คุมค่ารักษาพยาบาล


เพิ่มเพื่อน    

    ออกมาทีไรก็สร้างความสะเทือนทุกที สำหรับ อ.ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการ และนักวิพากษ์วิจารณ์ด้านการเมือง ล่าสุดก็ออกมาขยี้เรื่องความเหลื่อมล้ำได้เห็นภาพมาก 
    โดย อ.ธีรยุทธชี้ว่า "20 ปีหลังวิกฤติเศรษฐกิจภาพที่ปรากฏชัดเจนขึ้น คือ ไทยมีความต่างทางรายได้สูงเป็นลำดับนำของโลก คนรวยรวยล้นพ้น คนจนพอมีอยู่มีกินมีมากที่สุด ส่วนหนึ่งมีรายได้ดีขึ้นจากผลผลิตเกษตรบางประเภท จากการขยับเป็นผู้ประกอบการอิสระ แต่มีส่วนน้อยที่ก้าวไปเป็นชนชั้นกลางได้ ส่วนชนชั้นกลางที่คาดว่าจะขยายตัวมีรายได้สูงขึ้น จนนำพาประเทศพ้นจาก “กับดักรายได้ปานกลาง” ไปเป็นประเทศร่ำรวย ก็เป็นเพียงความฝันกลางวัน เพราะคนชั้นกลางไม่มีทั้งทุนเศรษฐกิจและทุนเครือข่ายสังคมเหมือนครอบครัวคนรวย ช่วงเวลาที่ว่ารายได้ชนชั้นกลางอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 60-70% แต่ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือที่พัก ค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นหลายเท่า จนอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันมีแต่ชนชั้นกลางบนคือคนทำงานด้านการเงิน ครีเอทีฟ หรืออาชีพหมอ วิศวกร ฯลฯ ส่วนชั้นกลาง-กลางยุบตัวลงไปเป็นชั้นกลางล่าง ทับซ้อนกับชนชั้นล่างที่ขยายตัวขึ้นบนสังคมไทยปัจจุบันมีโครงสร้างเพียงสองชนชั้นครึ่ง และต้องเปลี่ยนคำขวัญเป็น “รวยกระจุก จนกระจาย กลางกระจ้อน (แปลว่าไม่โต แคระแกร็น)” 
    เรื่องนี้คือเรื่องจริง โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน จากข้อมูลย้อนหลัง พบได้ชัดเจนว่า มีการปรับขึ้นเฉลี่ย 7-10% ขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนไทยมีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2-4% ต่อไป เท่ากับค่ารักษาแพงแซงรายได้ไปล่วงหน้า 2-3 ปีเลยทีเดียว
    แน่นอนค่ารักษาพยาบาลที่ปรับตัวแพงขึ้นอย่างก้าวกระโดด แบบนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะไทยเราเข้าใกล้สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องพึ่งพาการรักษาพยาบาลในช่วงที่แก่ตัวลง แต่จากการศึกษา ระบุว่าหากคนไทยจะมีชีวิตบั้นปลายที่ดี และได้รับการรักษาที่เหมาะสมนั้น จะต้องมีเงินเก็บหลังเกษียณสูงถึง 4-5 ล้านบาท ถามว่าจะมีซักกี่คนที่สามารถเก็บเงินสะสมได้ขนาดนี้
    ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับด้านสาธารณสุข อย่างกรณีมนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ก็กำลังต้องเจอปัญหาใหญ่ ที่โรงพยาบาลเอกชนเริ่มทยอยออกจากระบบ เพราะมองว่าทำไปแล้วไม่คุ้ม ส่งผลให้มีผู้ประกันตนจำนวนมาก เคว้งคว้าง ต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลรักษาตัวทุกปี แถมทางเลือกก็มีน้อยลง เหลือแต่เพียงโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งการรักษาก็ไม่สามารถสู้กับเครื่องไม้ เครื่องมือของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ จนบางครั้งมีผู้ประกันตนก็ตั้งคำถามว่า กองทุนประกันสังคมที่มีเงินจำนวนมหาศาล ไม่นำเงินมาลงทุนเปิดโรงพยาบาลเองบ้าง เพื่อให้เป็นทางเลือก และสร้างมาตรฐานใหม่ทางการรักษาสำหรับผู้ประกันตน  
    อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาก็เห็นทางกระทรวงพาณิชย์พยายามที่จะทำให้ค่ายาและการรักษาพยาบาลเป็นสินค้าควบคุม แต่หลังจากลงมือปฏิบัติแล้ว มันก็เป็นไปได้ยาก ตอนนี้สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ทำได้ เพียงแค่ขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ในการประกาศราคายา และค่ารักษาพยาบาลขึ้นในเว็บไซต์ โรงพยาบาล เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการตรวจสอบราคาก่อนไปใช้บริการ ส่วนที่จะไปลดค่ายา ค่ารักษา ทำไม่ได้ เพราะต้นทุนต่างกัน 
    นั่นคือคำชี้แจงสิ่งที่รัฐทำได้ ส่วนประชาชนก็ต้องดิ้นรนกันเอาเอง อย่างนั้นสิ่งที่รัฐควรจะทำก็คือ เพิ่มสถานพยาบาลของราชการให้มากขึ้น ยกระดับสถานีอนามัย ที่เป็นโรงพยาบาลชุมชม ให้เป็นโรงพยาบาลจริงๆ คือ มีแพทย์ประจำทุกวัน ไม่ใช่มีแค่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ เพราะอย่างนั้นโรงพยาบาลชุมชมก็เหมือนเปิดให้บริการแค่สัปดาห์ละวันสองวัน  เนื่องจากไม่มีหมอประจำการ แบบนี้น่าจะพอลดปัญหาการเข้าถึงการรักษาของประชาชนไปได้  
    ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ถ้าไม่ใช่คนรวย หรือข้าราชการที่มีสวัสดิการในการรักษาพยาบาล ชีวิตเกษตรกร มนุษย์เงินเดือน ต่างก็ต้องพึ่งพาตัวเองต่อไป และต้องเก็บเงินไว้รักษาตัว ถ้ามีไม่พอก็ต้องกู้ยืม กลายเป็นปัญหาสังคมต่อไปอีก. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"