ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ "สวนของพ่อ"มอบให้เกษตรกรจันทบุรี                                          


เพิ่มเพื่อน    

    จุดชมวิวมุมหนึ่งของ"สวนของพ่อ"   

             
    โครงการศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จ.จันทบุรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรศูนย์พัฒนาไม้ผลฯ โดยในปี2521 ในหลวงร.9 ทรงเสด็จมาจันทบุรี และทรงเห็นว่าจันทบุรีเป็นแหล่งปลูกผลไม้สำคัญของประเทศ  และทรงเห็นว่าในอนาคตจะมีการขยายการทำสวนผลไม้เพิ่มขึ้นอีกมาก และถึงแม้จังหวัดจันทบุรีจะมีปริมาณฝนมาก  จนเกิดน้ำไหลหลากท่วมจังหวัดจันทบุรีเป็นประจำ แต่ฤดูแล้งก็จะขาดแคลนน้ำ   หากไม่ดูแลแหล่งน้ำให้ดี ภาคเกษตรก็จะมีปัญหาได้ ทรงเห็นว่าควรช่วยเหลือราษฎร โดยการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และป้องกันน้ำท่วมในอนาคต และมีพระราชกระแสให้คณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำรวจพื้นที่ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินสวนไม้ผล ซึ่งมีลำคลองไหลผ่านพื้นที่ ในอำเภอมะขาม จำนวน 109 ไร่ เพื่อเตรียมวางโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาด เล็กไว้เป็นตัวอย่าง ในการใช้ประโยชน์ของราษฎร แต่ราษฎรไม่เข้าใจจึงทรงยกเลิกโครงการทำเป็นแหล่งน้ำ
    แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2524 ทรงมีพระราชดำริกับคณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาไม้ผล เพื่อเป็นตัวอย่างในการประกอบอาชีพแก่ราษฎร และสร้างแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสวนไม้ผล 60 ไร่ สระเก็บน้ำ 12 ไร่ และพื้นที่ว่างเปล่า 37 ไร่ เพื่อทำการศึกษาและทดลองทางการเกษตร    โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ และให้ประสานกับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี สำนักงานพืชสวนจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินการปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาระบบการส่งน้ำและการปลูกไม้ผลตามหลักวิชาการ
     ศูนย์พัฒนาผลไม้ตามพระราชดำริ จันทบุรี  ได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร    เพื่อให้เกษตรกรและชุมชนในท้องถิ่นเช้ามาศึกษาเรียนรู้ นำไปแบบอย่างลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค รักษาสภาพแวดล้อม   เป็นตัวอย่างประกอบอาชีพ ตัวอย่างการปรับปรุงบำรุงดิน  และตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้กับสวนผลไม้ได้อย่างดี 
    "ในหลวงร.9 ทรงเห็นว่าอนาคตจังหวัดจันทบุรี จะเป็นแหล่งผลิตพืชผลเกษตร โดยเฉพาะแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศ แต่ปัญหาสำคัญคือแหล่งน้ำ เริ่มแรกทรงจะให้ที่นี่เป็นตัวอย่างบริหารจัดการแหล่งน้ำ แต่ต่อมาทรงจัดแปลงสาธิต 4แปลงที่นี่ไว้เป็นตัวอย่างกับประชาชน  ในเวลาต่อมาก็มีการพัฒนาขยายพื้นที่แปลงเกษตรออกไปเรื่อยๆจนกลายเป็นสวนผลไม้ 60ไร่ และขยายเพิ่มในส่วนสวนผลไม้ใหม่อีก 37ไร่ ซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่ว่างเปล่าในปี2557 ทรงมีพระราชดำริให้ศูนย์พัฒนาฯ ทำหน้าที่พัฒนาปลูกพืชเกษตร เต็มรูปแบบ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นแม่งาน ส่วนคนจันทร์ ก็เรียกว่าที่นี่ว่า"สวนของพ่อ  " นายสุวิวัฒน์ วงษ์สกุลไชยะเจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน หัวหน้างานวิชาการเกษตรศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี กล่าว

สวนลำใยในศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ


     ผลไม้หลักของสวนในศูนย์พัฒนาฯ ก็คือ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง และลำไย รวมทั้งยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืขของจันทบุรี โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์โบราณหายากไว้มากมายหลายสายพันธุ์  การปลูกก็มีการใช้วิชาการ เทคโนโลยีควบคุม จัดการสวนผลผลิต เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ และปลอดภัย เป็นตัวอย่างแก่ประชาชนที่มาศึกษาเรียนรู้
    ผลงานชิ้นโบว์แดง ของศูนย์พัฒนาฯ ขณะนี้ ก็คือการทำลำไยออกนอกฤดูกาล สามารถกำหนดให้ผลผลิตออกเมื่อไหร่และเก็บผลผลิตเมื่อไหร่ก็ได้ โดยควบคุมระบบน้ำและปุ๋ย ให้พร้อมให้ผลผลิต ในวันเวลาที่ต้องการได้ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะปลูกที่ภาคตะวันออกอย่างจังหวัดจันทบุรีได้ ก็สามารถปลูกได้และให้ผลผลิตดีมากอีกด้วย   ผลผลิตที่ได้เป็นระดับคุณภาพส่งออก ให้ผลผลิตต่อต้นสูงกว่าที่ปลูกในภาคเหนือ  จนปัจจุบันจันทบุรีได้กลายเป็นแหล่งผลิตลำใยแหล่งใหญ่ของประเทศไปแล้ว นอกเหนือจากภาคเหนือ

ลำใยที่บังคับออกนอกฤดูกาล ระดับคุณภาพส่งออก จะมีการเด็ดลูกออก เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพลูกโต


    "ตอนนี้คนปลูกลำใย ที่้ลำพูน เชียงใหม่ ยังมาอบรมเรียนรู้กับเรา ทำอย่างไรถึงจะให้ลำใยออกนอกฤดูและลูกโต ขนาด 1ช่อมีประมาณ 50-70ลูก ลูกใหญ่ประมาณเหรียญ 10บาท รสชาติดี  เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เรานำมาใช้และถ่ายทอดให้เกษตรกรก็คือ การปรับปรุงบำรุงดิน การควบคุมปริมาณน้ำ การใช้ปุ๋ย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม ใน1ต้น ลำใย1ช่อ ควรมีลูกไม่เกิน50-70ลูก เราไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติ เรามีกระบวนการควบคุมตั้งแต่ทำให้เป็นดอกและเป็นผล ซึ่งจะทำให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ แม้เราจะเป็นเกษตรเคมี แต่เป็นเกษตรปลอดภัย ระดับ GMP" นายสุวิวัฒน์กล่าว
    ในฐานะแหล่งใหญ่ผลิตทุเรียนของประเทศ  ศูนย์พัฒนาฯได้ร่วมกับวิจัยพืชสวนจันทบุรี ผสมพันธุ์ทุเรียนจนเกิดสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ จันทบุรี 1 จันทบุรี2และจันทบุรี3 โดยจันทบุรี 1เกิดจาก พ่อแม่หมอนทองผสมกับชะนี  จันทบุรี 2 พันธุ์พวงมณีผสมกับพันธุ์ชะนี และจันทบุรี 3เกิดจากพันธุ์ก้านยาว ผสมชะนี  

ดอกทุเรียนกำลังเบ่งบาน


    "พันธุ์จันทุบรี 1เนื้อจะแน่น กลิ่นไม่แรง แม้แต่ลูกที่หล่นจากต้นก็จะไม่ค่อยสุกเร็ว เนื้อไม่เละ แต่ขณะนี้ ยังไม่แพร่หลายเพราะคนยังชอบพันธุ์เดิมๆอยู่"
    ที่นี่ยังเป็นแหล่งรวบรวมทุเรียนสายพันธุ์โบราณ พันธุ์หายาก พื้นบ้านของไทยไว้หลายสายพันธุ์  อาทิ พันธุ์กระดุม พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว พันธุ์กบชายน้ำ พันธุ์กบแม่เฒ่า พันธุ์กบเล็บเหยี่ยว พันธุ์ฝอยทอง พันธุ์สาลิกา พันธุ์สาวน้อยเรือนงาม เป็นต้น 
    "ความรู้จากศูนย์พัฒนาฯ ได้ถ่ายทอดสู่ประชาชน ซึ่งมีเกษตรกรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นำพันธุ์ทุเรียนจากจันทบุรีไปปลูก แต่ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ก็มาศึกษาดูงานที่นี่  นอกจากนี้หลายๆ อปท.ก็นำประชาชนที่นำพันธุ์จันทบุรีไปปลูก  แต่ไม่ค่อยโต ก็มาดูงานที่นี่"  นายสุวิวัฒน์ กล่าวว่า 
    ปัจจุบัน"สวนของพ่อ" มีหลายๆหน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบดูแล ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานกรมชลประทาน กระทรวงมหาดไทย   การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส่งเสริมอาชีพสวนผึ้ง มาช่วยบูรณาการจัดการ นำเทคโนโลยีมาใช้การผลิต  ตลอดจนมีการนำหลักธรรมชาติมาใช้แทนสารเคมี เช่นตัว ชันโรง มาช่วยผสมเกษตร   นำชีวพันธุ์บางอย่างมาทดแทนการใช้สารเคมี เช่นเชื้อรา ไตรกูเดอร์มา ซึ่งเป็นเชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิต มาใช้แทนเคมี

เลี้ยงตัวชันโรงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้  ทั้งดอกทุเรียนและลำใยในสวน


    "ปัญหาการใช้สารเคมีของเกษตรกรที่นี่ เราคงไปบังคับไม่ได้ เราทำได้เพียงแค่สร้างจิตสำนึกให้กับเขา อาชีพการเกษตรเขาหวังผลไว้ระดับสูง แต่ถ้าการทดแทนเคมี จากกระบวนการธรรมชาติ ใช้ชีวพันธุ์มีความปลอดภัย เพราะเราผลิตได้เอง เท่ากับลดต้นทุน  ถ้าเขาไปใช้แล้วได้ผล จะมีการบอกต่อ คิดว่ารายเล็กๆน่าจะใช้ชีวพันธุ์สำเร็จแต่รายใหญ่อาจจะยากสักหน่อย"
    ปัจจุบันศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จันทบุรี  ได้อบรมความรู้เกษตรกร ถ่ายทอดวิชาการใหม่ๆให้กับเกษตรกรปีละประมาณ 300ราย  พร้อมกับทดลององค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกษตรกรเชื่อมั่น นำความรู้รมไปใช้ได้จริง   ตลอดจน ขยายงานส่วนที่เป็นชีวพันธุ์ทดแทนสารเคมีมากยิ่งขึ้น เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้ง นำมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เข้ามามีส่วนร่วม โดยมองว่า มหาวิทยาลัยยังเป็นจุดเกิดให้คนรุ่นใหม่ มีความรู้ความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชามากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้จากศาสตร์พระราชา มาใช้กับสังคมและชีวิตประจำวันได้  

เลี้ยงผึ้งช่วยผสมเกสรผลไม้


    ด้านนายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า  ในหลวงร.9 ทรงห่วงว่าพื้นที่จันทบุรีจะมีปัญหาแหล่งน้ำ เพราะฝนไม่ได้ตกตามฤดูกาลเสมอไปทุกปี แล้วก็มีปัญหจริงๆ บางปีเกิดปัญหาแล้ง ฝนไม่ตก ส่วนพื้นที่ศูนย์พัฒนาผลไม้ฯ เป็นที่ดินส่วนพระองค์  ทรงทำให้เป็นแบบอย่างเกษตรกรเรื่องความรู้การเกษตร แม้จะเริ่มปี2524 แต่กว่าโครงการจะเป็นรูปเป็นร่างก็ใช้เวลานาน เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล เมื่อก่อน 40ปีที่แล้วทุรกันดารมาก  
     อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจันทบุรีกลายเป็นแหล่งผลิตผลไม้ให้กับประเทศ และต้องยอมรับว่าเกษตรกรจันทบุรีมีการใช้สารเคมีกันมาก  เป็นที่รู้กันในหมู่วงการผู้ค้าสารเคมีเกษตรว่า หากจะทดลองสินค้าตัวใหม่ ต้องมาที่จังหวัดจันทบุรี  แม้หน่วยงานรัฐจะพยายามแนะนำลดหรือเลิกใช้ ก็อาจไม่เป็นผล เพราะการตลาดเกษตรเคมีมีการลดแลกแจกแถม มีการโหมโฆษณา และเกษตรกร หวังผลผลิตมากยิ่งทุเรียนมีราคาดี ก็ทำให้หวังผลมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ทำใด้ในขณะนี้ คือ เราทำได้คือย้ำไปย้ำมา ให้เห็นว่าเกษตรเคมี มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และผลเสียต่อร่างกาย  และพยายามบอกว่า เกษตรอินทรีย์ เป็นศาสตร์พระราชา ที่ควรน้อมนำมาใช้ 
    "เราก็อยากให้เกษตรกรจันทบุรีมีความยั่งยืน ไม่ต้องโค่นทุเรียนมาปลูกยาง หรือโค่นยางมาปลูกทุเรียนเพราะราคาดีกว่า ยิ่งทุเรียนราคาดี ก็ใช้กันมาก ทำให้เห็นว่า ถ้าเราไม่มีศาสตร์พระราชาจะแย่กว่านี้อีก ในฐานะข้าราชการเราได้แต่บอกเกษตรกรว่า ถ้ารักพ่อ ก็ต้องช่วยกันตรงนี้ ลดใช้สารเคมี ดังนั้น ศาสตร์พระราชา จึงเป็นเกราะคุ้มกันอย่างดี ที่ควรน้อมนำมาใช้ "พ่อเมืองจันทบุรีกล่าว.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"