ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย อ่างเก็บน้ำทุ่งขาม​ จ.เพชรบุรี อ่างเก็บน้ำช่องลม อ่างเก็บน้ำคลองจะกระ อ่างเก็บน้ำคลองบึง อ่างเก็บน้ำไทรงาม จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำ​ คลองท่างิ้ว จ.ตรัง รวมทั้งภาวะน้ำเค็มรุกล้ำบริเวณปากแม่น้ำเนื่องจากคลื่นซัดฝั่งทั้งชายทะเลภาคตะวันออก และภาคกลาง.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"