บริษัท "เพจเจอร์" รายสุดท้ายของญี่ปุ่นประกาศยุติการให้บริการในปีหน้า หลังจากเปิดให้บริการมานานถึง 50 ปี
แฟ้มภาพ วันที่ 28 ธ.ค. 2541 ลูกจ้างบริษัท นิปปอนอีริเดียม แสดงหน้าจอเพจเจอร์จากบริษัทโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมอีริเดียม ซึ่งผลิตโดยเคียวเซรา / AFP
บริษัท โตเกียว เทเลแมสเซจ ผู้ให้บริการเพจเจอร์ที่เหลือรายเดียวของญี่ปุ่น แถลงเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคมว่า บริษัทจะยุติการให้บริการเพจเจอร์ในกรุงโตเกียว และ 3 ภูมิภาคที่ติดกับโตเกียว ในเดือนกันยายน 2562 โดยระบุว่าบริษัทเสียใจมากที่ต้องประกาศเรื่องนี้
ในถ้อยแถลงบอกว่า เพจเจอร์เคยได้รับความนิยมอย่างสูง แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้เพจเจอร์เพียงแค่ 1,500 ราย และบริษัทหยุดผลิตเครื่องเพจเจอร์ไปเมื่อ 20 ปีก่อน
เพจเจอร์ ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "โปเกะเบรุ" แปลว่ากระดิ่งกระเป๋า เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมหญิงที่หลงใหลในการส่งข้อความไปยังเพจเจอร์ของเพื่อนหรือแฟน โดยเฉพาะในช่วงพักเบรกระหว่างเรียน นักเรียนเหล่านี้จะต่อแถวยาวที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
จากข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น ช่วงที่เพจเจอร์ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2539 มีหมายเลขของผู้ใช้เพจเจอร์มากกว่า 10 ล้านหมายเลข แต่หลังจากนั้นโทรศัพท์มือถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่เพจเจอร์อย่างรวดเร็ว
เอ็นทีที บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการเพจเจอร์ในปี 2511 ยุติการให้บริการเมื่อปี 2550
นักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่นหลายครั้งต้องประหลาดใจกับด้านตรงข้ามในการใช้เทคโนโลยีของคนญี่ปุ่น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นดินแดนของความไฮเทคและอุปกรณ์แห่งโลกอนาคต แต่คนญี่ปุ่นไม่น้อยนิยมใช้อุปกรณ์ของเมื่อวันเก่าๆ เช่นยังนิยมสื่อสารด้วยเครื่องแฟกซ์ และตอนที่เกาหลีเหนือยิงมิสไซล์ข้ามญี่ปุ่นครั้งล่าสุด โทรทัศน์แพร่ภาพนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ได้รับรายงานเรื่องฉุกเฉินนี้ทางโทรศัพท์มือถือแบบฝาพับ
และเมื่อเร็วๆ นี้ ยูชิทากะ ซากุระดะ รัฐมนตรีวัย 68 ปีที่ดูแลงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ ยอมรับว่าในชีวิตของเขาไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะสั่งงานให้ลูกน้องทำ และไม่รู้จักอุปกรณ์ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |