ภาพสวย 'หน่อย' พบนักเรียนลำปาง ชูกระจายโอกาสทางการศึกษา


เพิ่มเพื่อน    

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan

2 ธ.ค. 61 - คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศตร์พรรคเพื่อไทย โพสต์รูปภาพและข้อความลงในเฟซบุ๊กแฟนเพจ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphanโดยระบุว่าผลักดัน “การพัฒนาคนเป็นวาระแห่งชาติ” ด้วยการสร้างเด็กไทยให้เป็น Global Citizen เพื่อคว้าโอกาสจากโลกยุคใหม่ อาศัยเทคโนโลยีสร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชน

หน่อยมาลำปางเพื่อรับสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทยและพบปะพี่น้อง จึงถือโอกาสตรงไปที่ “โรงเรียนบ้านสามขา” ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ โรงเรียนนี้มีจุดเด่นในการใช้ระบบการเรียนการสอนแบบ Constructionism หรือเรียกว่ากระบวนสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง พูดง่ายๆคือคุณครูที่นี่ดึงเอาศักยภาพของชุมชนเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอนให้ลูกหลานของพวกเขาค่ะ

ที่เลือกมาที่โรงเรียนบ้านสามขา เพราะหน่อยได้ยินชื่อเสียงมานานจากการจัดการเรียนการสอนของเขาค่ะ และหน่อยเองก็ตั้งใจที่จะผลักดันให้ “การพัฒนาคนเป็นวาระแห่งชาติ” และต้องการให้ “เด็กไทยทุกคนต้องมีโอกาสทางการศึกษาเท่ากัน” ที่นี่ถือว่าเป็นโมเดลที่ตอบโจทย์และน่าสนใจมากค่ะ

หน่อยอยากเห็น “การกระจายโอกาส” ในการจัดการศึกษาลงสู่พื้นที่ ให้ “โรงเรียน-ชุมชน-ผู้ปกครอง” ร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้ลูกหลาน เป้าหมายคือรับใช้ท้องถิ่นและสร้างเด็กไทยให้เป็น Global Citizen ให้ได้

โรงเรียนนี้มีนักเรียน 75 คน มีครูประจำการเพียง 4 คน และใช้ปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาช่วยสอนลูกหลาน โครงการเกษตรที่โรงเรียนสอนนักเรียนและทำร่วมกับชุมชนจะเปลี่ยนธีมไปทุกปี ปีนี้ธีมหลักคือ ‘เห็ดแดง’ ซึ่งเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของชาวบ้านในชุมชนสามขา

ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเก็บเห็ดแดงขายอยู่แล้ว โดยจะเก็บเห็ดแดงสดเพื่อไปขาย ได้ราคากก. ละ 120 ถึง 150 บาท แต่ถ้าอบแห้งราคาก็จะเพิ่มถึงกิโลกรัมละ 4,000 บาทแต่ต้องใช้สด 10 กิโลกรัมจะได้เห็ดอบแห้ง 1 กิโลกรัม

เพื่อส่งออกไปขายยังประเทศจีน

นักเรียนที่นี่จะได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องเห็ดจากปราชญ์ชาวบ้าน มีโอกาสลงไปสำรวจเห็ดในธรรมชาติด้วยตนเอง เก็บตัวอย่างเห็ดและดินมาทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บวกกับเทคโนโลยี (สมาร์ทโฟน) เพื่อหาวิธีที่จะทำให้เก็บเห็ดได้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

หน่อยเคยเสนอไว้ในเวทีเสวนาด้านการศึกษาว่า หลักสูตรในการจัดการศึกษา ต้องมีจุดร่วม แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งประเทศเพราะ “เราไม่จำเป็นต้องตัดเสื้อโหลให้เด็กทั้งประเทศต้องใส่เหมือนกัน”

หน่อยเชื่อมั่นใน “การกระจายโอกาส” ให้แต่ละท้องถิ่นสามารถจัดหลักสูตรตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ ก็จะช่วยดึงศักยภาพของคนในพื้นที่ ดึงศักยภาพของชุมชน และเราก็พร้อมสนับสนุนให้เกิดการคว้าโอกาสจากโลกยุคใหม่มาสู่ชุมชน

แค่คิดก็น่าสนุกแล้วค่ะ เช่นที่ “มหาสารคาม” ซึ่งเป็น “แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดในโลก” ต้องมีหลักสูตรที่สอนให้เด็กรู้จักพัฒนาการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตมากขึ้น สอนให้เด็กบริหารจัดการตลาด ออกแบบเพจเกจจิ้งที่สวยงาม อาศัยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นทรัพย์สินในโลกยุคใหม่ ไปทำตลาดข้าวผ่านการขายออนไลน์ให้มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งขยายไปยังจังหวัดต่างๆที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ดึงเอาศัยภาพเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างจุดขาย

โรงเรียนแต่ละแห่ง ไม่เพียงต้องสอนให้เด็กใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด แต่ต้องสร้างทักษะเทียบให้เท่ากับพลเมืองของโลกต้องฝึกให้เด็กใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เป็นประโยช์ต่อการทำมาหากินในอนาคต และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่าย ทั้งหมดนี้จะเป็นช่องทางส่งเสริมเด็กไทยให้สามารถคว้าโอกาสจากโลกยุคใหม่มาใส่มือของตนเองได้ค่ะ"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"