10 ธ.ค.61 - นายณัฎฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้งของกกต.ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นการทำงานของสำนักงาน โดยออกแบบไว้ 2 รูปแบบ รูปแบบแรก มีข้อมูลครบถ้วน ทั้งเบอร์ ชื่อ และโลโก้พรรคการเมือง รูปแบบนี้ออกแบบเสร็จไปในระดับหนึ่งแล้วและได้มีการทาบทาม บริษัทที่มีศักยภาพในการผลิต แล้วจำนวนหนึ่ง โดยจากการประสานยืนยันว่าทุกบริษัทสามารถพิมพ์ บัตรรูปแบบดังกล่าวแยกเป็นรายเขตได้ครบทั้ง350เขต ระบบป้องกันการปลอมแปลงบัตรมีมาตรฐานไม่ต่างจากที่ผ่านมา และจัดส่งได้ทันตามกำหนดเวลา ซึ่งอยู่ระหว่าง กำหนดทีโออาร์ ก่อนประกวดราคา แต่ต้องรอการตัดสินใจ เลือกรูปแบบบัตรของกกต.ก่อน
นายณัฎฐ์ กล่าวว่า รูปแบบที่ 2 คือบัตรที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัคร ซึ่งรูปแบบนี้เกิดจากเมื่อได้รูปแบบบัตรที่มีข้อมูลสมบูรณ์แล้วและมีการไปประชุมกับหน่วยงานสนับสนุนระบุว่า การขนส่งบัตรไปยังผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรซึ่งจะต้องเป็นบัตรของเขตเลือกตั้งที่ผู้นั้นมีสิทธิอยู่ ในรอบแรกไม่มีปัญหา แต่หากเกิดปัญหาบัตรที่ส่งพลัดหลง หรือส่งไม่ถึงมือ การจะส่งบัตรสำรอง ต้องส่งคนตรงเขต ไปให้อาจมีปัญหา มีข้อเสนอว่าให้พิมพ์บัตรโหล เพราะถ้าเกิดปัญหา บัตรที่ส่งพัดหลงก็สามารถนำบัตรจากที่อื่นทดแทนได้ ซึ่งถ้ากกต.จำเป็นจะต้องพิมพ์บัตรลักษณะนี้ สำนักงานก็จะอุดช่องว่าง โดยจะมีการส่ง ข้อมูลผู้สมัคร พรรคการเมืองของเขตที่ผู้ลงทะเบียนฯมีสิทธิไปให้ทราบด้วย และได้มีการผลิตเครื่องสมาร์ทโหวตเพื่อบริการข้อมูล ผู้สมัครพรรคการเมืองผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพียงผู้มีสิทธิกรอกข้อมูลเลขข้อมูลเลข ประจำตัว 13 หลัก ในมือถือก็จะขึ้นข้อมูล ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่ตนเองมีสิทธิให้ทราบ รวมทั้งมีการผลิตโปสเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีรายชื่อของผู้สมัคร ทุกพรรคติดไว้ยังสถานที่ลงคะแนน
"ทั้งหมดยังเป็นเพียงข้อมูล ที่สำนักงานจะเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจของกกต. ไม่ได้หมายความว่ากกต.ตัดสินใจ แล้ว เรากำลังจะประชุมเพื่อหาทางออก ที่ดีที่สุด ในกรณีบัตรเลือกตั้งต่างประเทศ พลัดหลง ถ้าเรายืนยันจะผลิตบัตรเฉพาะเขตที่มีข้อมูลครบถ้วนหากเกิดปัญหาเราจะส่งบัตรสำรองไปได้ทันหรือไม่ ซึ่งวันอังคารที่11ธ.ค.สำนักงานฯจะมีการคุยกับหน่วยงานสนับสนุนเพื่อหาข้อสรุปและเสนอกกต.แล้ว เพราะจำเป็นต้องทำทีโออาร์ส่งหาผู้รับจ้างแล้ว ดังนั้น คาดว่าไม่เกินต้นสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปทั้งหมด"
รองเลขากกต.ยังกล่าวอีกว่า เรื่องรูปแบบของบัตรเลือกตั้งไม่คิดว่ามีประเด็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะทั้งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ได้เขียน ระบุเพียงลักษณะรูปแบบของบัตรให้เป็นไปตามที่กกต. กำหนด และมองว่าแม้เป็นบัตรที่มีหมายเลขอย่างเดียวก็ไม่ได้ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายเพราะกกต. ก็พยายามนำเสนอข้อมูลผู้สมัครและพรรคการเมืองให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในทุกช่องทาง จนถึงที่หน้าหน่วยเลือกตั้งครบถ้วนอยู่แล้ว แต่สำนักงานฯก็จะพยายาม ทำรูปแบบที่สมบูรณ์และบริหารจัดการแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ได้ซึ่งก็จะหารือ กับกระทรวงการต่างประเทศว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะกำหนดให้มีประเทศที่เป็นเซ็นเตอร์ของ กลุ่มประเทศนั้นๆ แล้วทำหน้าที่เก็บรักษาสต๊อกบัตร เลือกตั้ง 350 เขตไว้จำนวนหนึ่ง ถ้าหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ก็ให้บินเอาบัตรของเขตนั้นๆไปส่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องลงทุน มองแล้วอาจไม่คุ้ม แต่เมื่อรัฐธรรมนูญให้คนในต่างประเทศ ได้ใช้สิทธิด้วย ก็ต้องมองข้ามเรื่องของงบประมาณ และมองว่าทำอย่างไรเขาถึงจะได้ใช้สิทธิ
อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว มีประมาณ 2 แสนคนแต่ครั้งนี้ด้วยระบบการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น พรรคการเมืองมีการสื่อสารกับผู้มีสิทธิในต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้นผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่างๆ และ การลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์ ทำได้ง่ายผ่านทางมือถือ จึงคาดว่าจะมีผู้ลงทะเบียน ขอใช้สิทธิเพิ่มมากขึ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |