การที่ทั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เริ่มมีการรุกในเรื่องบริการ 5จี ทั้งการทำเรื่องเตรียมพร้อมรองรับอนาคต 5G ด้วยระบบแจ้งค่าพิกัดแบบ GNSS RTK และการทดสอบอุปกรณ์ 5G ถือเป็นการส่งสัญญาณนับถอยหลัง สำหรับโครงข่ายแห่งอนาคตที่คาดว่าจะพลิกโฉมประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
โดยในขณะนี้แต่ละค่าย ก็ได้เริ่มทำการทดสอบระบบ 5จี กับการใช้งานรูปแบบต่างๆอย่างอยู่ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีการสื่อสารยุค 5จี จะมีความสอดคล้องกับ การผลักดันเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล เพราะพื้นฐานของเทคโนโลยี 5จี นั้นไม่ได้ใช้เพื่อการโทรคมนาคมทางด้านเสียง หรือแค่ส่งผ่านข้อมูลสำหรับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ 5จี คือ ยุคของการเชื่อมโยงทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ ( IoT) ที่จะช่วยเชื่อมโยงอุปกรณ์และแอปพลิเคชั่น ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ดังนั้นจุดเด่นของ 5จี ไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดสรรคลื่น หรือ การลงทุนในอุปกรณ์เท่านั้น แต่หัวใจ ของ 5จี คือ แอปพลิเคชั่น และการประยุกต์การใช้งาน ซึ่งก็รู้กันดีว่า ประเทศไทย เป็นประเทศผู้ซื้อเทคโนโลยี ไม่ใช่ผู้ผลิต ดังนั้นเพียงแค่มีเงินก็สามารถอัพระบบเป็น 5จี ได้แล้ว แต่สาระสำคัญของการใช้ 5จี ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือ การนำเสนอบริการ หรือ สินค้า รูปแบบใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตของคนในสังคม มีความสะดวกสบายง่ายขึ้น
จุดเด่นของโครงข่าย 5 จี ถ้าจะเข้าใจให้ง่ายว่าแตกต่างจาก 4จี อย่างไร นอกจากความเร็วรับ-ส่งข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น 15 เท่า สิ่งที่ 5จี จะทำให้เกิดนวัตกรรมหรือบริการใหม่นั่นก็คือการตอบสนองสัญญาณ (Latency) ที่เร็วมากเพียงเสี้ยววินาที คือ ไม่เกิน 1 มิลลิเซ็กกันด์ หรือ 1 ใน 1,000 ของวินาที ซึ่งจะทำให้การควบคุมอุปกรณ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น และยังรองรับอุปกรณ์ IoT ได้นับล้านชิ้นในหนึ่งตารางกิโลเมตร นี่คือสิ่งที่จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ยุค 5จี ในการออกแบบให้บริการต่างๆ จากภาคธุรกิจสู่ธุรกิจด้วยกัน จนถึงภาคธุรกิจสู่ผู้ใช้งานทั่วไป
อย่างกรณีของ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่แม้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติทดสอบ 5จี จากกสทช. อยู่นั้น แต่ในระหว่างนี้ก็ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) พัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการรูปแบบใหม่ อาทิ "ระบบแจ้งพิกัด" ซึ่งในอนาคตสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการระบุพิกัดสถานที่ต่างๆ และตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง ที่จะพัฒนาไปสู่การพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การนำยานยนต์ไร้คนขับมาให้บริการ การใช้โดรนขนส่งสินค้าทางอากาศสู่จุดรับสินค้า รวมทั้งการใช้งานของเกษตรกรรมแนวใหม่ เช่น สามารถใช้โดรนในการฉีดยาควบคุมแมลงได้ถึงระดับเฉพาะต้นในแปลงเพราะปลูก รวมถึงการผ่าตัดทางไกล ที่สามารถสั่งการหุ่นยนต์ให้ทำงานได้เปรียบเสมือนเป็นมนุษย์จริงๆ
นอกจากนี้ ดีแทค ยังมีพัฒนาบริการการเกษตรรูปแบบใหม่ “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น Farmer info ที่ถือเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและบิ๊กดาต้าเข้ามาปรับใช้ในด้านการเกษตร ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโครงข่ายมาสร้างผลิตผลเพิ่มให้กับเกษตรกร ซึ่งบริการนี้ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการพยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ การตรวจสุขภาพพืช และการวางแผนการเพาะปลูก และลดภาระค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองได้ นี่เป็นแค่เพียงบางตัวอย่าง แต่ถ้ายุค 5จี มาจริงๆ มันจะเกิดบริการรูปแบบใหม่ๆมาอีกมากมาย
ดังนั้นต้องมีความเข้าใจว่า การเปิดตัว 5จี จะไม่ใช่แค่การอัพเกรดโครงข่าย หรือแค่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ แต่จะต้องมีการสร้างการส่วนร่วมทั้งอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมต่อธุรกิจสู่ธุรกิจ และธุรกิจสู่ผู้บริโภค รวมทั้งยังพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน นี่คือกลยุทธ์ 5G ที่ไทยควรจะต้องเดินไป
อย่างไรก็ดีการขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ให้ประสบความสำเร็จ หัวใจหลักไม่ได้อยู่ที่ภาครัฐ หรือ หน่วยงานกำกับดูแลเท่านั้น เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่นั้นเป็นแค่ส่วนเดียวของ 5จี โดยในอนาคต กสทช. ก็จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่ใช้งาน 5จี อย่างย่าน 700, 2600, 3500 เมกะเฮิรตซ์ และ 28 กิกะเฮิรตซ์ ออกมาอยู่แล้ว แต่หากจะให้มันขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มันจะต้องเกิดความร่วมมือทั้ง เอกชน และ ภาควิชาการ รวมกันเป็น 3 พลังประสานงาน ภาครัฐช่วยในเรื่องข้อกฎหมาย อำนวยความสะดวก วางกติกา จัดสรรคลื่นอย่างเป็น ธรรม ราคาไม่สูงเกินไป ด้านเอกชน นำมาพัฒนาบริการให้กับลูกค้า ขณะที่ภาควิชาการ อาจจะนำความรู้ใหม่ มาเสริมเพื่อสร้างให้ การนำ 5จีไปใช้ได้ประโยชน์สูงสุด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |