จีน-มะกันกำลังเปิด สงครามเย็นรอบใหม่!


เพิ่มเพื่อน    

    การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และแคนาดาหลังการจับกุมตัวผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหวาเว่ยของจีน ทำให้เกิดคำถามว่านี่เป็น "สงครามเย็นยุคใหม่" อีกครั้งหรือไม่
    เพราะทำให้ประเทศต่างๆ เช่นไทยต้องถูกกดดันให้เลือกว่าจะอยู่ข้างไหน
    ทั้งจีนและสหรัฐฯ จะต้องคาดหวังว่าประเทศที่เป็นพันธมิตรของตนจะต้องแสดงจุดยืนว่ายืนอยู่ข้างใคร
    ไม่ต่างอะไรกับกรณีสงครามเย็นในอดีตที่แบ่งค่ายระหว่าง "โลกเสรี" ที่มีอเมริกาเป็นหัวหน้าแก๊ง และ "ค่ายคอมมิวนิสต์" ที่เคยมีจีนและสหภาพโซเวียตเป็นจ่าฝูง
    สงครามเย็นครั้งที่แล้วจบลงด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการพังครืนของ "กำแพงเบอร์ลิน" เมื่อปี 1989 
    หลังจากนั้นจีนก็ปรับตัวเข้าสู่ "เศรษฐกิจการตลาดที่มีอัตลักษณ์แบบจีน"
    ซึ่งหมายถึงการที่จีนละทิ้งความเคร่งครัดของระบอบสังคมนิยม หันมาใช้วิถีแห่งทุนนิยมหลายๆ  ด้าน เพื่อยกตัวเองให้พ้นสภาพความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจอันเกิดจากระบบคอมมิวนิสต์
    แต่เพราะผู้นำจีนยังต้องควบคุมสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ จึงยังดำรงไว้ซึ่งอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
    ด้านหนึ่งต้องการประโยชน์จากความคล่องตัวของทุนนิยม อีกด้านหนึ่งก็ยังต้องการกำกับพฤติกรรมของประชาชน จึงกลายเป็น "โมเดลจีนยุคใหม่" ที่วันนี้สะท้อนจากแนวทางการบริหารของสีจิ้นผิงอย่างชัดเจน
    พอดิบพอดีกับที่สหรัฐฯ ได้ผู้นำอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ที่บริหารประเทศแบบ "เซลส์แมน" ที่ยึดหลัก  America First อันหมายถึงการที่อเมริกาต้องได้ประโยชน์ก่อนคนอื่น ทำให้ความเป็นผู้นำระดับโลกของอเมริกาลดน้อยถอยลง
    คำว่า "ประชาธิปไตย" แบบอเมริกาที่เคยเป็น "โมเดล" ที่ยกมาเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ  เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็น ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐจึงถูกบั่นทอนลงไปอย่างมาก ทำให้จีนผงาดขึ้นมา มีภาพของความเป็นผู้นำโลกที่อาจทดแทนบทบาทของวอชิงตันได้
    วันนี้ "คู่ชกระดับโลก" กลายเป็นระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่รัสเซียภายใต้การนำของวลาดิเมียร์  ปูตินหนุนหลังจีน และพร้อมจะเข้าร่วมเกม "สงครามเย็นยุคใหม่" เพื่อเสริมบทบาทของตัวเองในเวทีระหว่างประเทศ
    การประชันขันแข่งระหว่างสองยักษ์ใหญ่ไม่ใช่เพียงแค่การค้าและการลงทุนเท่านั้น หากแต่ยังขยายวงไปในแวดวงเทคโนโลยีซึ่งกลายเป็นหัวข้อสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องปากท้อง
    สงครามเย็นรอบใหม่จะมีมิติเรื่องการแข่งขันด้านไซเบอร์เป็นหลัก เช่นกรณีจีนประกาศจะพัฒนา  Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ของตนให้ล้ำหน้ากว่าอเมริกาภายใน 5 ปีข้างหน้า
    ในหลายๆ ด้าน เช่นการสร้าง "สังคมไร้เงินสด" นั้น จีนก้าวนำอเมริกาไปแล้วในทางปฏิบัติด้วยซ้ำไป และหากอเมริกาภายใต้ทรัมป์ยกเลิกแนวทางโลกาภิวัตน์ สลัดทิ้งนโยบายการค้าเสรี จีนจะเข้ามาสวมบทบาทของการเป็นผู้นำด้านการค้าอย่างแน่นอน
    หากจีนกลายเป็นหัวหอกของการค้าเสรี ประเทศต่างๆ ในโลกจำนวนไม่น้อยก็จะต้องตัดสินใจว่าจะสังกัดค่ายไหนหากเกิดความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนี้ที่รุนแรงและเข้มข้นขึ้น
    ไม่ต้องสงสัยว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ต้องการเห็นการค้าเสรีเป็นปัจจัยเสริมเศรษฐกิจตัวเองจะต้องโอนเอียงมาทางด้านจีน เพราะทรัมป์ใช้วิธีการต่อรองและกดดันประเทศคู่ค้ามากกว่าที่จะสร้างความร่วมมือแบบพหุภาคีอย่างที่เคยเป็นจุดแข็งของสหรัฐฯ มาก่อน
    กรณีหวาเว่ยจึงเป็นการตอกย้ำอีกครั้ง ว่าความขัดแย้งระหว่างสองยักษ์นี้จะขยายวงจากเดิมที่เป็นประเด็นการค้าและการลงทุนอย่างเดียว มาเป็นการเมืองระหว่างประเทศ (อิหร่าน) และหนักกว่านั้นคือการแข่งขันด้านเทคโนโลยี
    อเมริกากล่าวหาว่ารัฐบาลจีนใช้เทคโนโลยี 5G ของหวาเว่ยในการเจาะล้วงข่าวกรองของสหรัฐฯ  อันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของตน
    จีนและหวาเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาตลอด
    แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอเมริกาและโลกตะวันตกเริ่มจะหวาดหวั่นต่อความสามารถของจีน ในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีถึงจุดที่หลาย ๆ ประเทศต้องซื้อบริการของเครือข่าย 5G ของจีนไปใช้ จนถึงจุดที่ต้องมีการลุกขึ้นมาต่อต้านและสกัดกั้นกันอย่างรุนแรงอย่างที่เห็นกัน
    เป็นจังหวะสำคัญที่รัฐบาลและเอกชนไทยจะต้องจับตาประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสองยักษ์นี้ เพื่อวางทิศทางของนโยบายระหว่างประเทศของเราอย่างชาญฉลาด รู้เท่าทัน และช่วงชิงโอกาสในภาวะความสับสนให้ได้!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"