หนี้ครัวเรือนพุ่ง แห่กู้ซื้อรถ-บ้าน อ้างเศรษฐกิจดี


เพิ่มเพื่อน    

    "สศช." แจงหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2/61ขยายตัว 5.7% ชี้ส่วนใหญ่กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ ระบุเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น การชำระหนี้ไม่น่ากังวล  แค่ต้องติดตามผลกระทบจากภายนอกอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
    เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนว่า ในไตรมาส 2/2561 มีมูลค่ารวม 12.34 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.7% ส่วนหนึ่งภาระหนี้ครัวเรือน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมถึงเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ รวมทั้งขณะนี้ความต้องการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เร่งตัวขึ้นตั้งแต่กลางปี 60 ภายหลังสิ้นสุดเงื่อนไขการถือครองรถยนต์ครบ 5 ปี ตามโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
    นางชุตินาฏกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้ครัวเรือนมากกว่า 50% กู้เพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรหรือที่อยู่อาศัย โดยข้อมูลของธนาคารพาณิชย์พบไตรมาส 3/61 สัดส่วนอยู่ที่ 73% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ให้ครัวเรือน เพื่อกู้ยืมซื้อที่ดินอยู่อาศัย นอกจากนี้ แม้ภาระหนี้เพิ่มขึ้น แต่ความสามารถชำระหนี้ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากไตรมาส 3 ปี 61 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น 7.8% แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงจาก 10.3% จากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม สศช.พบว่าหนี้ครัวเรือนยังมีประเด็นต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากตัวเลขภาระหนี้ขณะนี้ หากมีปัจจัยภายนอกมากระทบอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถชำระหนี้ได้
    “ปัญหาหนี้สินครัวเรือนยังเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมูลค่าหนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากมีปัจจัยภายนอกมากระทบอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนได้ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสัดส่วนหนี้เสียทรงตัวอยู่ในระดับสูง และสินเชื่อซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการบริโภคบุคคลอื่นๆ ที่ค่อยๆ เร่งตัวขึ้น ตามมาตรการส่งเสริมการขายที่จูงใจผู้บริโภคและอาจทำให้เกิดการก่อหนี้เพิ่ม” นายชุติมากล่าว
    รองเลขาฯ สศช.กล่าวว่า เมื่อพิจารณาหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี พบมีแนวโน้มลดลงอย่างช้าๆ จากสูงสุด 80.8% ในปี 58 มาอยู่ที่ 77.5% ในไตรมาส 2/61 ส่วนปัจจัยอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลกระทบการชำระหนี้ของลูกหนี้หรือไม่นั้น ต้องติดตามภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ซึ่งจะสามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการชำระหนี้หรือไม่
     “ยืนยันว่าการแถลงข่าวด่วนวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นคำสั่งจากรัฐบาลให้ชี้แจงเรื่องนี้ เพราะปกติเดือน ธ.ค.จะมีตัวเลขภาระหนี้ออกมาจากหลายสำนักจึงต้องสร้างความชัดเจน ซึ่งปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องตระหนักและสร้างวินัยการใช้จ่าย พร้อมต้องปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่เยาวชนไม่ให้มีค่านิยมใช้จ่ายเกินรายได้ หรือนำเงินอนาคตมาใช้โดยไม่จำเป็น” รองเลขาฯ สศช.กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"