พัฒนาต้นแบบสุขภาวะ


เพิ่มเพื่อน    

        กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนากระบวนการต้นแบบและกลไกการขยายผลสำหรับการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมในองค์กร พื้นที่ และกลุ่มเยาวชน เพื่อมุ่งพัฒนาสังคมสุขภาวะในระยะยาว
    ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ สสส.ได้ดำเนินงานตามเป้าประสงค์นี้ โดยแผนสุขภาวะชุมชน และแผนสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร ได้แก่ ๑.สนับสนุนศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ๘ แห่ง ทำหน้าที่เป็นกลไกสร้างการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมการจัดการสุขภาวะชุมชนให้สมาชิกเครือข่ายไม่น้อยกว่า ๒๐ ตำบล และยกระดับศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๑๐ แห่ง
    ๒.สนับสนุนศูนย์ฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชนและด้านการพัฒนาระบบข้อมูลตำบล ไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง ๓.พัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ ไม่น้อยกว่า ๕๐ แห่ง และศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง ๔.สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า ๗๐๐ แห่ง
    ๕.พัฒนาระบบการจัดการจังหวัดน่าอยู่ จากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ ไม่น้อยกว่า ๑๐ จังหวัด ๖.สนับสนุนสถาบันวิชาการดำเนินการวิจัยร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ๕ แห่ง ๗.พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ตนเองไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน
    ๘.ทบทวนชุดความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนและนำไปใช้ประโยชน์ อย่างน้อย ๖ เรื่อง และพัฒนานวัตกรรมการจัดการสุขภาวะตามแนวทางการใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาไม่น้อยกว่า ๒๐๐ แห่ง ๙.ใช้ตัวชี้วัดชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งในพื้นที่นำร่อง ไม่น้อยกว่า ๙๐ ตำบล ตามข้อตกลงร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ สสส. และ ๑๐.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรณรงค์ตามวาระต่างๆ ของ สสส. และระเบียบวาระตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการณรงค์ที่ดำเนินการโดยแผนสุขภาวะชุมชน ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ แห่ง
    การดำเนินงานตามแผนสุขภาวะชุมชน
    แผนสุขภาวะชุมชน กำหนดรูปแบบและกลวิธีการดำเนินงาน ๒ หลักการสำคัญ ได้แก่ ๑) ใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา และ ๒) คำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบายของชุมชนท้องถิ่น โดยมีจุดเน้น ดังนี้ ๑) การประสานและใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ องค์ความรู้ของ สสส.และภาคียุทธศาสตร์ผนวกกับศักยภาพของพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนสุขภาวะชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ของเครือข่าย อาทิ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย ๒) การรณรงค์และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในประเด็นที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของ สสส. โดยเน้นพื้นที่ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานร่วมกับแผนสุขภาวะชุมชนในตำบลกว่า ๒,๐๐๐ แห่ง
    ๓) การขยายนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ผ่านการปฏิบัติของพื้นที่ต้นแบบไปยังตำบลกว่า ๒,๐๐๐ แห่ง โดยเฉพาะการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ และปัจจัยส่งเสริมสุขภาพของทุกช่วงวัย ส่งผลกระทบให้อัตราการเกิดโรคลดลง หรือไม่เพิ่มขึ้นในระดับชุมชนท้องถิ่นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของระดับประเทศ และ ๔) การเปิดช่องทางในการใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลที่สนับสนุนโดยแผนสุขภาวะชุมชน เพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงการสร้างข้อตกลงร่วมกำหนดตัวชี้วัดร่วมระหว่างกลไกขับเคลื่อนหลัก โดยเฉพาะตัวชี้วัดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
    ผลลัพธ์การดำเนินงานโดยสรุป มีดังนี้ ๑.มีศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ๘ แห่ง ยกระดับเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะประเด็น ๑๐ แห่ง ในเรื่องยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ อาหารชุมชน และการดูแลผู้สูงอายุ ๒.สนับสนุนสถาบันวิชาการ พัฒนางานวิจัยร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ๕ แห่ง ๓.พัฒนาระบบจัดการจังหวัดน่าอยู่ ๑๐ จังหวัด ๔.พัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน และบุคลากรของหน่วยงานในพื้นที่ ในการจัดการสุขภาวะชุมชนและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ตนเองและเครือข่าย ๑๐,๔๖๔ คน ๕.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามวาระต่างๆ ๒,๐๐๐ แห่ง
    พัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชน
    ๑.๑ สนับสนุนการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือการวิจัยชุมชน และด้านการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ข้อมูลสำหรับพัฒนานวัตกรรมการจัดการสุขภาวะชุมชนและมีการบรูณาการเข้าสู่แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นทั้งระยะสั้นและระยะกลาง ๒๐ แห่ง โดยทุกแห่งมีคู่มือการบริหารจัดการและคู่มือวิชาการที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนนั้นๆ และมีการถอดบทเรียนประเมินผล
    ๑.๒ ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ออกแบบแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง และนำไปใช้ในพื้นที่ตำบลนำร่อง ๑๑๗ แห่ง และใน ๓ ชุมชนในกรุงเทพฯ ตามข้อตกลงร่วมกัน
    ๑.๓ ร่วมพัฒนาศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ๘ แห่ง ทำหน้าที่เป็นกลไกในการสร้างการเรียนรู้ และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการสุขภาวะชุมชนของสมาชิกในตำบลเครือข่ายไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง และมีการถอดบทเรียน ประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งมีการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการจัดการสุขภาวะของชุมชน ๑๐ แห่ง อาทิ ๑) องค์การบริหารส่วนตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ๒) องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่จังหวัดนคราชสีมา ๓) องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
    ๑.๔ ยกระดับศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ๑๐ แห่งที่บริหารจัดการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นฐานจากบทเรียนจากการจัดการตนเองและมีขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ ๑) ประเด็นการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุ ๔ แห่ง ๒) ประเด็นการควบคุมยาสูบ ๑ แห่ง ๓) ประเด็นการพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๓ แห่ง และ ๔) ประเด็นระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ๒ แห่ง
    ๑.๕ พัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น ๒๐ แห่งที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้และขยายผลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และที่สนใจ โดยประสานกับแผนสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. โดยมีศูนย์เรียนรู้ ๑๔ แห่ง นำนวัตกรรมไปขยายผล และมีการประเมินผลและถอดบทเรียน
    ๑.๖ สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒,๐๐๐ แห่ง ร่วมรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามวาระต่างๆ ของ สสส. และระเบียบวาระตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกำหนดแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการลด ละ เลิกการบริโภคบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด รวมทั้งการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม อาทิ ๑) ลดเมา เพิ่มสุข:ปฏิบัติการ ชุมชนอาสา ลดเมา ลดเหตุ ๒) สร้างสรรค์พื้นที่ปลอดเหล้า โดยกำหนดพื้นที่ในสงกรานต์ปลอดเหล้า งานศพงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ร้านค้าและชุมชนปลอดเหล้า ๓) เสริมสร้างถนนปลอดภัย โดยการแก้ปรับปรุงจุดเสี่ยง
    ๑.๗ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด พัฒนาระบบการจัดการจังหวัดน่าอยู่ ๑๐ จังหวัด และมีการประเมินผลการดำเนินงาน ๕ 
    ๑.๘ สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๗๕๓ แห่ง ร่วมกับภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการ และภาคียุทธศาสตร์ ประมวลความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติและสอบทานกับหลักฐานทางวิชาการ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนท้องถิ่น และกำหนดนโยบายระดับจังหวัดและประเทศ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลักดันให้เกิดนโยบายระดับจังหวัดในประเด็น ผู้สูงอายุ อาหาร
    พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมท้องถิ่นสุขภาวะ โดยดำเนินการวิจัยร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่และค้นหาแนวทางใหม่ในการจัดการปัญหาและการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะชุมชน รวมทั้งความรู้จากการวิจัยนำไปประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดตัวอย่างการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ ๑) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ๒) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ๓) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๔) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ๕) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
    ร่วมพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน และบุคลากรของหน่วยงานในพื้นที่ให้มีขีดความสามารถในการจัดการสุขภาวะชุมชนและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ตนเองและเครือข่าย ๑๐,๔๖๔ คน และมีบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรชุมชนและบุคลากรของหน่วยงานในพื้นที่ ๕๒๕ คนที่เป็นต้นแบบในการพัฒนา ถ่ายทอดหรือนำไปใช้พัฒนาเป็นแผนปฏิบัติการของชุมชน
    สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการจัดการสุขภาวะตามแนวทางการใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ๑๗๕ แห่ง ดังนี้ ๑) การควบคุมการบริโภคยาสูบ ๕๗ แห่ง ๒) การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๓) การลดอุบัติเหตุจราจร ๕๘ แห่ง และ ๔) การจัดการอาหารเพื่อสุขภาพ ๖๐ แห่ง โดยนำนวัตกรรมไปขยายผล และมีการประเมินผลและถอดบทเรียน ๕๘ แห่ง
    สนับสนุนการทบทวนชุดความรู้การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและการเพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพตามแนวทางการใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา ๖ เรื่อง และเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปใช้ขยายผล ๓๒๙ แห่ง ดังนี้ ๑) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ๒) แนวทางการพัฒนาระบบอาหารชุมชน ๓) คู่มือการขับเคลื่อนเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบโดยชุมชนท้องถิ่น ๔) คู่มือการขับเคลื่อนเพื่อควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์โดยชุมชนท้องถิ่น ๕) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัย และ ๖) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนโดยชุมชนท้องถิ่น
    สนับสนุนหน่วยงานวิชาการ ภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำชุดความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะชุมชน อาทิ คู่มือ หลักสูตร เครื่องมือทางวิชาการและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานรวมทั้งมีการถอดบทเรียนการใช้ชุดความรู้ที่เป็นคู่มือ หลักสูตร เครื่องมือทางวิชาการ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะ
    สนับสนุนการขยายผลนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ นำนวัตกรรมไปปรับใช้ในพื้นที่ ๑๕๔ แห่ง โดยนำนวัตกรรมไปขยายผล รวมทั้งมีการประเมินผลหรือถอดบทเรียน ๕๘ แห่ง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"