ในปัจจุบันเราอาจไม่ได้ตระหนักเลยว่า ดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว ทุกวันนี้อุปกรณ์รอบตัว ล้วนสามารถจัดเก็บข้อมูล และเชื่อมโยงสื่อสารกันเอง โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสะพานเชื่อม ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ทุกอย่างถูกจัดการด้วยปลายนิ้วสัมผัส
ขณะเดียวกัน เมื่อมองหา อะไรที่เป็น 'อนาล็อก' ก็เริ่มเห็นได้น้อยลงและหายากขึ้น และสิ่งของเหล่านั้น กลายเป็นของคร่ำครึ จะเหลือให้ใช้งานก็เฉพาะกลุ่มคนที่ชอบ และนักสะสมเท่านั้น
ซึ่งต้องยอมรับว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกไปดิจิทัล นั้นรวดเร็วมากใช้เวลาเพียง 20 ปี โลกรอบตัวมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่เชื่อลองให้เด็ก 10 ขวบตอนนี้ ไปลองใช้เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทแบบพกพาอย่าง Walkman ดู เชื่อว่าพวกเขาก็ไม่รู้ว่า มันคืออะไร และใช้งานอย่างไร ทั้งๆที่ย้อนกลับไปก่อนเขาเกิด10 ปี อุปกรณ์ตัวนี้ยังมีการใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่เลย
สาเหตุที่ทำให้ โลกมีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งระบบอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติก และอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจาก 1G สู่ยุค 5G ในเร็วๆนี้
เมื่อมีการพัฒนาอินเทอร์เน็ต การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ก็เกิดตามมาอีกมากมาย อย่างข้อมูลของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) ระบุว่าในปีที่ผ่านมา ทั่วโลก มีการลงทุนในโครงการดิจิทัลถึง 1.2ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งวงเงินดังกล่าวนั้นมีจำนวนสูงมาก และเป็นเหตุผลทำให้ยุคดิจิทัลมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรก็ดีแม้มีการพัฒนาที่รวดเร็ว แต่สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลักดันออกมาสู่ตลาดนั้น เกิดขึ้นมาจากความสำเร็จเพียง 1% ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งก็หมายความว่า เงินมหาศาลที่ทุ่มกันลงไปนั้น 99% แทบจะไม่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอะไรออกมาเลย ดังนั้นเรื่องการลงทุนทางดิจิทัล มันมีอะไรมากกว่า การทุ่มเม็ดเงินลงไป
โลกดิจิทัล เป็น โลกที่ถูกก๊อปปี้ง่าย แม้มันจะเป็นทางลัดที่จะช่วยลดเวลา ในการทำงาน แต่มันก็ไม่สามารถยืนยันได้เลยว่า การทำการลอกและดัดแปลง สิ่งที่คนอื่นประสบความสำเร็จแล้ว เราจะสำเร็จตามไปด้วย ซึ่งแนวทางของผู้ที่ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลก็คือ การมองที่วิสัยทัศน์ ในระยะยาว ไม่หวังผลกับเป้าหมายหรือการทำรายได้ในระยะสั้น แน่นอนว่าต้องค้นให้พบจุดที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน จะต้องเป็นคนแรกที่ออกมาคิดสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ ด้วยการที่เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริงว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการไม่ใช่แค่คิดในโลกแบบเดิม
ดังจะเห็นว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลนั้น เป็นคนที่มองเห็นอะไรที่ไกลกว่า กว้างกว่า และไอเดียนั้นสามารถช่วยให้การเปลี่ยนแปลงชีวิตทำได้จริง และช่วยในการลดการใช้ทรัพยากรได้จริง
ยกตัวอย่างธุรกิจเกิดขึ้นใหม่แบบคนขับ Uber ให้คนที่ไม่รู้จักมาร่วมโดยสารรถได้ เราเลือกจ่ายให้กับการฟังเพลงกับ Apple Music หรือ Spotify แทนที่จะซื้อแผ่นซีดีมาฟัง เรามีห้องพักแบบ AirBNB เพียงเจ้าของอพาร์ตเมนท์ให้คนเดินทางที่ไม่รู้จักกันมาพัก นี่คือการปฏิวัติบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอุตสาหกรรม
เห็นได้ชัดว่า เทคโนโลยีดิจิทัล ก่อให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) ซึ่งเป็นรูปแบบการหารายได้ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นในโลกยุคอนาล็อก แต่มันกลายเป็นเรื่องปกติในยุคปัจจุบัน
แน่นอนโลกในอนาคต มันไม่หยุดอยู่แค่นี้แน่ เมื่อในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วระดับ GBps กลายเป็นมาตรฐานการใช้งาน เราจะได้เห็นสิ่งใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย และอาจจะทำให้อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน กลายเป็นของโบราณ เลยก็ว่าได้
ดังนั้นทุกอุตสาหกรรม จำเป็นต้องกระตือรือร้น เพราะธุรกิจของตัวเองจะถูกดิสรัปฯได้ตลอดเวลา ทั้งจากอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือ ต่างอุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง ในส่วนของตลาดโทรคมนาคม การให้บริการ SMS ของผู้ให้บริการมือถือทุกรายมีรายได้ลดลงประมาณ 30% จากเดิม เพราะการส่งข้อความรูปแบบใหม่ได้ฟรีผ่านแอปพลิเคชันจากอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้มาตอบสนองความต้องการในการรับส่งข้อความรูปแบบใหม่ที่มากับลูกเล่นใหม่อีกมากต่างจาก SMS เดิมๆ โดยมีการคาดการณ์ในปี 2563 ว่าจะเหลือแค่ 10 รูปแบบสำหรับการใช้งาน SMS เท่านั้น
เช่นเดียวกับปัจจุบันกำลังเกิดขึ้นกับบริการโทรหรือ Voice calls เพราะพรุ่งนี้ eSIMs อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าให้ธุรกิจโทรคมนาคมที่ใช้โทรด้วยเสียงแบบเดิมหมดยุค ด้วยความเร็วในการปฏิวัติรูปแบบเดิมๆ กำลังก้าวเข้ามา ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะอยู่รอดต้องสร้างรูปแบบใหม่ให้กับธุรกิจในยุคที่ต้องเชื่อมโยงผู้ใช้ด้วยบริการที่ให้อะไรมากขึ้นมากกว่าแค่บริการพื้นฐาน
สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ต้องเรียกได้ว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคประสานเชื่อมโยงต่อกัน ไม่มีอุตสาหกรรมไหนจะมีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง เราจะเห็นแอร์เอเชียได้ขายประกัน หรือ ออดี้ใช้โรงงาน 5G ในการผลิตรถยนต์ หรือผู้ให้บริการสัญญาณมือถือ อาจจะไปรุกอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งขณะนี้เทเลนอร์หนึ่งในผู้ถือหุ้นของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ก็กำลังทำการทดสอบการผ่าตัดทางไกลผ่าน 5G หรือการใช้ 5G ในการบริการฉุกเฉินเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
เห็นได้ชัดว่า เส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรม กำลังถูกทำให้จางลงไปเรื่อยๆ ด้วย เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นทุกคนในแวดวง การค้า ธุรกิจ จะต้องมองให้ออกว่า การเปลี่ยนแปลงจะไปในทิศทางไหน และเราควรจะสร้างจุดแข็งใหม่ เพื่อต่อยอดกับจุดแข็งเดิมอย่างไร ซึ่ง BMW คือตัวอย่างที่ดีที่กล้าพลิกโฉมจากการขายรถยนต์เพียงอย่างเดียว แต่ก้าวสู่การเชื่อมโยงและประสานตอบโจทย์ที่คนใช้รถยนต์ต้องการ นั่นคือการให้บริการโซลูชั่นสำหรับที่จอดรถยนต์ (Smart Parking Solutions) ซึ่งสิ่งนี้ คือ การใช้ประโยชน์จากข้อมูล และเทคโนโลยีช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร เป็นต้น
หรืออย่างตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทยเอง การทำธุรกิจต้องการตอบสนองผู้ใช้บริการในภาพรวมใหม่ ยกตัวอย่าง ดีแทคได้เริ่มสู่การให้บริการกับเกษตรกรรม ด้วยการพัฒนา IoT และให้บริการเชิงพาณิชย์แอปพลิเคชันฟาร์มเมอร์อินโฟ (Farmer Info) ด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลปัจจัยการเพาะปลูกแบบครบวงจรรายแรกๆ ของประเทศไทย ภายในแอปพลิเคชันประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ช่วยให้เกษตรกรรู้สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวันในพื้นที่เพาะปลูกของตนเอง ทำให้มีศักยภาพในวิเคราะห์สภาพการเพาะปลูกในแปลงอย่างแม่นยำจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อจัดการวางแผนเพาะปลูกได้ตรงจุดหรือแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ซึ่งดีแทคได้ร่วมมือกับรีคัลท์ สตาร์ตอัพในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท และบริษัท รักบ้านเกิด พัฒนาขึ้นมา
ดังนั้น หากต้องการที่จะดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในระยะยาว องค์กรต้องสนับสนุนคนที่ฝันและคิดริเริ่ม และสามารถประสานกับทุกสิ่งให้เกิดขึ้นได้ โลกจะเปลี่ยนไป สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นอีกมากมายในอนาคตอันใกล้ องค์กรต้องกล้าให้คนเหล่านี้ได้ออกแบบโลกใหม่ ให้โอกาสที่ท้าทายและสนับสนุนแนวคิด แน่นอนองค์กรต้องหาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์กล้าทำในสิ่งใหม่และเข้าใจลูกค้า ไม่ใช่แค่โปรแกรมที่จะออกแบบให้เปลี่ยนสู่ดิจิทัล นี่คือสิ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |