มีหนาว! โพลสะท้อน ส.ส.ทิ้งพรรค ประชาชนกาหัวไม่เลือก ชี้พรรคการเมืองยังไม่ตอบโจทย์ความเดือดร้อน ขณะที่ยกผลงาน "บิ๊กตู่" โดนใจแก้ปัญหาวิกฤติขัดแย้งการเมือง-ปราบโกง เผยโซเชียลฯ มีผลตัดสินใจเลือกผู้สมัคร พร้อมหนุนหาเสียงเลือกตั้งผ่านโลกออนไลน์
เมื่อวันอาทิตย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจภาคสนามเรื่อง อดีต ส.ส.ย้ายพรรคกับความเป็นผู้นำขวัญใจตลอดกาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพ โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 ธ.ค. ที่ผ่านมา เมื่อถามถึงพรรคการเมืองและนักการเมืองเสนอแนวทางแก้ปัญหาเดือดร้อน ตอบโจทย์ของประชาชนแล้วหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ระบุพรรคการเมืองยังไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาเดือดร้อน ยังไม่ได้ตอบโจทย์ของประชาชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความเห็นต่อการย้ายพรรคของอดีต ส.ส. พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.1 ระบุไม่น่าดู น่าเบื่อมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุ น่าสนใจ น่าติดตาม ตามลำดับ ที่น่าพิจารณาคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.5 จะไม่เลือกอดีต ส.ส. คนย้ายพรรค ในขณะที่ร้อยละ 46.5 ระบุว่าจะเลือก
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจยังพบคะแนนความพึงพอใจของตัวอย่างที่ระบุผลงานรัฐมนตรีด้าน
ต่างๆ ในความพอใจของประชาชน พบว่า นายกรัฐมนตรีได้อันดับแรกคือ 7.24 คะแนน เพราะสามารถแก้วิกฤติขัดแย้งการเมืองรุนแรงได้สงบ แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน แก้ปัญหาต่างชาติกีดกันการค้าไทย และมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก เกิดการลงทุนต่างๆ ในประเทศ เป็นต้น
วันเดียวกัน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง โซเชียลมีเดีย (Social Media) กับการเลือกตั้งปี 2562 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.92 ระบุว่าไม่ได้ติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย และร้อยละ 23.08 ระบุว่าติดตามผ่านโซเชียลมีเดีย
เมื่อถามถึงช่องทางของผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองของการเลือกตั้งปี 2562 ผ่านโซเชียลมีเดีย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.24 ติดตามผ่านเฟซบุ๊ก (Facebook), แฟนเพจ รองลงมา ร้อยละ 44.29 ติดตามผ่านไลน์ (Line), ร้อยละ 24.22 ติดตามผ่านยูทูบ (Youtube), ร้อยละ 5.88 ติดตามผ่านอินสตาแกรม (Instagram) และร้อยละ 5.54 ติดตามผ่านทวิตเตอร์ (Twitter)
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลของโซเชียลมีเดียต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือเลือกพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งปี 2562 พบว่า ประชาชนร้อยละ 19.57 ระบุว่ามีผลมาก, ร้อยละ 37.22 ระบุว่ามีผลค่อนข้างมาก, ร้อยละ 25.32 ระบุว่ามีผลค่อนข้างน้อย, ร้อยละ 17.17 ระบุว่าไม่มีผลเลย และร้อยละ 0.72 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้พรรคการเมืองสามารถหาเสียงเลือกตั้งผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้อย่างเสรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.62 ระบุว่าเห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 36.50 ระบุว่าไม่เห็นด้วย, ร้อยละ 2.80 ระบุว่าไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศในการแก้รัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง สรุปผลได้ว่า อันดับ 1 อยากให้มีเนื้อหาเหมาะสมกับประเทศ ใช้ได้ในระยะยาว 30.19%, อันดับ 2 กฎหมายมีช่องโหว่ จึงทำให้เกิดการแก้ไขบ่อย 28.82%, อันดับ 3 ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ 25.39%, อันดับ 4 นักการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้บ้านเมืองไม่พัฒนา 22.47%.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |