ส่องความเคลื่อนไหวจัดทัพของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งถือเป็นฐานเสียงใหญ่ของพรรค รองจากภาคใต้ โดยดูเหมือนว่าการเลือกตั้งรอบนี้ต้องวางยุทธศาสตร์อย่างระมัดระวัง เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งใหญ่ส.ส.ปี 54
จะเห็นได้ว่ารอบนี้ประชาธิปัตย์ถูกตัดแขนตัดขาไปพอตัว เจอกับการขีดเส้นแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ และมรสุมพลังดูดที่ดูดคนสำคัญๆ ของพรรคในระดับ ส.ส., ส.ก. และ ส.ข.ไป
อาทิ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม.ปี 54, ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม.ปี 54, สกลธี ภัททิยกุล อดีต ส.ส.กทม.ปี 50, ชื่นชอบ คงอุดม อดีต ส.ส.กทม.ปี 54 เป็นต้น
ทว่า ผู้รับผิดชอบในการหาตัวผู้สมัครในเขต กทม. ก็ได้จัดหาคนทดแทนในส่วนที่หายไปเรียบร้อย และสมน้ำสมเนื้อ โดยเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยอดีต ส.ส.และคนรุ่นใหม่ของพรรค อาทิ เขตทุ่งครุ และราษฎร์บูรณะ
ที่แต่เดิมเป็นของ “เสี่ยตั้ม” ณัฏฐพล แต่ขณะนี้ปันใจไปขึ้นบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งประชาธิปัตย์ได้ “ตระกูลม่วงศิริ” อย่าง “สาทร” อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ลงชิงชัยแทน แม้ว่าก่อนหน้านี้ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” รองหัวหน้าพรรค จะเล็งไว้ให้ลูกชายสุดที่รักลงเขตดังกล่าวก็ตาม
ทำให้ “พรหม” พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ กลุ่มคนรุ่นใหม่ NEW DEM ที่ช่วยคุณพ่อหาเสียงตั้งแต่เรียนยังไม่จบ เด้งไปอยู่เขตบึงกุ่ม คันนายาว ซึ่งจะเรียกว่าหืดขึ้นคอก็ว่าได้ เพราะเจอเข้ากับเจ้าถิ่นเก่าสายแข็งอย่าง “พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ” จากพรรคเพื่อไทย หากไม่แน่จริง ไม่มีดีในตัวเอง คงเจาะเข้าไปนั่งกลางใจชาวกทม.ได้ยาก
อย่างไรก็ตาม สำหรับความขัดแย้งระหว่างรอบคัดเลือกตัวผู้สมัคร ส.ส.เขตคลองสามวา ระหว่าง “ณัฐนันท์ กัลยาศิริ” บุตรชายของวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตหัวหน้าฝ่ายกฎหมายพรรค กับ “ฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช นั้น ภายหลังจากการพูดคุย “ฮูวัยดีย๊ะ” เป็นผู้ได้สวมเสื้อพรรค
ทว่า การแข่งขันในเขตคลองสามวา หากสู้กันตัวต่อตัวเหมือนในการเลือกตั้งปี 48 และปี 54 ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยชนะ ประชาธิปัตย์มาเป็นอันดับสอง แต่เมื่อการเลือกตั้งปี 50 แบบจับกลุ่ม พรรคประชาธิปัตย์พลิกกลับคว้าชัยได้แทน
ขณะที่การเลือกตั้งเที่ยวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 54 แต่จะแตกต่างก็ตรงตัวผู้สมัครของแต่ละพรรค โดยแชมป์เก่าคือ “จิรายุ ห่วงทรัพย์” พรรคเพื่อไทย และผู้ท้าชิง “ฮูวัยดีย๊ะ” โดยคาดการณ์กันว่าพรรคจะส่งน้องสาว ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อ้อนขอคะแนนจากชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเขตดังกล่าว
อีกพื้นที่หนึ่งที่น่าสนใจ คือ เขตบางกะปิ ซึ่งเป็นเซฟตี้โซนของประชาธิปัตย์ เนื่องจากมีฐานแฟนคลับแน่นขนัด รอบนี้ต้องบอกว่าเป็นการชนกันระหว่างคนรุ่นใหม่ของ 2 พรรค โดยในฝั่งประชาธิปัตย์ส่ง “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ กลุ่มคนรุ่นใหม่ และหลานชาย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรค ส่วนพรรคเพื่อไทยให้ “ปุ๊น” ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ชิงเก้าอี้
และสุดท้าย เขตบางซื่อ ค่ายแม่พระธรณีบีบมวยผม เคาะ “หมอเอ้ก” คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ หนุ่มหล่อหน้าใส เคยเป็นทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชิงตำแหน่งกับอดีตศิษย์พี่ร่วมค่ายเดียวกันอย่าง “เอ็ม” ชื่นชอบ คงอุดม บุตรชายของชัชวาลย์ คงอุดม ฉายา “ชัช เตาปูน” ผู้ทรงอิทธิพลย่านบางซื่อ ซึ่งขณะนี้ต้องช่วยบิดาที่ตั้งพรรคการเมืองใหม่ ในนามพรรคพลังท้องถิ่นไท
ทั้งนี้ เมื่อปี 50 “ชื่นชอบ” ลงสมัคร ส.ส.ในนามรวมใจไทยชาติพัฒนา แต่พ่ายแพ้แก่พรรคประชาธิปัตย์แล้วรอบหนึ่ง หลังจากนั้นย้ายมาสังกัดประชาธิปัตย์ และได้รับชัยชนะในเขตบางซื่อ ทว่า รอบนี้เขาสวมเสื้อใหม่อีกครั้ง จึงต้องลุ้นกันว่าระหว่างหมอฟัน หน้าใหม่การเมือง กับลูกชายเจ้าพ่อเตาปูน ใครจะเชือดใคร
เหนือสิ่งอื่นใด “กุนซือใหญ่มือสังหารของพรรค” วิเคราะห์ว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ในพื้นที่กรุงเทพมหานครนี้ต้องคำนวณให้ดี เพราะ “หม่อมหมู” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตพ่อเมือง กทม. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปัตย์ สร้างความเจ็บปวดแสนสาหัสให้ชาวเมืองหลวงไว้เป็นอันมาก
บางทีรอบนี้คะแนนนิยม กทม.ของพรรคอาจเพลี่ยงพล้ำให้กับฝ่ายตรงกันข้ามด้วยเหตุนี้ก็เป็นได้!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |