จ่อเยียวยาผู้ว่าฯพ้นม.44 ชลบุรี-นนทบุรียังติดบ่วง


เพิ่มเพื่อน    

“วิษณุ” แย้มข่าวดีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกพิษมาตรา 44 เล่นงาน เผยผลสอบหลายคนไม่พบทุจริต เตรียมชง “บิ๊กตู่” เยียวยา แต่จะลงดาบคนที่เกี่ยวข้องแทน ย้ำไม่เกี่ยว “ผวจ.ชลบุรี-นนทบุรี”  ไม่เข้าข่าย เปิดรายละเอียดคำสั่งหัวหน้า คสช.เด้งเข้ากรุมีเกือบ 20 ราย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าเมื่อวันที่ 1  ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานผลการตรวจสอบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด ที่ก่อนหน้านี้มีคำสั่งมาตรา 44 ให้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ในสำนักนายกฯ เพื่อเปิดทางให้มีการตรวจสอบ ซึ่งสำนักนายกฯ รายงานว่าไม่พบมีการทุจริตเกิดขึ้น แต่ไม่ขอเปิดเผยว่าเป็นกรณีใด 
“หลังจากนี้จะทำเรื่องเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าเมื่อตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดจะให้กลับไปตำแหน่งเดิมหรือไม่” นายวิษณุกล่าว
รองนายกฯ ยังกล่าวถึงสาเหตุของการตรวจสอบที่ล่าช้าว่า เพราะก่อนหน้านี้ได้ให้ข้าราชการหลายคนมาปฏิบัติหน้าที่ในสำนักนายกฯ ซึ่งมีความยุ่งยากในการสอบสวน เพราะการตั้งคณะกรรมการสอบไม่ใช่หน้าที่ของต้นสังกัดเดิม แต่เป็นหน้าที่ของปลัดสำนักนายกฯ ซึ่งบางกระทรวงไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร
     นายวิษณุกล่าวอีกว่า แม้สำนักนายกฯ จะรายงานว่าไม่พบผู้ว่าฯ มีความผิดฐานทุจริต แต่พบว่ามีคนอื่นผิด ดังนั้นจึงต้องไปเล่นงานคนอื่นเอา ส่วนผู้ว่าฯ ที่ผ่านมาตรวจสอบแล้ว นายกฯ กับต้นสังกัด คือกระทรวงมหาดไทย (มท.) ต้องพิจารณาว่าจะให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือไม่ เนื่องจากต้องมีกระบวนการนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งอีกครั้ง 
“กรณีดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับผู้ราชการจังหวัดนนทบุรีและชลบุรี ที่มีคำสั่งให้มาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกฯ เพื่อตรวจสอบกรณีข้อกล่าวหาความไม่โปร่งใสในการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะครบกำหนดในการย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ 3 เดือนในวันที่ 7 ก.พ.นี้” นายวิษณุกล่าว
ทั้งนี้จากการตรวจคำสั่งหัวหน้า คสช.ในการใช้มาตรา 44 โยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นมีอาทิ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 16/2558 เรื่องมาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 15 พ.ค.58 ซึ่งมีประกาศรายชื่อจำนวนมากทั้งข้าราชการส่วนกลางและท้องถิ่นที่ถูกกล่าวหา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด 1 ราย คือ นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี 
ต่อมาในคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 12/2559 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 29  มี.ค.59 ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ย้ายผู้ว่าฯ ทั้งสิ้น 4 ราย คือ 1.นายยุทธนา วิริยะกิตติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ 2.นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก 3.นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และ 4.นายวีรพงศ์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าวยังมีการแต่งตั้งรักษาราชการแทนด้วย คือ 1.ให้นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ 2.ให้นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน  รักษาราชการแทนผู้ว่าฯ ตาก 3.ให้นายวิทูรัช ศรีนาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รักษาราชการแทนผู้ว่าฯ จันทบุรี และ 4.ให้นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนผู้ว่าฯ ปัตตานี
สำหรับวันที่ 4 เม.ย.60 มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 20/2560 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง โดยมีเนื้อหาให้ผู้ว่าฯ พ้นจากตำแหน่งเดิมมาดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถึง 6 ราย คือ 1.นายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี 2.นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ 3.นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  4.นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต 5.นายสุรพล แสวงศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  และ 6.นายพศิน โกมลวิชญ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี 
ทั้งนี้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 20/2560 ยังได้แต่งตั้งนายสุวิทย์ คำดี พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์, นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นายนรภัทร ปลอดทอง พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และนายชัยวัฒร์ ชื่นโกสุม พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษา ด้านการปกครอง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
    ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.59 ก็มีคําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 33/2559 เรื่องให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่น โดยมีเนื้อหาระบุว่าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสําคัญเร่งด่วนของประเทศ และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการอันเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 หัวหน้า คสช.โดยความเห็นชอบของ คสช.มีคําสั่งโยกย้ายข้าราชการหลายภาคส่วนทั้งสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้ว่าฯ 1 ราย คือ นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย 
และคำสั่งที่สร้างความฮือฮามากที่สุด คือ คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 64/2559 เรื่องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตําแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 โดยมีเนื้อหาให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.ก่อนวันที่ 18 ต.ค.2559 พ้นจากตำแหน่งด้วย และให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้ว่าฯ กทม. และให้มีรองผู้ว่าฯ กทม.ไม่เกิน 4 คน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"