ทีเอ็มบี ชู “TMB HACKATHON” ขับเคลื่อนองค์กรสู่อีกขั้นของแบงก์ยุคใหม่


เพิ่มเพื่อน    

สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นองค์กรที่ค่อนข้างไดนามิค และไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาของทีเอ็มบีก็คือ การนำแนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเชื่อที่ว่า “พนักงาน” ในองค์กร คือพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับทั้งลูกค้า สังคม ตลอดจน ทีเอ็มบีเอง

 

ล่าสุดกับการจัดงาน “TMB HACKATHON 2018” ซึ่งถือเป็นอีกครั้งที่ทีเอ็มบี นำแนวคิดในการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ มาปรับและเปลี่ยน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างพนักงานจากหลากหลายแผนก ในการตั้งโจทย์และช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า ภายในเวลาจำกัดเพียง 48 ชั่วโมง

 

 

คุณกาญจนา โรจวทัญญู หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี พูดถึงแนวคิดและที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ว่า แนวคิดของ HACKATHON ดั้งเดิมนั้นเกิดขึ้นในวงการดิจิทัลที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพมารวมตัวกันเป็นทีม เพื่อระดมสมองและช่วยกันแก้ปัญหาในเวลาที่จำกัด ทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาในหลาย ๆ เรื่องได้เป็นอย่างดี

 

“ทีเอ็มบีเห็นว่าแนวคิดบางส่วนของ HACKATHON น่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในองค์กรได้ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน TMB HACKATHON 2018 ที่เริ่มจากพนักงานภายในองค์กร โดยมุ่งไปที่ 9 แวลูเชน หาผู้ร่วมทีมไม่เกินทีมละ 10 คน ซึ่งจะมีการรวมทีมกันของพนักงานจากหลากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทีมดูแลผลิตภัณฑ์ มาร์เก็ตติ้ง สาขา ไอที หรือโอเปอเรชั่น โดยคนในทีมถึงแม้จะเป็นระดับบริหาร ก็ต้องถอดหัวโขนของตัวเองออก เพื่อช่วยกันตั้งโจทย์และแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ดีที่สุด โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมจะได้รับรางวัลเป็น Tech Trip เพื่อไปดูงานที่ บริษัทอาลีบาบา สำนักงานใหญ่ ประเทศจีน”

 

 “เราเชื่อว่าการตั้งโจทย์หรือขั้นตอนหา Problem Statement สำคัญกว่าการหาคำตอบ ทั้ง 9 ทีมจึงต้องเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์เพื่อเข้าใจปัญหาของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยจะมีการ Pitching ด้วยว่า แต่ละทีมตั้งโจทย์ได้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งมีผู้บริหารสูงสุดของแต่ละสายงาน รวมถึงซีอีโอทั้งหมด 10 ท่านเป็นคณะกรรมการ พร้อมกับมีการ Pitching ว่ากรรมการท่านใดจะเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมไหน ถ้าทีมใดไม่ถูกเลือก ก็ต้องกลับไปตั้ง Problem Statement กันใหม่ เพราะเราเชื่อว่า การตั้งคำถามที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้การแก้ปัญหาให้ลูกค้าผิด ทำให้ TMB HACKATHON ใช้เวลาและให้ความสำคัญกับการตั้งโจทย์มาก”

 

คุณกาญจนาพูดถึงผลจากการจัด “TMB HACKATHON” ว่า ผลที่ได้รับออกมาค่อนข้างจะน่าพอใจ แม้จะมีรางวัลให้กับ 3 ทีมที่ทำออกมาได้ดีที่สุด แต่ผลงานโดยรวมของอีก 6 ทีมก็ออกมาดีไม่แพ้กัน โดยนอกจากเรื่องของเทคนิคในการหาไอเดียใหม่ ๆ ไปจนถึงวิธีการตั้งคำถามเพื่อให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า สิ่งที่ผู้เข้าร่วมงานได้เจอก็คือ ในเรื่องของความร่วมมือกันทำงานระหว่างแผนก ที่ในเวลาทำงานปกติ ต่างคนต่างทำงานตามหน้าที่ของตนในแต่ละแผนก ครั้งนี้จึงได้ในเรื่องของ “Team Spirit” ที่ทุกคนมารวมตัวกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับลูกค้าอย่างแท้จริง

 

 

ด้าน คุณศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจตลาดเงิน ทีเอ็มบี ผู้ร่วมงาน “TMB HACKATHON” ในฐานะทีมที่ชนะเลิศ แสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่สะท้อนให้เห็นจากการนำแนวคิด HACKATHON มาใช้ก็คือ  ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นมาก จากการที่ทีมมีเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งจะทำอย่างไรให้วิธีการตรงนี้ สามารถนำมาปลูกฝังในการทำงานทุกวันของพวกเราได้ ผมคิดว่าอันนี้เป็นโจทย์สำคัญ มันต้องเริ่มจาก การคุยกัน แล้วย้อนถามกันว่ามีอะไรที่เป็นโจทย์สำหรับลูกค้า หรือโจทย์สำหรับพนักงานเอง ซึ่งเมื่อเราหาขึ้นมาแล้ว ทำให้ทุกคนรู้สึกว่ามันมีความหมาย และอยากจะร่วมมือกัน เพื่อมุ่งไปที่การช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า

 

 

คุณศรัณย์ มีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์กรอย่างทีเอ็มบีมาร่วม 1 ทศวรรษ สิ่งที่ได้เห็นมาตลอดก็คือ การไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาของคนในองค์กร ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่คุณศรัณย์มองเห็นตลอดการทำงานกว่า 10 ปีที่ทีเอ็มบี ก็คือ การพยายามทำให้องค์กรมี Layer ให้น้อยที่สุด เพื่อให้องค์กรมันทำงานได้อย่างคล่องตัว การ Empower พนักงาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา

 

TMB HACKATHON เป็นขบวนการช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน ในการ Deliver Solution ในระยะเวลาอันสั้น มันเป็นวิธีการทำงานที่สามารถรวบรวมคนที่อยู่ในแต่ละแผนก ที่ก่อนหน้านั้นมองปัญหาออกไปในแต่ละมุมมองกัน เมื่อมุมมองต่างกัน อาจจะเกิดความขัดแย้งของแต่ละแผนก ดังนั้น TMB HACKATHON จะช่วยให้เรามองปัญหาแบบรอบด้านมากขึ้น แต่อยู่ภายใต้โจทย์เดียวกัน เพราะฉะนั้น โซลูชั่นที่เราจะแก้ปัญหามันจะดีขึ้น มันเป็นการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของแวลูเชนให้สามารถเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อร่วมแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้” 

 

 

เช่นเดียวกับคุณพรรณวลัย อินทราพิเชฐ Product Owner – E-Payment Disruptive Agile ที่มองว่า การจัดงาน TMB HACKATHON ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึง การเป็นแบงก์ที่ไม่หยุดนิ่งในการนำแนวคิดใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการทำงาน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า ซึ่งด้วยการที่ทีเอ็มบี เป็นองค์กรที่ Lean ทำให้การทำงานทุกอย่างค่อนข้างเร็ว เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า การนำแนวคิดจาก HACKATHON มาปรับใช้จึงเป็นอะไรที่ลงตัวกับการทำงานจริงในชีวิตประจำวัน

 

คุณพรรณวลัย  ยังกล่าวอีกว่า ความรู้สึกในตอนแรกที่ถูกเลือกเข้ามาร่วมในทีมก็ตกใจ เพราะ HACKATHON ที่เราได้ยินมามักได้ยินหรือเห็นจากองค์กรที่เป็นฟินเทค ไม่แน่ใจว่า TMB HACKATHON ครั้งนี้ จะแตกต่างจากที่ได้ยินมาหรือไม่ เพราะหน่วยงานที่อยู่เป็น Agile อยู่แล้ว และมีวิธีการทำงานที่คล้าย ๆ กับ HACKATHON  คือมีโจทย์ที่ชัดเจน และโฟกัส

 

“พอไปทำจริงๆ มันต่างจาก Agile ที่เคยทำ เพราะมันเป็นการรวมตัวกันแค่ 48 ชั่วโมง เพื่อวัตถุประสงค์อันใดอันหนึ่ง จุดที่ยากก็คือการตั้ง Problem Statement  เพราะ Problem Statement ที่ชัดจะทำให้เรา Define กลุ่มลูกค้าที่ใช่ โซลูชั่นที่เราดีไซน์ออกมามันก็จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้จริงๆ”

 

เห็นได้ชัดเจนว่า การนำแนวคิดใหม่ ๆ มาปรับใช้ เพื่อเปลี่ยนวิธีการทำงานภายในองค์กรของทีเอ็มบีนั้น จะอยู่บนแนวทาง “ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” มุ่งเน้นที่จะเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ มีความหมายต่อชีวิตของลูกค้าอย่างแท้จริง ตอกย้ำเจตนารมณ์การเป็นธนาคารที่ให้ลูกค้าได้มากกว่า มุ่งเป้าเดินตามโรดแมพ 5 ปี ขึ้นชั้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศ ภายในปี 2565


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"