กรณีเกิดเหตุคลื่นสึนามิ บริเวณชายฝั่งเมืองปันเดกลัง อินโดนีเซีย วันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา
วันที่ 26 ธ.ค.ผศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปีนี้ครบรอบ 14 ปี เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนเกิดเหตุคลื่นสึนามิ แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังประสบกับภัยธรรมชาติดังกล่าวอยู่ โดยในปี 2561 อินโดนีเซียมีประชาชนเป็นจำนวนมากเสียชีวิตจากภัยพิบัติสึนามิ เฉพาะในปีนี้ปีเดียวถึง 2 ครั้ง หนึ่งในคำถาม คือ ระบบเตือนภัยไม่ทำงานและไม่ได้ส่งสัญญาณแจ้งเตือน เนื่องจากเป็นสึนามิที่เกิดจากดินถล่ม ไม่สามารถแจ้งเตือนได้เหมือนระบบเตือนภัยที่ได้ออกแบบมาเมื่อเทียบกันกับสึนามิปี 2547 อย่างไรก็ตาม การมีทุ่นเตือนภัยหรือสัญญาณแจ้งเตือนอาจจะไม่เพียงพอกับปัญหาดังกล่าว เนื่องมาจากระยะทางจากแหล่งกำเนิดสึนามิถึงชายหาดที่ผู้คนเสียชีวิตทั้งที่เมืองปาลูและเมืองปันเดกลังนั้นมีระยะทางอยู่ใกล้มาก โดยคลื่นสึนามิใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีก็เข้าถึงชายฝั่ง เห็นได้ว่าการเตรียมพร้อมสำหรับคนในพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องทำไปพร้อมกัน
นักวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเทศไทยถึงแม้โอกาสในการเกิดสึนามิเหมือนอินโดนีเซียจะค่อนข้างต่ำ แต่มีปัญหาคล้ายกัน คือ ระบบเตือนภัยที่มีไม่ได้ออกแบบมาสำหรับกรณีสึนามิจากดินถล่มใต้น้ำ ประกอบกับทุ่นเตือนภัยอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์จากหลายประเด็น ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ประสบภัยสึนามิควรจะหามาตรการเตรียมพร้อม เช่น การหาอาคารสูงเพื่อเป็นพื้นที่หลบภัยบริเวณชายหาด ส่วนเส้นทางการอพยพจำเป็นต้องออกแบบสำหรับผู้คนทุกเพศและวัยเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่ภาครัฐต้องทำการตรวจสอบและพัฒนาระบบเตือนภัยในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |