แฉฮั้วคัดส.ว. ล็อกคะแนน เอื้อพวกพ้อง


เพิ่มเพื่อน    

  อดีต ปธ.วุฒิสภาชี้เลือก ส.ว.แบบใหม่ป้องฮั้วไม่ได้ แค่เล่นลิเก สุดท้ายอำนาจอยู่ที่ คสช.คัดเอง พบพิรุธ ส.ว.ลากตั้งจาก 10 กลุ่มไม่โปร่งใส ล็อกกันไว้ล่วงหน้าซูเอี๋ยเทคะแนนเอื้อพวกเดียวกัน กระทุ้ง กกต.เร่งสอบด่วนก่อนประกาศผล

    เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม นายนิคม ไวยรัชพานิช สมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวถึงผลการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่เมืองทองธานี ซึ่งเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามในกระบวนการเลือก ส.ว.ให้มีการเลือกตั้ง เพื่อต้องการให้เชื่อมโยงกับประชาชน แต่การแก้ไขครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ นำมาสู่การถอดถอนตามมา ต่อมามีการอ้างว่าเพื่อต้องการให้พ้นจากเป็นสภาผัวเมีย ป้องกันการฮั้ว แต่กับกรณีการเลือกกลุ่มวิชาชีพ ไม่แน่ใจว่าเกิดการฮั้วได้ง่ายขึ้นหรือไม่
    อย่างไรก็ตาม จากการรับสมัครคนมาสมัครเพียง 7,200 คน จากที่คาดการณ์จะมีคนมาสมัครนับแสนคน เนื่องจากทุกคนเกรงว่าสมัครไปแล้วเสียเปล่า เพราะสุดท้ายแล้วคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องเลือกเองอยู่ดี นอกจากนี้ การใช้เงินเลือกกว่า 3,000 ล้านบาท เหมือนเล่นลิเก ขี่ช้างจับตั๊กแตน การคัดเลือกไม่คำนึงถึงความเป็นจริง ความถูกต้อง เลยผิดเพี้ยนจากหลักปฏิบัติทั่วไป
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบการคัดเลือก ส.ว. 200 คน พบว่าผลคะแนนที่ปรากฏออกมาทั้ง 10 กลุ่ม ทั้งวิธีการสมัครด้วยตนเอง (สมัครอิสระ) และสมัครโดยองค์กรนิติบุคคลเสนอชื่อ ล้วนสะท้อนถึงการเลือกที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. เนื่องจากมีผู้สมัครจำนวนหนึ่งในแต่ละกลุ่มได้ตระเตรียมการกันมาอย่างดี ตั้งแต่จัดคนที่เป็นพรรคพวกในกลุ่ม ในองค์กรนิติบุคคลของตนและเครือข่ายไปลงสมัคร เมื่อมาถึงระดับประเทศก็จะให้เลือกหัวหน้าทีมที่ตกลงกันไว้ เรียกว่าฮั้วกัน ทำให้ได้มีคะแนนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการเตรียมการแบบนี้
    ยกตัวอย่างจากการตรวจสอบในกลุ่ม 7 กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยวประเภทนิติบุคคลเสนอชื่อ มีผู้สมัคร 35 คน ผ่านระดับอำเภอ จังหวัดมาโดยไม่ต้องเลือก มาเลือกในระดับประเทศคัดไว้ 10 คนเรียงตามลำดับคะแนน พบว่านิติบุคคล 2 แห่งมีบทบาทสำคัญที่กุมคะแนนผู้สมัคร 
    จากเอกสารใบสมัครของผู้สมัครที่กรอกประวัติส่งให้ กกต. และ กกต.ส่งให้ผู้สมัครด้วยกัน พบว่า ในส่วนของสมาคม 2 องค์กรดังกล่าวนั้น ลงสมัครทั้งนายกสมาคม, เลขาธิการสมาคม และสมาชิกสมาคม จากผลคะแนนของผู้ได้รับเลือกแสดงถึงเส้นทางการเชื่อมโยงกันและเอื้อกันว่า ในกลุ่มของสมาคมมาสมัครไม่ได้มุ่งให้คนอื่นเลือก เพราะบางคนไม่กรอกข้อมูลใดๆ แต่มาเพื่อเลือกพรรคพวกของตัวเองเท่านั้น และได้คะแนนมากพอที่จะติดกลุ่ม 10 คน ในขณะที่ผู้สมัครบางคนกรอกข้อมูล มีเกียรติประวัติโดดเด่น แต่ไม่มีคนเลือก ได้อย่างมากแค่ 1 หรือ 2 คะแนนเท่านั้น     
    โดยพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น กกต.มีหน้าที่ตรวจสอบจากเอกสารใบสมัครของผู้สมัครและใบลงคะแนนทั้งกลุ่ม 7 และกลุ่มอื่นๆ อีก 9 กลุ่ม โดยไม่ต้องรอให้ใครมายื่นเรื่องร้องเรียน เนื่องจากเห็นชัดเจนว่าผู้สมัครหลายคนสมัครเพื่อเลือกตัวเอง 1 เสียง และอีก 1 เสียงไปเพิ่มให้หัวหน้าทีมของตัวเอง คะแนนจะเป็นหลักฐานของการเลือกที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม โดย กกต.ต้องรีบดำเนินการตรวจสอบโดยเร่งด่วน ก่อนประกาศผลและนำไปสู่การยกเลิกการเลือกหรือให้มีการเลือกใหม่ หาก กกต.ไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
    อนึ่ง กฎหมายการเลือก ส.ว. มาตรา 77 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำการอย่างใดดังต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้อื่นสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือถอนการสมัครหรือกระทำการใดๆ อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ที่จะเลือกหรือได้รับเลือก หรือเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร หรือผู้มีสิทธิเลือลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี”.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"