แต่งตั้ง21อ.ก.ต. 'กลั่นกรองวินัย' ย้ายผู้พิพากษา


เพิ่มเพื่อน    


    ก.ต.มติเอกฉันท์ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง “ชำนาญ” ฟ้องแพ่ง 12 ก.ต. เรียก 50 ล้าน พร้อมแต่งตั้ง 21 อ.ก.ต.ชุดใหม่เพื่อกลั่นกรองวินัยแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษา
    เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ที่ห้องประชุมศาลยุติธรรม ชั้น 5 ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ทั้ง 15 คน ครั้งที่ 21/2561 นอกจากจะมีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบสับเปลี่ยน -โยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการระดับผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เเละระดับหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นเป็นจำนวนมากหลายร้อยตำแหน่ง ในวาระ 1 เม.ย.2562 และเห็นชอบแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการ (อ.ก.ต.) ประจําแต่ละชั้นศาล ชั้นศาลละ 7 คน รวม 21 คน แทน อ.ก.ต.ชุดเดิมที่จะหมดวาระลงในวันที่ 24 ธ.ค.แล้วนั้น
    มีรายงานว่า ในที่ประชุม ก.ต.วันนี้ยังได้มีการหยิบยกเรื่องที่นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา อดีต ก.ต. ที่ถูกลงมติถอดถอน ได้ยื่นฟ้องนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ รองประธานศาลฎีกา กับพวก ได้แก่ นายธงชัย เสนามนตรี, นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี, นางวาสนา หงส์เจริญ, นายรังสรรค์ กุลาเลิศ, นายศิริชัย ศิริกุล, นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล, นายธนรัตน์ ทั่งทอง, นายสุวิชา สุขเกษมหทัย, นายกำพล รุ่งรัตน์, นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ, นายปรีชา ชวลิตธำรง ซึ่งทั้งหมด 12 คน เป็นผู้พิพากษาในชั้นศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น ก.ต. เป็นจำเลยในความผิดละเมิด, หมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท จากกรณีการอภิปรายในที่ประชุม ก.ต. เมื่อช่วงเดือน ก.ค.2561 ที่มีการพิจารณาเรื่องเสนอนายชำนาญขึ้นดำรงตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา ซึ่งศาลแพ่งได้รับฟ้องคดีไว้แล้ว
    โดยในที่ประชุม ก.ต. มีการหยิบยกขึ้นมาก่อนว่าบุคคลที่เป็น ก.ต. ถูกฟ้องในคดีแพ่งดังกล่าวมีส่วนได้เสียที่จะดำเนินการทางวินัย และมีมติเกี่ยวกับนายชำนาญหรือไม่ ซึ่งที่ประชุม ก.ต.ได้มีการลงมติกันเอกฉันท์ว่า ก.ต.ที่ถูกฟ้องไม่มีส่วนได้เสีย บุคคลที่ถูกฟ้องก็ยังสามารถทำหน้าที่พิจารณาวินัยนายชำนาญต่อไปได้ ซึ่งในวันนี้ที่ประชุม ก.ต.ก็มีมติตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีนายชำนาญที่ได้ฟ้อง ก.ต. ซึ่งมีหน้าที่เป็นบอร์ดบริหารพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายและดำเนินการทางวินัยของศาลยุติธรรม ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 เรื่องการรักษาวินัย มาตรา 68 
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขั้นตอนเมื่อ ก.ต.มีมติให้มีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง ประธานศาลฎีกาในฐานะหัวหน้าส่วนราชการจะต้องเซ็นคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชุดที่ว่าจะต้องมีความอาวุโสไม่น้อยกว่าผู้ถูกสอบ ก็จะมีการสรุปข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่กำหนดตามระเบียบ ถ้ามีการสอบข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วพบว่าการกระทำดังกล่าวมีมูลความผิดทางวินัย คือการฟ้อง ก.ต.ดังกล่าวมีผลให้เกิดความเสียหายต่อ ก.ต.จริง ก็จะต้องมีการตั้งกรรมการสอบวินัย ซึ่งก็จะต้องดูว่าเป็นวินัยร้ายแรงหรือไม่ หากว่าเป็นวินัยร้ายแรง ก็จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงขึ้นมาอีกชุด ซึ่งอาจจะมีผลถึงให้พักราชการได้ 
    สำหรับ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 เรื่องการรักษาวินัย มาตรา 68 เมื่อข้าราชการตุลาการในศาลใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ให้ข้าราชการตุลาการผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานของศาลยุติธรรมนั้นดำเนินการให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้น โดยมิชักช้า ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.กำหนด วิธีการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้นจะทำโดยให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงเรื่องราวเป็นหนังสือ หรือโดยบันทึกเรื่องราวและความเห็น หรือโดยตั้งคณะบุคคลขึ้นสอบสวนข้อเท็จจริงก็ได้
    วันเดียวกัน ที่ห้องประชุมศาลยุติธรรม ชั้น 5 ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ทั้ง 15 คน ครั้งที่ 21/2561 มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบสับเปลี่ยน-โยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการระดับผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและระดับหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้นเป็นจำนวนมากหลายร้อยตำแหน่ง ในวาระ 1 เม.ย.2562 ยังมีวาระที่น่าสนใจคือ ก.ต.มีมติเห็นชอบแต่งตั้งอนุกรรมการตุลาการ (อ.ก.ต.) ประจําแต่ละชั้นศาล ชั้นศาลละ 7 คน รวม 21 คน แทน อ.ก.ต.ชุดเดิมที่จะหมดวาระลงในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ โดยมติ ก.ต. เห็นชอบแต่งตั้ง อ.ก.ต.ประจําชั้นศาล ดังนี้
    อ.ก.ต. ประจําชั้นศาลฎีกา 1.นายธีระพงศ์ จิระภาค รองประธานศาลฎีกา 2.นายพันธุ์เลิศ บุญเลี้ยง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 3.นายสมศักดิ์ คุณเลิศกิจ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 4.นายสุพจน์ กิตติรักษนนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 5.นายสมพงษ์ เหมวิมล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 6.นายสนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา 7.นางอโนชา ชีวิตโสภณ ผู้พิพากษาศาลฎีกา
    อ.ก.ต.ประจําชั้นศาลอุทธรณ์ 1.นายชวลิต อิศรเดช ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 2.นางจรรยา จีระเรืองรัตนา รองประธานเเผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ 3.นายเริงศักดิ์ วิริยะชัยวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษ 4.นายครรชิต วงศ์ไทย ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ 5.นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา 6.นายพงษ์ธร จันทร์อุดม รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 2 7.นายเดชา คําสิทธิ เลขานุการศาลฎีกา
    อ.ก.ต.ประจําชั้นศาลชั้นต้น 1.นายอมรพจน์ กุลวิจิตร รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 2.นายสญชัย กีรติกฤติยานนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดมีนบุรี 3.นายอิทธิพล โสขุมา เลขานุการศาลอุทธรณ์ภาค 1 4.นายกฤษณพล ณ ถลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา 5.นายจรัล เตชะวิจิตรา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง 6.นายสัญญา จีระออน ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 7.นายวิชัย ลีลาสวัสดิ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ อ.ก.ต. จะเป็นคณะกรรมการที่ได้รับเสนอแต่งตั้งจาก ก.ต. โดยทำหน้าที่กลั่นกรองเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย และการดำเนินการทางวินัยผู้พิพากษา อย่างกรณีที่มีการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงผู้พิพากษา ก็จะมีการสรุปความเห็นส่งไปให้ อ.ก.ต.กลั่นกรองข้อมูล พร้อมนำเสนอความเห็นไปยัง ก.ต. เพื่อพิจารณาลงมติ ดังนั้น อ.ก.ต.มีบทบาทและภารกิจสำคัญในศาลยุติธรรมมาก จึงจะเห็นได้จากกรณีที่ ก.ต.เคยไม่ผ่านบุคคลตามบัญชีรายชื่อขึ้นเป็นประธานศาลฎีกา อ.ก.ต.ก็มีส่วนสำคัญที่นำข้อเท็จจริงต่างๆ เสนอ ก.ต.ชี้ขาดข้อเท็จจริงที่ผ่านการกลั่นกรองมาจาก อ.ก.ต.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"