อิสราเอลวันนี้ : 70 ปีหลัง ประกาศเอกราช


เพิ่มเพื่อน    

    การจะทำความเข้าใจกับอิสราเอลวันนี้ต้องย้อนไปดูประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่การประกาศอิสราเอลเป็นรัฐเอกราชของตนเมื่อปี 1948 หรือ 70 ปีก่อนนี้เอง
    ในหนังสือชื่อ “ยิว” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเขียนบันทึกไว้ว่า
    “...อังกฤษถอนออกจากปาเลสไตน์โดยสิ้นเชิงเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ในวันนั้น นายเบ็น กูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลได้ประกาศเอกราชของอิสราเอล โดยทางวิทยุกระจายเสียงว่าประเทศเอกราชของยิวได้เกิดขึ้นในปาเลสไตน์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ยิวได้สูญเสียเอกราชของตนไปเมื่อ 3,000 กว่าปีมาแล้ว วันนั้นเป็นวันที่ยิวทั่วอิสราเอลเลี้ยงดูกันฉลองเอกราช พอเลี้ยงกันอิ่มแล้วก็เริ่มตั้งค่ายคูเตรียมป้องกันตัว พอรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งคือวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1948 กองทัพอาหรับถึง 5 ทัพก็ยกเข้ามาในประเทศอิสราเอล ซึ่งมีอายุเพียงวันเดียว จากประเทศอาหรับ 5 ประเทศ คือ อียิปต์, จอร์แดน, อิรัก, ซีเรีย และเลบานอน ด้วยความมุ่งหมายที่จะทำลายประเทศอิสราเอลให้พินาศไป แต่ยิวทุกคนในอิสราเอลก็พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อป้องกันประเทศของตน และประเทศอิสราเอลก็รอดมาได้อย่างประหลาด ดูประวัติการรบครั้งนั้นแล้วก็ออกจะน่าเชื่อว่ายิวมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่จริง...”
    คุณชายคึกฤทธิ์เขียนต่อว่า
    “ถ้าดูจากด้านกำลังคนและอาวุธในขณะนั้นแล้ว ก็น่าเชื่อว่าคำแถลงการณ์ของอาหรับจะเป็นจริง (“สงครามจะสุดสิ้นลงภายในเวลา 1 สัปดาห์ พวกยิวจะต้องถูกไล่ลงทะเลไป”) พลเมืองอิสราเอลที่เป็นยิวในขณะนั้นมีจำนวนเพียง 758,700 คน เมื่อเป็นเอกราชมา 2 วันนั้น ยิวมีคนที่ใช้รบป้องกันเอกราชของตนได้เพียง 19,000 คนเท่านั้น และในจำนวนนี้ก็มีแต่คนที่ไม่เคยถือปืนเสียอีกมาก ส่วนอาวุธนั้น ยิวก็มีน้อยกว่าอาหรับ ซึ่งได้อาวุธมาจากอังกฤษ เพราะฉะนั้นในการปะทะทัพกันครั้งแรก แนวต้านทานของยิวก็ทำท่าว่าจะรับไม่อยู่ แล้วก็ต้องถอยแนวเข้ามาทุกด้าน ในวันที่ 20, 1948 เมืองเยรูซาเลมเก่าก็เสียแก่อาหรับ...”
    แต่ยิวไม่ยอมแพ้ง่ายๆ
    “ยิวและอังกฤษเคยประมาทความรู้สึกทางชาตินิยมของอาหรับมาเมื่อ ค.ศ.1918 ฉันใด อาหรับก็ประมาทความรักชาติของยิวใน ค.ศ.1948 ฉันนั้น เจตนาที่จะชนะสงครามให้ได้เกิดมีขึ้นในบรรดายิวทั่วไปในอิสราเอล ยิวทุกคนรู้ตัวว่ากำลังสร้างประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของตนเคยทำมาแล้วเมื่อสู้รบกับชนชาติต่างๆ ในปาเลสไตน์ รวมทั้งกองทัพของโรมันในสมัยโบราณ จิตใจของทหารยิวเปลี่ยนจากการสู้แบบจนตรอกไปเป็นความเชื่อมั่นในชัยชนะแนวรบทุกแนวกลับมั่นคงขึ้น ทหารยิวไม่ยอมถอยอีกแม้แต่นิ้วเดียว เพราะรู้ตัวว่าถอยไม่ได้อีกแล้ว จะต้องรุกออกไปอย่างเดียวเท่านั้น ดูๆ ไปก็เหมือนคนไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งต่อสู้ขับไล่ข้าศึกที่เดินทัพเข้ามารุกรานประเทศถึงเก้าทัพเก้าทางออกไปจากประเทศจนหมดสิ้น
     เพราะมีกำลังใจเป็นอาวุธสำคัญ อาหรับเผชิญกับอาวุธทางใจนี้เข้าก็กลับเป็นฝ่ายแพ้แลเกิดความสงสัย ไม่ทราบว่าตนแพ้เพราะอะไร เมื่อเริ่มสงครามนั้น อาหรับเชื่อว่าจะต้องรบเพียง 7 วันก็จะชนะ ครั้นรบไป 1 เดือนยังเอาชนะไม่ได้ อาหรับก็ทำท่าว่าจะหมดแรงลง ถึงตอนนั้นสหประชาชาติก็ส่งตัวแทนคือ เคานต์ โฟล์ก แบร์นาดอตต์ มาเจรจาให้หย่าศึก พอถึงวันที่ 11 มิถุนายน 1948 อาหรับก็ยอมรับเงื่อนไขหย่าศึกของสหประชาชาติและสงครามก็หยุดลงชั่วคราว...”
    แต่ในระหว่างที่หย่าศึกนั้น ทั้งยิวและอาหรับต่างก็เสริมกำลังของตนอย่างรีบเร่ง เพราะต่างฝ่ายต่างไม่มีความประสงค์ที่จะเลิกรบ ถือเอาการหย่าศึกของสหประชาชาติเป็นเวลาพักให้น้ำเท่านั้น ประเทศฝ่ายตะวันตกได้สั่งระงับการขายอาวุธทุกชนิดให้แก่ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ยิวก็คาดคะเนเรื่องนี้ไว้แล้ว จึงได้ตกลงทำสัญญาซื้ออาวุธไว้ล่วงหน้ากับเชโกสโลวะเกีย แล้วขนอาวุธที่สั่งซื้อไว้นั้นในเวลากลางคืนทุกคืน ได้มาทั้งปืนยาว ปืนกล รถถังและปืนใหญ่ นักบินยิวซึ่งเคยอยู่ในกองทัพอากาศของอังกฤษได้ไปซื้อเครื่องบินรบและเครื่องบินอื่นๆ จากทุกแห่งที่จะหาซื้อได้ และขับเครื่องบินเหล่านั้นมาสู่อิสราเอล ในการนี้ได้มีสนามบินสำหรับคอยเติมน้ำมันให้แก่เครื่องบินของยิวในอังกฤษ ฝรั่งเศส คาร์ซิกา และยูโกสลาเวีย โดยพวกพ้องซึ่งเคยเป็นสหายสงครามมาด้วยกัน เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ยิวก็นั่งคอยให้อาหรับผิดสัญญาหย่าศึกก่อนอย่างร้อนใจ...”
    รบกันอีกครั้งได้ 15 วัน อาหรับก็เรียกร้องให้หย่าศึกอีกรอบ สงครามอิสรภาพอิสราเอลสิ้นสุดลง โดยที่อิสราเอลมิใช่แต่จะเป็นประเทศเอกราชขึ้นมาเท่านั้น แต่ได้เปลี่ยนความหมายในใจของยิวโดยสิ้นเชิง
    “...คือเปลี่ยนจากที่ดินทำกิน ซึ่งซื้อหามาได้แล้วมีการโอนโฉนดมาเป็นประเทศชาติ ซึ่งได้รักษาเอาไว้ด้วยเลือดของชนชาติยิว ความหมายทั้งสองนี้แตกต่างห่างไกลกันนัก...” คุณชายคึกฤทธิ์เขียนไว้อย่างน่าสนใจ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"