14 ธ.ค. 61 - นายพิภพ ธงไชย อดีตประธานและเลขาธิการคระกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)และประธานที่ปรึกษาญาติวีรชนพฤษภา.35' โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Pibhop dhongchai เรื่อง วาทกรรม "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน" ระบุว่า เป็นคำขวัญแรกของ ครป.-คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย สมัยผม สุวิทย์ วัดหนู สุริยะใส กตะศิลาและคณะกรรมการ ครป.ก่อนยุคเหลือง-แดง กำหนดขึ้นและกลายเป็นคำขวัญของขบวนการ Ngo's เพราะเราเป็นตัวแทนภาคประชาชน ที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐ อำนาจราชการ อำนาจทุน ที่นับวันจะเพิ่มอำนาจตัวเอง มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใด ที่ร่วมกันเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ ในทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยแก้ปัญหานี้ได้
เมื่อคำขวัญนี้ "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน" เป็นยุทธศาสตร์ที่ทุกฝ่ายยอมรับ พรรคการเมืองก็นำไปเป็น"ธงนำ"ของตน
รธน.2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจรัฐ เข้าไปในหลายมิติ และหลายมาตรา จึงถูกขนานนามว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ที่ถูก"ชูธงเขียว" เป็นธงนำ สู้กับการ Vote เสียงในสภาฯในตอนนั้น แต่ รธน.40 ใช้มา 10 ปี พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาฯก็ไม่เคยออก กม.ประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อทำให้ถูกนำไปใช้ได้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนจึงยังคงต้องใช้ "อำนาจประชาชนบนท้องถนน" ต่อสู้เพื่อเสนอปัญหาของประชาชนและทางแก้ปัญหา มาโดยตลอดบนท้องถนน ทั้งในเมืองและในชนบท
ในขณะที่พรรคการเมืองในรัฐบาลกลับไม่ยอมรับอำนาจประชาชน "บนท้องถนน" นี้ บางพรรคการเมืองยังเคยดูถูกดูแคลนอำนาจประชาชนส่วนนี้ว่าเป็น "การเมืองข้างถนน" และคงดูถูกดูแคลนมาตลอด จนเกิดรัฐประหาร 49 และรัฐประหาร 57 เกิด รธน.50 และ รธน.60 ที่ค่อยๆพัฒนาอำนาจประชาขน แต่กลับทำให้อำนาจรัฐ อำนาจทุน แกร่งขึ้นตามไปด้วย
"การกระจายอำนาจ"จึงยังไม่เป็นจริงเป็นจังจนถึงวันนี้ วันนี้นักการเมืองยังกล่าวหาว่า มวลชนเรือนล้านนั้นเป็น "ของปลอม" นักวิชาการที่หนุนทักษิณก็เคยกล่าวหาว่ามวลชนบนท้องถนน ไม่ใช่ "การเมืองภาคประชาชน" ต้องเป็นมวลชนของคนจนเท่านั้น จึงจะเรียกว่า "การเมืองภาคประชาชน" จึงเป็นความคิดที่น่าขันยิ่ง ความคิดแบบนี้ จะพยายามทิ้งชนชั้นกลางและแยกคนจนออกจากคนเมือง
วันนี้ "วัฒนธรรมการเมืองบนท้องถนน" ได้หลอมรวมการเคลื่อนไหวของชนชั้นกลางกับคนจน หรือคนชนบทเข้าด้วยกันดังการเคลื่อนไหวของ พธม. หรือ กปปส. หรือ คปท. และ ขบวนการคนเสื้อแดง ในส่วนที่หลุดจากการนำของนักการเมืองพรรคไทยรักไทย เพราะปัญหาต่างๆได้เข้าใจตรงกันแล้วว่า "เป็นปัญหาร่วม" เช่น ปัญหาพลังงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการศึกษา ปัญหาสุขภาพ ปัญหาป่าไม้ ปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาความเหลื่อมล้ำฯลฯ
หรือปัญหาคนชนบทที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการอพยพเข้าเมืองของคนชนบท ที่กลายเป็น"สลัม" หรือการทำมาหากินบนทางเท้า ที่กลายเป็นสีสันของกรุงเทพมหานคร อันโด่งดังไปทั่วโลก หรือปัญหาการจารจร และปัญหาอื่นๆที่เชื่อมโยงกันระหว่างปัญหาคนชนบทกับปัญหาคนเมือง และรวมถึงปัญหาชาวนาชาวไร่ ก็กลายเป็นเรื่องที่ขาวเมือง ชนชั้นกลาง ต้องรับรู้และเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย
การที่ทั้งพรรคไทยรักไทย หรือพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ มาอ้างว่า คำขวัญ "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน" เป็นของพรรคตนคิดขึ้น จึงไม่จริงทั้ง 2 พรรค
ลองกลับไปอ่านโยบายของภาคประชาชนที่เคยนำเสนอเมื่อกว่า 2 ทศวรรษก่อน ที่การประชุม NIDA FORUM ของภาคประชาชนทั่วประเทศ ที่เรียก่า "วาระประชาชน" หรือข้อเสนอของสมัชชาคนจน สมัยที่ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล 90 วัน ล้วนเป็นข้อเสนอที่อยู่ภายใต้กรอบคำขวัญ "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน" ทั้งนั้น
เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อถามทั้ง 2 พรรคการเมือง ว่าคุณคิดเรื่องนี้จริงจังหรือ อย่าทำเพียงแย่งชิงวาทกรรม "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน" เท่านั้น ขอดูนโยบายพรรคและนักการเมืองที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ ขอดู กม.ที่จะเสนอในสภาฯและเนื้อหาการแก้ รธน.60 ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง
ไม่ใช่กลับไปเพิ่มอำนาจราชการที่ให้มารับใช้นักการเมือง มากกว่ารับใช้ประชาชน และการเพิ่มอำนาจกลุ่มทุน และตระกูลของกลุ่มทุน หลายสิบตระกูล จนกลายเป็นทุนผูกขาด นำไปสู่ "ธุรกิจผูกขาด" ไม่เป็น "เศรษฐกิจประชาธิปไตย"
แล้วจะแก้กันอย่างไร ลองชำแหละยุทธศาสตร์ 20 ปี ของ คสช.ให้ดูกันหน่อย กล้าๆกันหน่อย ครับ อย่าปากว่าตาขยิบ แบบที่ผ่านมา มันจะเป็นการเมืองอนาคตเก่า ไม่ใช่การเมืองอนาคตใหม่ นะครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |