27ธ.ค.61-“หมอจรัส”ลั่นการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จในง 10 ปี ข้างหน้า คุณภาพการศึกษาต้องดีได้ระดับสากล มีพ.ร.บ.การศึกษาชาติ เป็นตัว"รีเซ็ท" ความคิดใหม่ทั้งหมด ชี้ทุกวันนี้อยู่ในขั้นวิกฤต เด็กไทยยังใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรให้เป็นประโยชน์ไม่ได้ กว่า 40 %เทียบเวียดนามมีแค่ 10% เท่านั้น ส่วนแนวคิดไม่ให้เด็กสอบเข้าป.1 เพราะต้องการให้เด็กเก่งกับเด็กไม่เก่ง เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน แต่โรงเรียนกลับมองให้เด็กสร้างชื่อเสียง
ที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - มูลนิธิไทยรัฐได้จัดงาน “วันกำพล วัชรพล” ประจำปี 2561 โดยมีนพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง" ปฏิรูปการศึกษาของไทยจะดีขึ้นอย่างไร "ตอนหนึ่งว่า ในสังคมมองเห็นว่าการศึกษามีปัญหาแน่นอน อีกทั้งในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 ยังได้กำหนดในคำปรารภ ว่า ประเทศไทยมีปัญหาต่างๆ มากมายหลายด้าน จำเป็นต้องป้องกันและแก้ไขด้วยการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น เมื่อมาพิจารณาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาจึงพบว่า ปัญหาการศึกษาของไทยอยู่ในสภาพวิกฤตอย่างมาก ทั้งเรื่องคุณภาพการศึกษาต่ำไม่ได้มาตรฐานทั้งของไทยและสากล มีความเหลื่อมล้ำอย่างสูงมาก เป็นความเหลื่อมล้ำที่ข้ามช่วงอายุคน เช่น พ่อแม่ยากจน ส่งลูกเรียนในโรงเรียนหวังที่จะให้ลูกมีความรู้หลุดจากความยากจน ปรากฎว่าโรงเรียนไม่มีคุณภาพ ทำให้เด็กที่เรียนไม่ได้ความรู้และไม่สามารถหลุดพ้นออกจากความยากจนได้ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ร้ายแรงและจะต้องได้รับการแก้ไขให้ได้ และปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของชาติ ประเทศไทยแข่งขันไม่ได้ เพราะการศึกษาเรายังไม่ดีพอ เพราะเราคุณภาพการศึกษาเมื่อวัดจากผลสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต พบว่า ค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศผลการสอบตกหมดทุกวิชา เพราะหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นเรื่องเนื้อหาสาระ การท่องจำ ทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำ แต่ก็ยังคงมีบางกลุ่มที่ทำคะแนนได้ดี แต่น้อยกว่ากลุ่มที่คะแนนน้อยจำนวนเยอะมาก
นอกจากนี้ เมื่อดูข้อมูลการทดสอบโครงการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ หรือ พิซ่า พบว่า คะแนนของประเทศไทยอยู่ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของโลกอีกทั้งยังเด็กไทยจำนวนกว่าครึ่ง ทำคะแนนการทดสอบในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดที่ควรจะเป็น และเด็กไทยยังอยู่ในกลุ่มการใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรให้เป็นประโยชน์ไม่ได้ กว่าร้อยละ 40 ขณะที่เวียดนามมีเพียงแค่ ร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลในส่วนนี้สรุปได้เลยว่าผู้จบการศึกษาภาคบังคับของไทย ยังเป็นแรงงานไร้ฝีมือและไม่มีหัวคิด และหากแยกค่าเฉลี่ยการทดสอบพิซ่า จะพบว่ามีเด็กไทยที่อยู่ในกลุ่มคะแนนสูงสุดด้วย แต่มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร
ประธานคณะกรรมการอิสระฯ กล่าวอีกว่า เมื่อดูผลการศึกษาตามขนาดโรงเรียนจะพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ จะอยู่ในเกณฑ์ดี และลดลงเรื่อยๆ ตามขนาดของโรงเรียน ปัญหาจึงอยู่ที่โรงเรียนขนาดเล็ก และในส่วนของข้อมูลการแข่งขันของชาติ ปี 2017-2018 ที่ประเมินโดย World Economic Forum จัดอันดับให้ไทยอยู่ที่ 32 ของโลก ซึ่งเราถูกมาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน แซงเราไป ซึ่งมีวัดการสภาพแวดล้อมของไทย เราเป็นศูนย์กลางอาหารของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ มีความอิสระ มีสถาบันดีๆ มากมาย แต่ทำไมจึงแพ้คนอื่น ดังนั้นเมื่อเจาะในรายละเอียดด้านปัจจัยในการใช้ประเมิน พบว่า หลายด้านเราเป็นอยู่ในลำดับที่ดี แต่การศึกษาของไทยอยู่ลำดับที่ 56 ของโลก ซึ่งคงไม่ผิดที่จะกล่าวว่า การศึกษาเป็นตัวถ่วงในการแข่งขันของชาติ
"เมื่อผมเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปการศึกษา และเห็นปัญหาก็รู้สึกว่ามันหนัก ผมได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่า สิ่งที่ให้ทำถือเป็น Mission impossible ดังนั้นปัญหาตอนนี้ คือ เราจะต้องทำอย่างไร และเมื่อปี 2542 ประเทศมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่เวลาผ่านมาเราบอกว่าต้องมีการปฏิรูปอีกครั้ง การปฏิรูปครั้งที่แล้วไม่สำเร็จ ปัญหาก็คือ ในอีก 5 ปีข้างหน้าหากเราหันกลับมาดูวันนี้ และพบว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่สำเร็จ ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร คำตอบจึงออกมาว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ไม่สำเร็จไม่ได้ "ประธานคกก.อิสระฯกล่าว
นพ.จรัส กล่าวต่อว่า คณะกรรมการอิสระฯ มองว่า มีเป็นไปได้ที่จะปฏิรูปการศึกษาสำเร็จได้ คือ ใน 10 ปี ข้างหน้า คุณภาพการศึกษาต้องดีได้ระดับสากล ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเข้าถึงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องแข่งขันในโลกให้ได้ และระบบการศึกษาต้องมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ให้ได้ ซึ่งต้องเกิดขึ้นจริง โดยการดำเนินการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ นั้น ได้มีการกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งคณะกรรมการอิสระฯ เห็นว่าว่า สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนวิธีคิดของคน เมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาจะสามารถ รีเซ็ทความคิดเรื่องการศึกษาของชาติ ทำให้การศึกษามุ่งไปสู่ความสำเร็จให้ได้ ทั้งยังมีแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา โดยทั้งหมดนี้น่าจะเป็นคำตอบว่าการปฏิรูปการศึกษาน่าจะเดินไปได้ และสิ่งที่เข้ามาช่วย มีหลายด้าน อย่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่จะช่วยให้เด็กที่เข้าไม่ถึงหรือหลุดจากระบบการศึกษา ได้รับการศึกษา และยังมีร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... ดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในท้อง และการสอบสอบเข้าป.1 ถือเป็นปัญหาสำคัญ แต่ยังคงมีหลายฝ่ายที่ยังมองไม่เห็นปัญหาในเรื่องนี้ เพราะต้องที่การที่จะได้เด็กเก่งเข้ามาสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน แต่ตนมองว่า เด็กที่เก่งและเด็กที่ไม่เก่งควรที่จะอยู่ด้วยกัน ต้องเรียนรู้การอยู่ด้วยกัน เรียนรู้ที่จะอภัย ช่วยเหลือกัน สังคมไทยจึงจะเจริญและเป็นสังคมที่สันติสุขได้
นพ.จรัส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในเรื่องของการผลิต พัฒนา การทำงาน คุณภาพชีวิต และวิชาชีพของครูก็ถือว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การศึกษาของไทยไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเรื่องนี้มีการกำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แต่จุดที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือ การให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูป ไม่ใช่ระบบการศึกษาเป็นศูนย์กลางของการ
“ถ้าดูเรื่องของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ซึ่งมีการดำเนินการมาตั้ง 50 ปีที่แล้ว ซึ่งคุณกำพล ได้มองเห็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดให้การช่วยเหลือโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลและเด็กได้รับการศึกษาอย่างยากลำบาก ให้เป็นโรงเรียนไทยรัฐวิทยา นับเป็นตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจากความคิดอันก้าวไกล เวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีพัฒนาการต่างๆ มากมาย มีความดีเด่นทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ วํฒนธรรม การกีฬา และมีความร่วมกับประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งทำให้ผมนึกถึง นายกำพล ว่าเป็นผู้ที่สร้างสิ่งที่ทำประโยชน์มากมาย และกว้างขวาง”ประธาน คกก.อิสระฯ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |