ไม่จบไม่สิ้นเพราะไม่มีใครออกมาฟันธงสรุปว่าจะเดินกันไปอย่างไรในเรื่องของการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ของประเทศไทย เพราะล่าสุดรัฐบาลก็ลั่นคำสั่งให้เบรกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา กำลังการผลิตไฟฟ้า 2,000 เมกะวัตต์ เหตุเพราะเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ทบทวนโครงการดังกล่าว
ทำเอาด้านฝ่ายดำเนินการอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็คงวุ่นตามไปด้วย เพราะเมื่อคำสั่งมาถึงกระทรวงพลังงาน ผ่านมติการประชุมต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ผลออกมาว่าให้เลื่อนออกไปอีก 3 ปี ทั้งโรงไฟฟ้าเทพา และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ โดยให้เหตุผลว่าต้องไปทำความชัดเจนต่างๆ ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเดินหน้าต่อ
โดยในส่วนของโรงไฟฟ้ากระบี่จะใช้เวลาในการดำเนินการศึกษารายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) ใหม่ รวมทั้งสร้างความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ขณะที่โรงไฟฟ้าเทพา ทาง กฟผ.จะต้องไปศึกษาพื้นที่ตั้งให้เหมาะสม รวมถึงการไปหาโอกาสที่ไปดำเนินการในพื้นที่ใหม่ๆ โดยจะติดตามผลศึกษาของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อนนำมาพิจารณา
ตรงนี้ก็เหมือนกับว่าทางฝั่งรัฐบาลชัดเจนแล้วว่ายังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในเร็วๆ นี้แน่นอน และมีการชะลอหรือเลื่อนออกไปก่อนอย่างน้อยๆ 3 ปี ซึ่งล่าสุด นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกมาพูดว่าพื้นที่ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเทพาจำนวน 700 ไร่นั้น บางส่วนยังติดว่าเป็นที่สาธารณะอยู่เป็นที่ตั้งของชุมชน มีบ้านเรือน มัสยิด โรงเรียน และที่ทำการเกษตร ส่งผลให้ กฟผ.ไม่สามารถโอนสิทธิ์มาใช้ก่อสร้างได้
ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับข้อกฎหมาย และการยินยอมของคนในพื้นที่ โดย กฟผ.ก็ยังต้องเป็นผู้ที่เข้าไปเจรจากับทางคนในชุมชน ซึ่งหากคำตอบออกมาว่าอนุมัติให้สามารถใช้ได้ รวมถึงในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องระบุว่าสามารถดำเนินการใช้พื้นที่สาธารณะสร้างโรงไฟฟ้าได้ กระทรวงก็จะเดินหน้าต่อ
แต่...ท่านรัฐมนตรีก็ไม่พูดอย่างเต็มปากเต็มคำได้ ว่าถ้าผลศึกษาและการยอมรับของคนในพื้นที่แล้วเสร็จก่อน 3 ปี กระทรวงก็จะสั่งให้ กฟผ.ลงมือสร้างโรงไฟฟ้าทันที แต่กลับไปให้ความสำคัญกับด้านการพัฒนาระบบสายส่งที่รับไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปภาคใต้ และการเพิ่มกำลังสายส่งของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ อย่างโรงไฟฟ้าขนอม และ โรงไฟฟ้าจะนะ ที่เดินเครื่องด้วยก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งแผนดังกล่าว คือ 1.เพิ่มจำนวนและขนาดสายส่งแรงดันสูงเชื่อมโรงไฟฟ้าหลักในปัจจุบัน (ขนอม และจะนะ) ตรงสู่เมืองที่มีการใช้ไฟฟ้ามากในบริเวณฝั่งอันดามัน และเชื่อมกับสายส่งหลักจากภาคกลางที่สถานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.พัฒนาระบบสายส่งและโรงงานไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการในพื้นที่ โดยจะกำหนดให้เกิดการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ 300 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคใต้มีความต้องใช้ไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 2,600 เมกะวัตต์ แต่ผลิตได้ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งที่กล่าวมา และในส่วนที่เหลือก็ต้องพึ่งพาการดึงไฟฟ้าจากภาคกลางลงมาช่วย และการใช้ไฟจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน แต่ก่อนหน้านี้ก็มีการอ้างเหตุผลว่าการส่งไฟจากภาคกลางเป็นความเสี่ยง เนื่องจากมีระยะทางที่ไกล หากเกิดเหตุกับสายไฟระหว่างทางก็จะทำให้ไฟฟ้าเกิดขัดข้องได้ และเป็นปัญหาที่กระทบไปทั้งภาค
ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในภาคใต้ก็เป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีความเสถียร ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา และยิ่งชีวมวล หากจะสร้างและพึ่งพาอย่างเต็มกำลังก็ต้องมั่นใจได้ว่าจะมีแหล่งเชื้อเพลิงที่ป้อนให้กับโรงงานได้อย่างไม่ขาด ไม่อย่างนั้นก็ยังไม่ช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนของไฟฟ้าของพื้นที่ได้ แต่ทำไมในตอนนี้กลับมาสนับสนุนให้ทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นเพื่อดูแลความมั่นคงของไฟฟ้าของภาคใต้
รวมถึงมีการแย้มๆ ออกมาว่า จะเอาโรงไฟฟ้าถ่านหินออกจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี) ฉบับใหม่
จึงเกิดความไม่เข้าใจว่าในการชะลอโรงไฟฟ้าที่เป็นเชื้อเพลิงหลักสามารถพึ่งพาได้ และอาจจะทำให้ไฟฟ้าถูกลงนั้น จะเป็นการยกเลิกก่อสร้างถ่านหินไปเลยหรือไม่ ถึงบางส่วนจะออกมาบอกแล้วว่าไม่ได้เลิก แต่ก็ไม่มีใครออกมาให้ความชัดเจน มันก็เลยเกิดความเลือนรางในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของภาครัฐในประเทศไทย.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |