“ประเทือง” เฒ่าทะเลบ้านเกาะเตียบแบบอย่างนักอนุรักษ์ชาวประมงชายฝั่งเมืองชุมพร เขียนชื่อเรือ "น้องใหม่" บนกระดองปูไข่ที่จับได้แล้วปล่อยกลับลงสู่ทะเล จับได้อีกทีปูวางไข่แพร่ขยายพันธุ์ไปแล้วนับแสนตัว เผยเคยเจบปูไข่ที่ปล่อยไปหลายครั้งแล้ว
9 ธ.ค.61 - ผู้สื่อขาวรายงานว่า ชุมชนชาวประมงชายฝั่งบ้านเกาะเตียบ หมู่ 7 ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยึดอาชีพทำประมงสืบทอดมานานหลายชั่วอายุคน หมู่บ้านชายทะเลแห่งนี้ถือว่าเป็นต้นแบบนักอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้สำคัญในยุคสมัยที่ "ลุงจาง เฟื้องฟุ้ง" เฒ่าทะเล เจ้าของความคิดโครงการธนาคารปูแห่งแรกของประเทศไทย ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยวัยชราอายุ 77 ปี เมื่อพ.ศ.2558 แต่ภูมิปัญญายังเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ที่ลุงจางส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังและท้องทะเลไทย
ปัจจุบันมีนายประเทือง มากยอด หรือ “ลุงประเทือง” วัย 58 ปี ชาวประมงบ้านเกาะเตียบ ยึดอาชีพทำประมงชายฝั่ง บอกว่าตนเองประกอบอาชีพทำประมงเรืออวนปูอยู่ในชุมชนบ้านเกาะเตียบมานานกว่า 30 ปี คนในชุมชนแห่งนี้ส่วนใหญ่ก็ประกอบอาชีพออกเรืออวนปู การออกไปวางอวนปูแต่ละครั้งจะต้องใช้อวนจำนวน 30 หัว หรือที่ชาวประมงเรียกว่า 3 ตับ 1 ตับเท่ากับ 10 หัว ยาวประมาณ 300 เมตร โดยการนำอวนปูไปวางทิ้งไว้ในทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 5-10 กิโลเมตร วางอวนทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน แล้วออกไปกู้ครั้งหนึ่ง เพราะสัตว์น้ำที่ติดอวนจะยังไม่ตาย
นายประเทือง กล่าวว่า ทุกครั้งที่ออกไปกู้เก็บอวนที่วางไว้ในทะเลจะสาวอวนขึ้นมาเก็บไว้บนเรือ ส่วนปูม้าและสัตว์น้ำอื่นๆที่ติดอวนอยู่ก็จะนำขึ้นไปปลดบนชายฝั่งที่มีพ่อค้าแม่ค้ามารอรับซื้อ แต่ก่อนเข้าฝั่ง เราก็จะนำอวนอีกชุดที่เตรียมมาวางทิ้งสลับไว้ใกล้ๆจุดเดิม หรือจะย้ายไปวางทิ้งไว้ที่จุดอื่นก็ขึ้นอยู่แต่ละคน ซึ่งทุกครั้งที่ออกมาเก็บกู้อวนก็จะใช้วิธีการดังกล่าวเหมือนเดิม
นายประเทือง กล่าวอีกว่า ระหว่างเก็บกู้อวนเมื่อเจอปูไข่ติดขึ้นมา ตนเองก็จะค่อยๆปลดปูตัวนั้นออกจากอวนอย่างทะนุถนอมไม่ให้บอบช้ำและขาหลุด จากนั้นจะใช้สีกันน้ำเขียนชื่อลงบนกระดองหลังปูว่า "น้องใหม่" ซึ่งเป็นชื่อเรือของตนและถือว่าเป็นรหัสที่ชาวเรือด้วยกันจะรู้ แล้วก็ปล่อยปูไข่ตัวดังกล่าวกลับลงไปสู่ท้องทะเลเพื่อให้มันได้ไปวางไข่แพร่ขยายพันธุ์ เพราะแม่ปูหนึ่งตัวจะวางไข่ได้มากกว่า 50,000-100,000 ตัว ที่ผ่านมาตนเองและเพื่อนชาวประมงที่ออกเรืออวนปูด้วยกันเคยจับปูตัวที่เขียนชื่อว่า “น้องใหม่” ได้หลายครั้งแล้ว ซึ่งทุกตัวได้วางไข่แพร่ขยายพันธุ์ไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีใจและภูมิใจมาก
ชาวประมงนักอนุรักษ์รายนี้ กล่าวอีกว่าตนเองทำอาชีพอวนปูมานานก็อยากให้สัตว์น้ำมีมากขึ้นและเป็นอาชีพอยู่คู่กับลูกหลานได้ทำมาหากินตลอดไป ตนเองจึงมีความคิดที่จะอนุรักษ์ด้วยวิธีการดังกล่าวควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพ ถ้าเราคิดแต่จะจับอย่างเดียวโดยไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไม่ช่วยกันดูแลแล้วในอนาคตเราก็จะหากินกันลำบาก
"ถือเป็นความภาคภูมิใจที่ไม่ต้องประกาศให้ใครได้รับรู้ และสิ่งที่ทำก็ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก แต่ทำด้วยจิตสำนึกของเราเอง เพราะท้องทะเลแห่งนี้คือปากท้องของพวกเราจึงวอนขอความร่วมมือชาวประมงที่เจอปู่ไข่ให้ช่วยกันปล่อยลงสู่ท้องทะเลให้แพร่ขยายพันธุ์เพื่อเราจะได้ยึดเป็นอาชีพและมีปูกินไปนานๆ”ลุงประเทืองกล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |