24 ธ.ค. 2561 - นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เห็นชอบการจัดตั้งและบริหารจัดการโครงการธนาคารที่ดินขึ้นใน ธ.ก.ส.โดยทบทวนกรอบวัตถุประสงค์มิให้ซ้ำซ้อนกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กรในปัจจุบัน และขอรับการจัดสรรทุนดำเนินงานจากงบประมาณแผ่นดิน เบื้องต้นจะเสนอขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณากรอบงบประมาณเฟสแรกเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนวงเงิน 1,000 ล้านบาท รวมระยะเวลา 5 ปี มีวงเงิน 5,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท
สำหรับการดำเนินในช่วงแรกจะให้พนักงานของ ธ.ก.ส. เพื่อลดต้นทุนดำเนินงาน และมีสินเชื่อเพื่อไถ่ถอนที่ดินหรือจัดหาที่ดิน ซึ่งจะใช้เงินจากงบประมาณ รวมทั้งยังมีสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ ซึ่งจะใช้เงินของธ.ก.ส. เพื่อช่วยให้ผู้กู้มีรายได้พอมาไถ่ถอนที่ดิน
รายงานข่าวจาก ธ.ก.ส. ระบุว่า ในการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยโครงการธนาคารที่ดิน และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ เพื่อกำหนดกลยุทธ์และวิธีดำเนินงาน พร้อมทั้งแยกการบริหารจัดการด้านการเงิน ด้านสินเชื่อ และด้านการบันทึกบัญชีออกจาก ธ.ก.ส.เป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้ จะดำเนินการเมื่อ ครม. มีมติให้ความเห็นชอบ และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล โดยการเสนอของบประมาณในการจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังจะสูญเสียที่ดินทำกิน หรืออยู่ระหว่างการถูกฟ้องร้องที่จะยึดทรัพย์ โดยจะให้เงินกู้เกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด นำเงินไปไถ่ถอนที่ดินที่ติดจำนองกับนายทุน โดยจะปล่อยเงินกู้สูงไม่เกิน 2.5 ล้านบาท/ราย ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน แต่มีเงื่อนไขว่าเกษตรที่จะขอสินเชื่อดังกล่าวจะต้องเข้าโครงการอบรมฟื้นฟูอาชีพควบคู่กันไปด้วย
สำหรับสาเหตุที่ต้องให้ ธ.ก.ส.ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ดินไปก่อน เพราะการเสนอร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน ที่ดำเนินการโดยสถาบันบริการจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ล่าช้า เนื่องจากมีหลายกลุ่มต่อต้านไม่อยากให้กฎหมายนี้มีผลบังคับ
นอกจากนี้ การทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ดินของ บจธ.ก็ทำได้น้อยเนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีความพร้อมเรื่องแหล่งเงินที่จะมาใช้ ทำให้รัฐบาลตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ ธ.ก.ส.นำร่องเป็นธนาคารที่ดินไปก่อน เพราะมีศักยภาพที่จะดำเนินการได้ทันที
สำหรับ พ.ร.บ.ธนาคารดินที่จะจดตั้งขึ้น มีวัตถุประสงค์ดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ดำเนินการเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนและมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในการถือครองที่ดินดำเนินการเพื่อเป็นแหล่งทุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของเกษตรกร และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนให้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงและยั่งยืน
ทั้งนี้ สถิติเรื่องปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรมีทั้งหมด 149 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ 28% เป็นที่ดินทำกินของตัวเอง อีก 20% เป็นที่ดินติดจำนอง และขายฝาก ที่เหลืออีกราว 52% เป็นที่ดินเช่าทำกิน
นอกจากนี้ ยังพบว่าที่ดินเกษตรกร 2.2 ล้านครัวเรือน ที่มีปัญหาไม่มีที่ดินทำกินคิดเป็น 40% มีที่ดินแต่ไม่พอทำกินอีก 28% รุกล้ำที่ดิน 36.6% ซึ่งการเร่งแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินของตัวเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐบาลด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |