"ฝายบ้านเขาแดงพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร.10"  ช่วยชาวบ้านพ้นความแร้นแค้น-ยากจน    


เพิ่มเพื่อน    

ฝายบ้านเขาแดงพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร.10


    สภาพชีวิตของชาวบ้านเขาแดงพัฒนา ต..ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรีเปลี่ยนไป หลังจากมีฝายเล็กๆ เกิดขึ้นตั้งบนพื้นที่ประมาณ 20ไร่  โดยฝายดังกล่าวมีชื่อเป็นทางการว่า"โครงการฝายบ้านเขาแดงพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "ฝายแห่งแรกในหลวงรัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทร์เทพยวรางกูร พระราชทาน  และได้เปิดใช้เมื่อประมาณ 1ปีมาแล้ว 


    ฝายแห่งนี้ ทำห้ชาวในพื้นที่เคยประสบปัญหา มีน้ำใช้ไม่เพียงพอทั้งการทำการเกษตร หล่อเลี้ยงมันสำปะหลังและต้นลำใย  พืชผักสวนครัว และวัวนมที่เป็นอีกอาชีพหลักในชุมชน มีน้ำไม่พอกินในช่วงหน้าแล้ง  กลับไม่มีปัญหาอีกแล้ว เพราะมีน้ำพอที่จะรดต้นลำใยในหน้าแล้ง ตลอดจนสามารถปลูกหญ้าสดไว้ให้วัวกินได้ โดยไม่ต้องกินแต่ฟางแห้งๆเท่านั้น 
    พื้นที่ต.ทับช้าง อ.สอยดาว เป็นพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำ แต่ด้วยความที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดชัน ทำให้น้ำที่ไหลงลงมาจากเขาสอยดาวไหลมาตามคลองย่อยในพื้นที่แล้วก็ผ่านเลยไป ไม่มีอ่างเพื่อกักเก็บน้กไว้ได้ หรือมีฝายสำหรับชะลอน้ำ มีแหล่่งน้ำต้นทุน ทั้งบ่อบาดาล และคลองตาโนด ดังนั้น เมื่อถึงฤดูแล้งพื้นที่แห่งนี้จึงไม่มีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ 
    ลำใย และมันสำปะหลัง ไม่สามารถเร่งผลผลิตให้นอกนอกฤดูกาลได้เพราะขาดน้ำ ทำให้ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด ส่วนชาวบ้านที่เลี้ยงวัวนม รวมประมาณ 200ตัว ก็ไม่มีน้ำเพียงพอให้วัวกิน  หรือปลูกหญ้าไว้ให้วัวกินได้  โดยรวมชาวบ้านที่นี่จึงมีฐานะยากจน
    สภาพแร้นแค้นดังกล่าว ทำให้นายบุญช่วย โตประเสริฐ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 27 บ้านเขาแดงพัฒนา ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ตัดสินใจถวายฏีา ทูลเกล้าต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขณะที่พระองค์ยังพระชนม์ชีพ  เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือในการจัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่

 

นายบุญช่วย โตประเสริฐ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ถวายฏีกา ให้ขอพระราชทานฝาย
 


    ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบถึงการทูลเกล้าฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน โดยได้ข้อสรุปว่า ให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างฝายบ้านเขาแดงพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้น พร้อมกับขุดลอกหน้าฝายบนพื้นที่ประมาณ 5ไร่ และขุดลอกคลองตาโนด ระยะทางประมาณ 1,400 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ของประชาชนในพื้นที่ ที่บริจาคให้กับโครงการ ผลของโครงการทำให้สามารถช่วยเหลือประมาณชนที่เดือดร้อนได้ประมาณ  2,000 ไร่       
    "ชาวบ้านที่นี่ประสบปัญหาแล้ง ขาดน้ำ สู้กันมา 10ปีแล้ว เราเคยมีฝายคันดินแต่ไม่แข็งแรง หน้าฝนทีก็ไปหมด ผอ.กรมชลประทานคนเก่าของที่นี่ เลยแนะนำให้ผมถวายฎีกา ทูลเกล้าฯของฝายพระราชทาน จากในหลวง ร.9 ตอนนั้นพระองค์ท่านยังไม่สวรรคต ส่งหนังสือไปที่สำนักราชเลขาธิการ  ต่อมาทรงสวรรคต หลังจากนั้น 3เดือน ทางผมก็ได้รับการติดต่อกลับมาว่าในหลวงร.10 ท่านทรงพระราชทานฯความช่วยเหลือแล้ว ให้สร้างฝายแห่งนี้ งบประมาณก็มาลง มีการก่อสร้างกันจนเป็นฝายอย่างที่เห็น"บุญช่วยกล่าว

นายเชิงชาญ ชวลิตเมธารัตน์


    เชิงชาญ เชาวลิตเมธารัตน์  หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม ชลประทาน กล่าวว่า พื้นที่แถบต.ทับช้าง และอ.สอยดาวทั้งหมด จัดว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เป็นการแล้งซ้ำซากด้วย ฤดูแล้วถึงกับไม่มีน้ำกินน้ำใช้ ฝนตกประมาณ1,400 ลูกบาศก์เมตร /ปีเ แต่โซนเมืองจันทร์ จะตกประมาณปีละ4,000 มม./ปี เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ติดกับเขตอีสาน อีก 60กม.ก็ถึงจังหวัดสระแก้วแล้ว สภาพโดยรวมจึงแห้งแล้งคล้ายแถบอีสาน  
    ขนาดของฝายที่สร้างเสร็จ มีความสูง3.5เมตร กว้าง 30เมตร จุน้ำได้ 22,700 ลูกบาศก์เมตร.และเมื่อรวมกับคลองที่ขุดลอกเป็นระยะทางประมาณ 2กม. ทำให้สามารถจุน้ำได้ประมาณ 58,100 ลูกบาศก์เมตร  รวมแล้วสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 80,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างเพียงแค่6เดือนก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมิ.ย.2560 แล้วเสร็จสมบูรณ์เดือนพ.ย.2560  ใช้งบประมาณทั้งหมด 23ล้านบาท 

นายวินนา ศรีสงคราม ผู้ใหญ่บ้าน หมู่17 ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี 


    นายวินนา ศรีสงคราม ผู้ใหญ่บ้านเขาแดงพัฒนา ผู้บริจาคที่ดินส่วนตัว 10ไร่ ร่วมกับลุงทองคำ  เจริญทรัพย์ เกษตรกรเเลี้ยงวัว ที่บริจาคที่ดินทำฝาย 10 ไร่ กล่าวว่า ฝายแห่งนี้ช่วยทำให้สภาพความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ประมาณ2-3หมู่บ้านดีขึ้น เกษตรกรมีน้ำกินน้ำใช้ รดลำใย มันสำปะหลังและเลี้ยงวัวได้  ตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านที่นี่มา 10ปี พบกับปัญหาแล้งซ้ำซากขาดน้ำมาโดยตลอด  เพราะที่นี่ห่างจากต้นน้ำ 26กม. และเป็นพื้นที่ลาดชัน พอฝนตกน้ำมาก็ไหลเลยไป ลงไปสระแก้ว เพราะเราไม่มีฝายกักเก็บน้ำ   แต่พอมีฝายก็เก็บน้้ำได้ และน้ำจากฝายก็ไหลลงไปยังคลองใส้ไก่ ไปถึงพื้นที่ของชาวบ้าน  แต่ปีหน้ายังกังวลว่า ฝนจะเข้ามาเติมน้ำในฝายเพียงพอหรือไม่ เพราะฉะนั้น จึงคิดที่จะต่อฝายให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ 2-3เมตร เพื่อให้จุน้ำได้มากขึ้น พร้อมกับอยากได้สถานีสูบน้ำ เพื่อให้น้ำจากฝายไปถึงคลองไส้ไก่ เพื่อชาวบ้านจะได้มีน้ำใช้ทั่วถึง
    "ตอนนี้ชาวบ้านที่ต.ทับช้าง สามารถเพาะปลูกนอกฤดูได้แล้ว และมีแหล่งอาหารพวกปลาสัตว์น้ำต่างๆไว้บริโภคในครัวเรือน เมื่อก่อนจะไม่มีพวกปลา เพราะเราไม่มีน้ำ ฝายได้เปลี่ยนแปลงชีวิตคนในบ้านเขาแดงพัฒนา สู่การมีอาชีพที่มันคงและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น"ผู้ใหญ่วินนากล่าว

ลุงทองคำ เจริญทรัพย์ เกษตรกรเลี้ยงโคนม ผู้บริจาคที่ดินสร้างฝาย


    ลุงทองคำ เกษตรกรผู้เลี้่ยงวัวนม  และเป็นผู้บริจาคที่ดินให้โครงการสร้างฝาย เล่าว่า ก่อนมีฝายที่นี่มีปัญหาขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง เดือนมี.ค.-เม.ย. จะแล้งมาก น้ำไม่พอ ต้องสั่งซื้อน้ำมาเป็นคันรถ มาให้วัวกิน เพราะวัวต้องกินน้ำประมาณวันละ 50ลิตร ต่อตัว ไม่อย่างนั้นจะไม่มีน้ำนม  ค่าน้ำวันละประมาณ 750บาท  ส่วนอาหารวัวก็ไม่พอ เพราะไม่มีน้ำรดหญ้า ต้องสั่งซื้อฟางแห้งมาให้วัวกิน ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง แต่พอมีฝายแล้ว ไม่ต้องซื้อน้ำ และมีน้ำพอรดหญ้า ให้วัวกินหญ้าสด เพราะวัวที่กินหญ้าสดจะให้น้ำนมที่มีคุณภาพดีกว่ากินแต่ฟาง หรืออาหารเม็ด 
    "ที่ผมตัดสินใจบริจาคที่ เพราะเราเกิดมาก็ไม่มีอะไรติดตัว ได้มาเพราะจับจอง เพราะเขาให้ จึงอยากคืนให้สังคมบ้าง"ลุงทองคำกล่าว
    นายถิรยุต ศรีสุเทพ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจันทบุรี กล่าวว่า ฝาพระราชทานแห่งนี้ไม่ได้มีแต่เพียงชุมชนบ้านเขาแดงพัฒนา หรือคนในหมู่ 17 เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากฝาย แต่หมู่บ้านใกล้เคียงในรัศมี2,000กม. ยังได้รับประโยชน์จากฝายพระราชทานแห่งนี้อีกด้วย โดยน้ำจากฝายจะไหลไปยังคลองไส้ไก่ ที่เป็นคลองสั้นๆ แต่ใกล้ชุมชน ทำให้หมู่บ้านใกล้เคียงพลอยมีแหล่งน้ำทำการเกษตรและเลี้ยงโคนมในพื้นที่ได้ มีปริมาณน้ำใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 444,200 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีแหล่งน้ำเพียงพอ
    "สำหรับการที่กำนัน เสนอว่า ควรต่อขอบฝายให้สูงขึ้นเพื่อรับน้ำได้มากขึ้น ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน เพราะถ้าฝายสูงก็จะมีแรงดันน้ำมาก ทำให้น้ำอาจจะท่วมในบางจุด ทำให้ได้รับผลกระทบ ซึ่งทางชลประทานต้องพิจารณาและศึกษาให้ดี ก่อนจะสนับสนุนโครงการ"นายถิรยุตกล่าว

 

 

สภาพวัวนม ของลุงทองคำ ที่วันนี้มีน้ำกินอย่างอุดมสมบูรณ์


เด็กๆเล่นน้ำในฝาย ท่ามกลางอากาศร้อนจัด
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"