น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างกรมฯ กับบริษัท International Merchandise Exchange & Exhibition Company Limited (IMX Co., Ltd.) ในเครือคิง ไว กรุ๊ป (King Wai Group) ผู้ให้บริการการค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดนครบวงจรจากจีน (Cross Border E-Commerce Platform) ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ของไทยในการขายสินค้าเจาะเข้าสู่ตลาดจีนผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะ IMX มีเว็บไซต์ kjt.com รองรับ มีบริการด้านขนส่ง การกระจายสินค้า บริหารจัดการคลังสินค้า การชำระเงิน รวมถึงการดูแลในเรื่องภาษี เพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีนสามารถสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ง่าย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่ต้องการจะขายสินค้าผ่าน kjt.com สามารถติดต่อผ่านคิง ไว กรุ๊ป ที่ไทยได้เลย โดยให้แจ้งรายละเอียดสินค้า กำลังการผลิต และหากได้รับการรับรองหรือได้รางวัลต่างๆ จากกรมฯ เช่น Thailand Trust Mark หรืออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ส่งออกของกรมฯ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ โดยจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 1 เดือนครึ่งก็เริ่มจำหน่ายสินค้าได้เลย
“เมื่อสินค้าได้รับการอนุมัติให้นำไปจำหน่ายใน kjt.com ทางคิง ไว กรุ๊ป จะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการทำเอกสาร เช่น การจัดการด้านพิธีการศุลกากร การคำนวณราคา และภาษี หรืออื่นๆ เช่น การรับสินค้า การจัดส่งสินค้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยได้รับความสะดวกสบาย และสามารถขายสินค้าเจาะตลาดจีนได้ง่ายขึ้น”
สำหรับสินค้าไทยที่ได้มีการนำไปจำหน่ายในเว็บไซต์แล้ว ได้แก่ กลุ่มอาหาร เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลไม้แห้งหรือแปรรูป สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สปา เช่น น้ำมันหอมระเหย และที่คนจีนสนใจ เช่น หมอนยางพารา เป็นต้น
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าว จะช่วยให้สินค้าไทยเจาะเข้าสู่ตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น เพราะคิง ไว กรุ๊ป นอกจากจะบริหารเว็บไซต์ค้าออนไลน์ เพื่อให้คนจีนสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้แล้ว ยังมีศูนย์แสดงสินค้าถาวรใน 4 เมืองใหญ่ ได้แก่ เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ เสินเจิ้น และเฉิงตู ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าไทยนำไปจัดแสดงแล้ว โดยจะผลักดันให้นำเข้าไปจัดแสดงเพิ่มมากขึ้น เพื่อแนะนำสินค้าไทย และสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น
นายเฮนรี ชาน รองประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท คิง ไว กรุ๊ป และประธานบริษัท IMX กล่าวว่า ในปี 2562 รัฐบาลจีนจะยกเว้นภาษีศุลกากรให้กับผู้บริโภคสำหรับการสั่งซื้อสินค้าที่ผ่านทาง CBEC Platform โดยการสั่งซื้อต่อครั้งไม่เกิน 5,000 หยวน และยอดสั่งซื้อรวมทั้งปีไม่เกิน 26,000 หยวนหรือประมาณ 123,000 บาท รวมทั้งไม่เรียกเก็บภาษี VAT และภาษีสรรพาสามิต 70% ของอัตราปกติ ทำให้ผู้ขายมีต้นทุนราคาขายต่ำกว่าช่องทางอื่น 20-50% และล่าสุดมีการเพิ่มรายการสินค้าที่อยู่ใน CBEC เป็น 1,300 รายการ และยังมีการลดกฎระเบียบขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออกและวางระบบฐานข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าภายใน 3-7 วัน แทนการค้าออนไลน์ปกติที่จะใช้เวลานานถึง 15 วัน
ปัจจุบันการค้าแบบ CBEC เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน China E-Commerce Association รายงานว่า ปี 2561 การค้า CBEC ในจีนคิดเป็นมูลค่า 9 ล้านล้านหยวน และในปี 2563 คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 12 ล้านล้านหยวน และข้อมูลเพิ่มเติมจาก China Import Consumer Market Research Report พบว่าในปี 2560 การสั่งซื้อสินค้าของชาวจีนผ่าน CBEC มีมูลค่า 56,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 120% และคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวแบบก้าวกระโดดแบบนี้ไปอีกหลายปี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |