โอ่ผลงาน 4 ปีมีหลายร้อยหน้า เสร็จแล้ว เตรียมเผยแพร่ ม.ค.นี้ ส่วนจะแถลงหรือไม่รอ “บิ๊กตู่” สั่งการ ซูเปอร์โพล-ดุสิตโพลเห็นตรงกัน “ประยุทธ์” ยังได้รับความนิยม เหมาะนั่งนายกฯ ต่อ “นพดล” ชี้สุดย้อนแย้งคนหนุนพรรคเพื่อไทยแต่รักลุงตู่ หวังปี 2562 เศรษฐกิจกระเตื้อง
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 ธ.ค. น.ส.เรณู ตังคจิวางกูร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยถึงการจัดทำผลงานรัฐบาลปีที่ 4 ว่า ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ทำการรวบรวมผลงานจากทุกกระทรวงตลอดการทำงาน 4 ปี โดยแบ่งเป็น 1.แบบฉบับเต็มจะแจกให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และห้องสมุดต่างๆ 2.ผลสรุปเล่มขนาดย่อ และ 3.ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษแปล ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ โดยขณะนี้กำลังจัดพิมพ์ทั้ง 3 เล่ม โดยเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ได้นำเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขตรงส่วนไหนบ้าง
“ผลงานรัฐบาลดังกล่าวมีความหนาหลายร้อยหน้า ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่รัฐบาลได้เดินหน้าแก้ปัญหาและช่วยเหลือประชาชน เช่น เรื่องการปฏิรูป การสร้างความปรองดอง การปราบปรามการทุจริต โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) เป็นต้น ทั้งนี้ จะสามารถส่งผลงานดังกล่าวให้ สนช.ตามแผนเมื่อครบการทำงานในปีที่ 4 ได้ประมาณเดือน ม.ค.นี้ และเผยแพร่ในเดือน ม.ค.เช่นเดียวกัน แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้สั่งการว่าจะให้มีการแถลงผลงานด้วยหรือไม่” น.ส.เรณูกล่าว
วันเดียวกัน มีการเผยแพร่ผลสำรวจ (โพล) ถึง 3 สถาบัน โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หรือนิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องคุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์ในปี 2562 ซึ่งสอบถามประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อสอบถามถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเท่าเดิม ได้แก่ 53.43% เรื่องการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง, 52.55% ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, 52.23% ด้านระดับความสุข, 52.15% ระบุว่าด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว, 50.24% ระบุว่าด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน
48.96% ระบุว่าด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม, 46.97% ระบุว่าด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น, 46.41% ระบุว่าด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน, 45.45% ระบุว่าด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และ 44.34% ระบุว่าด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/การประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ
ส่วนในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าแย่ลง ส่วนใหญ่ 59.81% ระบุว่าด้านเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ, 41.79% ระบุว่าด้านปัญหาทางการเมือง และเมื่อถามถึงการคาดการณ์ของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2562 ที่ประชาชนส่วนใหญ่คาดการณ์ให้ดีขึ้น พบว่าส่วนใหญ่ 61.96% ระบุว่าด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น, 61.57% ระบุว่าด้านระดับความสุข, 59.41% ระบุว่าด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน, 58.13% ระบุว่าด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว, 57.18% ระบุว่าด้านเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม ในสัดส่วนที่เท่ากัน 56.46% ระบุว่าด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง, 54.15% ระบุว่าด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/การประกอบอาชีพ, 53.11% ระบุว่าด้านปัญหาทางการเมือง, 51.59% ระบุว่าด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, 51.28% ระบุว่าด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และ 48.57% ระบุว่าด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน
ส่วน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง เกาะติดเสียงประชาชนที่สุดแห่งปี โดยสอบถามประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 2,437 ตัวอย่าง พบว่า ผลงานของรัฐบาล และ คสช. ที่ประชาชนพอใจแห่งปี 2561 มากที่สุดพบว่า 39% การทำบ้านเมืองสงบสุข แก้ปัญหาผู้มีอิทธิพลได้, 31.9% แก้ปัญหาค้ามนุษย์, 31.8% จัดระเบียบสังคมได้, 30.9% บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, 30.5% แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน, 25.3% รักษาป่ารักษาป่า อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาเงินอุทยานรั่วไหล, 24% โครงการประชารัฐ, 20.9% แก้ปัญหาทำประมงผิดกฎหมาย, 18.3% แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร และ 11.1% แก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้
“ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกฯ ล่าสุด พบว่า 23.7% เลือก พล.อ.ประยุทธ์, 16.6% คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, 11.5% นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, 11% นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และที่เหลือ 37.2% ระบุคนอื่นๆ และยังไม่รู้ใครเหมาะสม”ดร.นพดลกล่าว
และเมื่อสอบถามฐานะทางการเงินของประชาชนว่า ดีขึ้น เหมือนเดิม หรือแย่ลง เปรียบเทียบตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา กับช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงบานปลายคิดย้อนกลับไป 5 ปีที่แล้ว ในปี 2557 พบว่า จำนวนมากหรือ 42.4% ระบุเหมือนเดิม, 31.7% ระบุดีขึ้น แต่ 1 ใน 4 หรือ 25.9% ระบุแย่ลง แต่เกินครึ่งหรือ 53.6% มองว่าปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ปี 2562 ฐานะทางการเงินจะดีขึ้น ในขณะที่ 39.5% เหมือนเดิม และ 6.9% คิดว่าจะแย่ลง
“ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลและ คสช.ยังมีผลงานที่ทำให้ประชาชนให้การสนับสนุนมากที่สุดคือ การทำบ้านเมืองสงบสุข แก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล แก้ปัญหาค้ามนุษย์ได้ดี แต่ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความย้อนแย้งทางการเมืองในอารมณ์ของสังคมผู้คนตอนนี้ที่นิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุด แต่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์เหมาะสมเป็นนายกฯ ดังนั้นหากรัฐบาลและ คสช.แก้ปมค้างคาในใจของประชาชนได้ตรงจุด ผลที่ตามมาคือบ้านเมืองจะสงบสุขต่อเนื่อง เพราะประชาชนเริ่มมองไปข้างหน้าแล้วว่าปีใหม่นี้ หรือปีที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ฐานะทางการเงินของพวกเขาน่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมานี้” นายนพดลระบุ
ด้านสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่สุดแห่งปีเป็นปีที่ 21 ต่อเนื่องกัน โดยสำรวจประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ 8,347 คน ในเหตุการณ์ในประเทศไทยที่มีความสุข พบว่า 66.71% กรณี 13 หมูป่าออกจากถ้ำหลวง, 19.87% วันหยุดตามเทศกาลต่างๆ และ 13.42% โขนไทยได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลก ส่วนเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เศร้าที่สุด 42.13% การเสียชีวิตของจ่าแซม ฮีโร่ถ้ำหลวง, 29.23% คดีฆ่าเสือดำ และ 28.64% ข่าวอาชญากรรม อุบัติเหตุ ความรุนแรง
เมื่อถามถึงนักการเมืองชาย-หญิงที่ชื่นชอบมากที่สุดนั้น ในส่วนของนักการเมืองชาย 47.17% พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 31.25% ทักษิณ ชินวัตร, 21.58% อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่วนนักการเมืองหญิง 34.20% คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, 33.47% น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร และ 32.33% น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเมื่อถามถึงความหวังในปีหน้า 2562 พบว่า 70.17% หวังเรื่องเศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนอยู่ดีกินดี, 19.46% คนไทยสามัคคีปรองดอง ประเทศชาติ สงบสุข และ 10.37% มีการเลือกตั้ง การเมืองดีขึ้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |