ผลสำเร็จ"แตกตัว"ทำตาม"ศาสตร์พระราชา  "


เพิ่มเพื่อน    


   กิจกรรมที่สระบุรี การปลูกต้นไม้ บนหัวคันนาทองคำ  ด้วยมือเล็กๆ ที่มีส่วนร่วมและเรียนรู้ศาสตร์พระราชา                 

    โครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน  หรือโครงการตามรอยพ่อของแผ่นดิน ปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของระยะที่ 2 ในแผนหลัก 9ปี  ได้ปิดฉากลง พร้อมกับการประกาศว่าจะสานต่อโครงการในปีที่ 7 ในปี 2562 


    ในโอกาสนี้ ทางบริษัทเชพรอน ประเทศไทยสำรวจและการผลิต จำกัด ผู้สนับสนุนหลัก พร้อมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้มีการสรุปผลการดำเนินงานในรอบปี2561 ซึ่งดำเนินงานภายใต้แนวคิด"แตกตัว" ซึ่งมีเป้าหมายขยาย"คนต้นแบบ" ให้ทวีคูณในวงกว้างยิ่งขึ้น ภายใต้แคมเปญหลัก "แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี " ที่เน้นการขยายผลแนวคิดและวิธีปฎิบัติการทำมาหากิน การดำรงชีวิตตามศาสตร์พระราชา ไปสู่ฃุมชนและคนทุกระดับ พร้อมกับรื้อฟื้นประเพณีการ"ลงแขก"ในการทำการเกษตร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตการยู่ร่วมกันของคนไทยในอดีต ให้กลับมามีบทบาทในสังคมขึ้นอีกครั้ง  

อาทิตย์ กริธพิพรรธ ผู้บริหารเชฟรอน


    ผลสำเร็จในปีที่ 6 อาทิตย์ กริธพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนฯ กล่าวว่า   เป็นที่น่าภาคภูมิใจ  ที่โครงการดำเนินมาถึงปีที่ 6 และมีผู้ตอบรับแนวคิดนี้จำนวนมาก แม้จุดเริ่มต้นจะมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถพบิตร ในหลวงร.9 ทรงห่วงแม่น้ำป่าสัก  เป็นการโฟกัสจุดเดียว แต่ปัจจุบันแนวคิดนี้ได้แตกตัวไปทั่ว เกิดการเปลี่ยนแปลง  และในปี 2561 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4พื้นที่ คือ กรุงเทพ ราชบุรี  จันทบุรี และน่าน มีการสร้างศูนย์การเรียนรู้ได้หลายแห่ง  ทำให้ผู้ที่อาจจะแค่เคยได้ยินโครงการได้มีโอกาสสัมผัสของจริง ได้มีส่วนร่วมในการทำเกษตรตามแบบวิถีธรรมชาติพอเพียง ได้เห็นการพลิกเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่ดำเนินโครงการ ที่สำคัญมีคนที่เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 2,500 คน ในจำนวนนี้มีพนักงานของบริษัท เชฟรอนฯที่เข้าร่วมโครงการเป็นจิตอาสา มาช่วยลงแขก และทำกิจกรรมด้านอื่นๆด้วยประมาณ 300 คน 


    "ถ้าถามว่าทำไม บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันอย่างเชฟรอน มาสนใจทำโครงการนี้  ทั้งที่เรามีไซต์งานที่อ่าวไทย หรือแหล่งอื่นๆที่คาดว่าจะมีก๊าซและน้ำมัน ก็เพราะว่า เราศรัทธาในศาสตร์พระราชา ที่ในหลวง ร.9 ทรงทำไว้ และแนวทางที่พระองค์ทรงทำไว้ น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง สำหรับประเทศไทย  ที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก  ซึ่งหากเรายังทำเกษตรแบบเดิม ไม่ได้มีแต่เพียงภาคเกษตรรอบนอกที่ได้รับผลกระทบ แม้แต่คนในเมืองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะต้องกินอาหารจากเกษตรเคมี ที่ส่งจากแหล่งปลูกต่างๆ  จึงหวังให้โครงการนี้ สามารถแก้ไขปัญหาเกษตรเคมีได้  นอกจากนี้ ตัวโครงการยังสอดคล้องกับนโยบายเพื่อสังคมของบริษัท ที่เน้นการพัฒนาการศึกษา สิ่งแวดล้อม พัฒนาคน  พัฒนาสังคม"อาทิตย์กล่าว


    ในแง่ความคาดหวังต่อไป ผู้บริหารเฃฟรอน   กล่าวว่า แม้การดำเนินโครงการในปีที่ 6 จะได้รับผลตอบรับที่ดีมาก แต่ในความเห็นส่วนตัวลึกๆ แล้วเห็นว่า ยังไม่พอ และอยากให้ศาสตร์พระราชา และแนวคิดทำเกษตรแบบโคก หนอง นา พออยู่พอกิน เป็นกระแสหลักของสังคมไทย และเป็นตัวอย่างที่สังคมโลกต้องทำตาม เพราะจะมีก็แต่วิธีการนี้เท่านั้น ที่จะเป็นทางรอดของประเทศไทยและทางรอดของโลก


    "โครงการตามรอยศาสตร์พระราชา จะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ที่มาช่วยสืบสานพระราชปณิธาน และในปีหน้า ซึ่งเป็นปีที่ 7 และเข้าสู่ระยะที่ 3 ทางโครงการจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเป็นลำดับ "ผู้บริหารเชฟรอนกล่าว

อ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร


    ด้าน ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรืออาจารย์ยักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า  ด้วยความเชื่อและศรัทธา ในแนวคิดศาสตร์พระราชา ของในหลวง ร.9  และทำตามที่พระองค์ท่านบอก และทรงทำให้ดู 4,741โครงการ มีกรณีศึกษามากมาย บางคนเชื่อเชื่อครึงไม่เชื่อครึ่ง แต่ 6ปี เราได้พิสูจน์ชัดเจนว่า แนวคิดการบริหารจัดการน้ำของพระองค์ เป็นศาสตร์ได้ 40ทฤษฎี  ลง ที่พระองค์ทำให้จากจุดเริ่มต้นที่พะองค์มีความเป็นห่วงลุ่มน้ำป่าสักมากที่สุด เพราะมีความชัน และมีความยาวจากจ.เลยมาถึงอยุุธยา 7 จังหวัด กินพื้นที่เป็น 10 ล้านไร่ แต่ภูเขาไม่มีป่าเป็นเขาหัวโล้น  ซึ่งจัดการยากที่สุด เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง พระองค์ทรงบอกว่าถ้าหายพระประชวรจะออกมาช่วย แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ตนจึงได้ชวน 7ภาคส่วนมาช่วยกันพิสูจน์ ทฤษฎีของพระองค์ และขณะนี้ผ่านมา 6ปีแล้ว เกิดตัวอย่างความสำเร็จเต็มไปหมด จนยกระดับไปสู่ศูนย์ฝึกถ่ายทอดไปทั่วโลก และวันนี้องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ได้จัดตั้งสมัชชาวันดินโลก มีสมาชิก220ประเทศ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ประเทศไทยจัดงานวันดินโลก เมื่อวันที่ 5ธันวาคมที่ผ่านมา   ซึ่งปีนี้นับว่าเป็นปีที่ 5 ของการจัดงานวันดินโลกอย่างเป็นทางการแต่ถ้าไม่นับที่ไม่เป็นทางการก็ถือว่าเป็นปีที่ 7แล้วของการจัดงานวันดินโลก 

ร่วมกันบำรุงดิน เนื่องในวันดินโลก


    และเนื่องในงานวันดินโลก  FAO ยังจัดการประกวดหัวข้อ  Be the Solution to Soil Pollution มีการขอใช้พระนามของในหลวงร.9 เป็นรางวัลแก่ประเทศสมาชิก คือ รางวัลBhumibol  World soil  Day award   ซึ่งมีประเทศบังคลาเทศได้รางวัลในปีนี้  เกณฑ์การคัดเลือกก็คือ สามารถบริหารจัดการดินและน้ำได้อย่างดี ตลอดจนมีการเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของคน  นอกจากนี้ FAO ยังสนับสนุนให้มีการตั้งศูนย์วิจัยดินอัจฉริยภาพ ทำหน้าที่วิจัยดินทุกรูปแบบ  


    "ที่มีงานนี้ขึ้นเพราะ สมัชชาประเทศต่างๆ เขารู้สึกว่าคำสอนของพระเจ้าแผ่นดินไทย เป็นคำสอนที่ให้มนุษย์อยู่รอด  ไม่ทิ้งใครให้อดอยาก และแนวคิดที่ว่า เราต้องเริ่มจากดิน เริ่มจากน้ำ ต้องดูแลลุ่มน้ำ  และต้องพัฒนาคนด้วย และใน 40 ทฤษฎีที่กล่าว หมายรวมถึงการพัฒนาคนด้วยเป็นความจริง นอกจากนี้ พระองค์สอนให้ทำงานสุดกำลัง ตั้งมั่นใจสุจริตและชีวิตพอเพียง แต่โลกมันกำลังเดินสู่วิกฤตรุนแรงและรวดเร็วเหลือเกินในเวลานี้  ยิ่งทำให้เราต้องตั้งมั่นในการทำงานอย่างสุดกำลังมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องตั้งมั่นในสุจริต ใช้ชีวิตพอเพียงไปด้วย "อาจารย์ยักษ์กล่าว 

อ.ยักษ์ อธิบายความสำคัญของวันดินโลก


    ส่วนการดำเนินงานระยะที่ 3 ที่เริ่มในปีที่ 7 อาจารย์ยักษ์ กล่าวว่า  เป็นการขยายผลเชื่อมทั้งระบบ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ไปสู่นโยบายระดับชาติ ที่จะมี 5ภาคีเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน การยกระดับไปถึงจุดที่มีการแข่งขันกัน การพัฒนาคนขยายวงกว้างขึ้นไปอีก  ตลอดจนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง โยง 25ลุ่มน้ำทั่วประเทศ 


    การดำเนินงานฐานแตกตัวทั่วไทย ฯ ในรอบปี61 ที่ผ่านมา มีการขับเคลื่อนจัดกิจกรรมทั้งในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ  จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีภูมิสังคมที่แตกต่างกัน เป้าหมายการขับเคลื่อนก็คือ การสร้างคนต้นแบบ ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้ามาเรียนรู้ และส่งต่อแรงบันดาลใจได้ต่อไป 


    กิจกรรมแรกในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้จัดกิจกรรมที่ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9  เมื่อเดือนเม.ย.มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 300คน นำโดยนายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ ซึ่งเปิดพื้นที่ให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ จากพื้นที่ต่างๆเข้ามาวางขายในฐานธรรมธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา กลางเมืองหลวง และวางแผนที่จะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน จ.ยโสธร ในอนาคต

สินค้าเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ที่นำมาขายที่ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 


     กิจกรรมที่ 2 มีขึ้นที่บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าเมืองจันทท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ของนางแววศิริ ฤทธิโยธี เมื่อเดือนมิ.ย. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 500คน มุ่งให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ปลอดภัย ซึ่งแม้แต่ฟาร์มขนาดใหญ่ 200 ไร่ ก็สามารถทำได้  ซึ่งผลผลิตจากฟาร์มทั้งเงาะ ทุเรียน ลองกอง ล้วนเป็นผลไม้ปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ เป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่าเกษตรอินทรีย์สามารถทำได้ แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ และผลผลิตของสวนยังได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ( Participatory  Guarantee System)   หรือการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ด้วยกันเอง ที่เข้ามาเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ โดยอิงระบบมาตรฐานรับรองIFOAM: International Federation of Organic Agriculture  Movement  ที่มีความซับซ้อนและรายละเอียดขั้นสูงของการรับรอง

การทำสวนเกษตรอินทรีย์ เงาะ ทุเรียน ลองกองที่จันทบุรีในพื้นที่ขนาดใหญ่ 200 ไร่ ของแววศิริ ฤทธิโยธี


    กิจกรรมครั้งที่ 3  จัดขึ้นบนพื้นที่ 47ไร่ ที่บ้านโคกเสมอ อ.หนองแซง จ.สระบุรี เมื่อเดือนส.ค.61 มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนกสิกรรมวิถีในพื้นที่ของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพ ที่มีแนวคิดต้องการพัฒนาพื้นที่เกษตรของตนเองตามศาสตร์พระราชา โดยมี บอย-พิษณุ นิ่มสกุล นักแสดง เป็นหนึ่งในเจ้าของพื้นที่ด้วย พร้อมด้วยนายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  ก่อนจัดกิจกรรมมีฝนตกหนัก 2วัน ทำให้พื้นที่โดยรอบ โครงการน้ำท่วมทั้งหมด เหลือแต่พื้นที่ ที่ทำโครงการเท่านั้น ที่น้ำไม่ท่วม ในงานมีผู้ร่วมกิจกรรม ประมาณ 1,000 คน

 พื้นที่ทำโครงการที่โคกเสมอ สระบุรี น้ำไม่ท่วม เพราะยึดแนวทำผังที่ดินตามหลัก โคก หนอง นา ขณะที่พื้นที่นารอบๆมีน้ำท่วม

ขังทั้งหมด เพราะมีฝนตกติดต่อกัน 2วัน
    กิจกรรมครั้งที่ 4  มีขึ้นเมื่อเดือนต.ค.61 พื้นที่อุทยานศรีน่าน จ.น่าน บนพื้นที่ของ นางสาววริศรา จันธี ผู้ใช้ประโยชน์บนพื้นที่อุทยาน  โดยมีนาบบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เป็นแกนนำ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่าย 329คน เพื่อสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง 


    "เดิมทีชาวบ้านที่นี่ กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯไม่ถูกกัน ผมจึงใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามแนวทางของในหลวง ร. 9   ลงพื้นที่อย่างเป็นมิตร ทำความเข้าใจกับชาวบ้่าน ชวนชาวบ้านปลูกข้าวกินแทนการกู้เงินมาซื้อข้าวกิน ตอนนี้มีชาวบ้านมาอบรมและทำตามแล้ว 9 คน ยังมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งที่สมัครใจลงชื่อเข้าอบรมและสนใจพร้อมลงมือทำตามอีกหลายร้อยคน เพราะถ้าทุกคนทำตามศาสตร์พระราชาแล้ว ก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องมาบุกรุกป่า ส่วนอุทยานฯก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น "หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่านกล่าว

กิจกรรมลงแขกที่น่าน เปลี่ยนเปลือกข้าวโพดให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"