บันทึก50ปี หน้าประวัติศาสตร์"ดุสิตธานี"


เพิ่มเพื่อน    

          

โรงแรมดุสิตธานี เมื่อ50ปีที่แล้วถุือว่าเป็นอาคารสูงแห่งแรกของกรุงเทพฯและมีลักษณะรูปทรงสถาปัตยกรรมที่ถูกนำมาเป็นบทเรียน

ศึกษาในภาควิชาสถาปัตย์ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ

                             
           เป็นเวลาเกือบ 50 ปีแล้ว ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คู่กับกรุงเทพมหานคร ซึ่งในยุคแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ของการเปิดบริการโรงแรมนั้น ดุสิตธานีถือเป็นโรงแรมหรูหราแห่งแรกๆของประเทศ และเป็นอาคารสูงแห่งแรกของประเทศ  ที่มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมและร่วมสมัยผสมผสานกัน  


    และยังถือเป็นต้นแบบของอาคารสถาปัตยกรรมไทยโมเดิร์นยุคแรก ๆ ที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับตะวันตกได้อย่างลงตัว ที่ได้รับการพูดถึงในการเรียนการสอนของนักศึกษาสถาปัตย์  


    ส่วนลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมใส่วนความเป็นไทยของตัวโรงแรม ได้รับแรงบันดาลใจจากยอดพระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งเป็นการคิดแบบนอกกรอบในการออกแบบสถาปัตยกรรมในยุคนั้น 


    นอกจากนั้นยังได้เห็นการพัฒนาการและความก้าวหน้าของจิตรกรรมฝาผนังของไทย ซึ่งปรากฏอยู่บนผลงานของท่านปรมาจารย์ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัยได้นำสีสันใหม่ ๆ มาใส่ในงานจิตรกรรมไทยในห้องอาหารเบญจรงค์ รวมถึงการจัดภูมิสถาปัตย์ การออกแบบสวนต่าง ๆ ที่เหมือนเป็นโอเอซิสใจกลางเมือง และเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้น้อยใหญ่ที่แวดล้อมอาณาบริเวณโรงแรม ซึ่งสร้างบรรยากาศ ความสงบเงียบ และเป็นแหล่งผลิตโอโซนขนาดย่อม ๆ ให้แก่ย่านสีลม


          ก่อนที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ จะปิดฉากลง เพื่อปรับปรุงเป็นเวลา 4 ปี นับจากปี2562เป็นต้นไป  ก่อนจะกลายแลนด์มาร์กศูนย์การค้าธุรกิจแห่งใหม่ใจกลางเมืองย่านสีลม   บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ได้จับมือกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศความร่วมมือในโครงการ “บันทึกการเปลี่ยนผ่านหน้าประวัติศาสตร์ของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ” โดยความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่สถาบันการศึกษาภาครัฐและองค์กรธุรกิจเอกชน จะร่วมมือกันในการศึกษา วิจัย อนุรักษ์ และเก็บบันทึกเรื่องราวความโดดเด่นในทุกมิติของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ลงในสื่อผสมหลากหลายทั้งงานภาพจิตรกรรม หนังสั้น และบันทึกลงในมัลติมีเดียแอพลิเคชั่น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

แถลงความร่วมมือ

 

ดุสิตธานีในมุมมองของ ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท ศิลปินแห่งชาติ


           นายชนินทธ์ โทณวณิก  รองประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เผยถึงจุดเริ่มต้นของโรงแรมที่กลายเป็นตำนานของประเทศว่า เริ่มแรก‘ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย’ คุณแม่ของตนสร้างโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ขึ้นมาด้วยความเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในเวทีระดับโลก ซึ่งท่านคิดว่า การสนับสนุนที่ดีที่สุดคือ การสร้างโรงแรมที่โดดเด่นและดีที่สุดตามมาตรฐานสากล โดยยึดขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยเป็นหลัก เพื่อให้กรุงเทพมหานครปรากฏอยู่บนแผนที่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
       “ผมเป็นลูกคนโต จะเห็นความเป็นมาเป็นไปของโรงแรมมาตั้งแต่เริ่ม ในสมัยนั้นมีโรงแรมผุดขึ้นมามากมาย มีคนนำเสนอให้ทำโรงแรมสไตล์ฝรั่ง แต่คุณแม่ก็ยังยืนยันจะทำให้โรงแรมมีเอกลักษณ์แบบไทยๆ แม้แต่ชื่อโรงแรมจำได้ว่าตอนที่ตั้งชื่อก็มีคนแสดงความเห็นว่า ชื่อโรงแรมเรียกยาก ทำไมตั้งชื่อไทย เพราะว่าสมัยนั้นส่วนใหญ่นิยมวัฒนธรรมต่างประเทศ ชื่อสถานที่มักจะตั้งเป็นภาษาอังกฤษกันหมด แต่คุณแม่ก็ยังยืนยันที่จะใช้ชื่อนี้เพราะท่านเชื่อว่าตัวตนความเป็นไทยนั้นดีที่สุดแล้ว ภายในโรงแรมมีหลายอย่างที่แสดงออกถึงความเป็นไทย โดยเฉพาะห้องเบญจรงค์ ที่โดดเด่นสุดเพราะเป็นห้องอาหารไทย คุณแม่ได้ให้ศิลปินชื่อดังสมัยนั้นมาเขียนภาพ แกะสลักให้ได้ลวดลายสวยงาม บ่งบอกความเป็นไทยมากที่สุด ไม่นับรวมกายภาพด้านนอกอาคารของโรงแรมที่ผมเองก็เห็นจนชินตาไม่รู้ว่าส่วนไหนคืออะไร จึงต้องให้คณะอาจารย์ศิลปากรมาศึกษา จึงพบว่ามีหลายอย่างแฝงอยู่เยอะมาก ฉะนั้นเมื่อจะต้องเปลี่ยนแปลงยกระดับโรงแรม ผมจึงอยากคงตัวตนเดิมของดุสิตธานีเอาไว้ให้มากที่สุดโดยนำชิ้นงานศิลปะสำคัญ ๆ และองค์ประกอบดั้งเดิมบางส่วนของดุสิตธานี กรุงเทพฯ ไปอยู่ในโรงแรมแห่งใหม่ด้วย เพื่อให้แขกใหม่ ๆ และลูกค้าประจำที่ผูกพันกับโรงแรมดุสิตธานี รู้สึกอบอุ่นคุ้นเคยเหมือนเดิมเมื่อย่างเท้าเข้ามาและเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา เพราะเชื่อว่าอดีตคือแรงบันดาลใจสู่อนาคตที่ยั่งยืน” นายชนินทธ์ กล่าว
       ขณะที่ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เสริมว่า จุดเริ่มต้นของโครงการที่ร่วมกับม.ศิลปากรมาจากการสนับสนุนด้านดนตรีของน้องๆ คณะดุริยางคศาสตร์ในมหาวิทยาลัยให้มีเวทีได้แสดงออกตามโรงแรมในเครือของดุสิตธานี จากนั้นคณาจารย์ม.ศิลปากรได้สังเกตเห็นเสาสองต้นในห้องอาหารเบญจรงค์ ที่หนักต้นละ 5 ตัน และเสายังมีภาพเพ้นท์ลายไทย ภายในห้องอาหารมีงานไม้สักทองแกะบนฝ้าเพดาน มีภาพจิตรกรรม จึงได้มองเห็นถึงภาพรวมอื่นๆของโรงแรมที่มีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นงานตกแต่งเปลือกอาคาร และสวนพฤษาร่มรื่นภายนอก หากทิ้งหรือเปลี่ยนแปลงหมดไปคงน่าเสียดาย
          ด้านรองศาสตราจารย์สยุมพร  กาษรสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สำหรับบทบาทของมหาวิทยาลัยศิลปากรในโครงการนี้เน้นที่การนำความรู้ความชำนาญของเหล่าคณาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ ทั้งคณะโบราณคดี คณะสถาปัตยกรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และความร่วมมือของคณะวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการร่วมกันในการเก็บบันทึกข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเรื่องราวของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เหมือนเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นยอดสำหรับผู้ที่สนใจในการพัฒนาการทางด้านศิลปะวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมของไทย
      "การเปลี่ยนแปลงของสถานที่หลายแห่งมักจะทุบรื้อถอน ซึ่งไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญของอาคารที่ทุบเลย ขณะที่โรงแรมดุสิตธานีมีหลายมิติมากที่พวกเรามองว่าน่าเสียดาย ควรจะนำไปประยุกต์อยูู่ในอาคารใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตอนแรกเรามองแค่เสาในห้องอาหารเบญจรงค์ แต่ตอนนี้คิดว่าไม่ได้แล้ว เชื่อว่ายังมีภาพต่างๆ แฝงอยู่ในโรงแรม 
    แต่อาจจะไม่โดดเด่นเท่าห้องเบญจรงค์ แต่นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้น การทำงานของอาจารย์ทุกท่านก็จะต้องเก็บดีเทลรายละเอียดทั้งหมด ก็จะต้องดำเนินงานกันต่อไป" อ.สยุมพร กล่าว
           ส่วนผู้ช่วยศาสตรจารย์ชวลิต ขาวเขียว คณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ประกอบด้วย สามส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนแรกเป็นงานอนุรักษ์ ซึ่งครอบคลุมการอนุรักษ์งานเครื่องไม้สักทองแกะลวดลายบนฝ้าเพดาน และงานจิตรกรรมภาพวาดบนเสาและฝาผนังในห้องอาหารเบญจรงค์ รวมถึงเปลือกอาคารด้านนอก ซึ่งต้องใช้การบูรณาการของทุกองค์ความรู้ ทั้งด้านจิตรกรรม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีในการอนุรักษ์ผลงานอันทรงคุณค่านี้  ส่วนที่สอง คือการศึกษา วิจัย ประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรมและพืชพรรณ เพื่อหาความหมายของสิ่งที่แฝงภายใต้งานศิลปะสวยงามในโรงแรม เป็นข้อมูลบันทึกประวัติศาสตร์และถอดแบบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมและทำโมเดลจำลองของโรงแรมส่วนที่สามคือการจัดกิจกรรมเผยแพร่คุณค่าของดุสิตธานีผ่านฝีแปรงจากศิลปินแห่งชาติ และศิลปินชั้นนำของไทยจำนวน 20 ท่าน 
    "ในส่วนนี้จะเห็นว่าศิลปินแต่ละท่านมองดุสิตธานีผ่านแง่มุมที่มีคุณค่าต่างกัน ผลงานเหล่านี้จะจัดแสดงนิทรรศการให้ชมกันเป็นครั้งแรกในโรงแรมดุสิตธานี ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปด้วย ซึ่งกระบวนการทำงานวิจัยและอนุรักษ์ทุกขั้นตอน จะมีการรวบรวบข้อมูลและจัดทำเป็นหนังสือดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้เป็นสาธารณประโยชน์ต่อไป."

 

ด้านนอกโรงแรมสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย

 

โรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพฯ กับสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย

ห้องอาหารเบญจรงค์


บรรยากาศสวนภายในโรงแรม

ภาพเขียนดุสิตธานีผ่านมุมมองศิลปินแห่งชาติ


---------------------

1.ดุสิตธานีในมุมมองของ ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท ศิลปินแห่งชาติ
2.ผ่านมุมมองภาพเขียน วรวิทย์  แก้วศรีนวม
3.ภาพเขียนดุสิตธานีผ่านมุมมองศิลปินแห่งชาติ
4.โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในความทรงจำก่อนจะปิดปรับป
5.สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยภายในโรงแรม
6.สถาปัตยกรรมเปลือกอาคารด้านนอก
7.สวนสวยร่มรื่นภายในโรงแรม
8.ห้องอาหารเบญจรงค์
...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"