ผลงานของ เดชา วราชุน
งาน “Thailand Glass Art Festival 2018” (ไทยแลนด์ กล๊าส อาร์ต เฟสติวัล 2018) นิทรรศการแสดงศิลปะจากการเป่าแก้วครั้งแรกของประเทศไทย ที่นำผลงานศิลปะแก้ว งามวิจิตร กว่า 40 ชิ้น สร้างสรรค์โดยศิลปินระดับโลก พร้อมด้วยศิลปินแห่งชาติและศิลปินแถวหน้าของไทย มาเปิดการแสดงให้ชมฟรี ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน วันที่ 30 พ.ย.-6 ธ.ค. 61
ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จากัด (มหาชน) ผู้จัดงาน กล่าวว่า ในฐานะที่บีจีซี เป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์แก้ว มุ่งหวังที่จะพัฒนางานศิลปะแก้วให้เติบโตขึ้นในประเทศไทยจึงจัดตั้งหน่วยงาน BGC Glass Studio ขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ และพัฒนาการศึกษาด้านศิลปะแก้วอย่างจริงจัง โดยมีการลงนามในเอกสารความร่วมมือ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อผลักดันแก้วให้พัฒนาไปสู่ผลงานสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปะจากการเป่าแก้วในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เชิญศิลปินผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคนิคการปฏิบัติงานแก้วให้แก่ บุคลากรของบริษัทฯ ศิลปินชาวไทย อาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป จึงเกิดเป็นกลุ่มศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะจากการเป่าแก้วขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาไปสู่การจัดกิจกรรม และการเผยแพร่งานศิลปะจากแก้วในอนาคต
"จากเหตุผลดังกล่าว และตอกย้ำสโลแกนขององค์กรที่ว่า ‘Invent to inspire’ พลังสร้างสรรค์ ไม่มีวันหมด เราจึงได้ริเริ่มจัดงาน Thailand Glass Art Festival 2018 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.- 6 ธ.ค. 61 เพื่อสร้างจุดหมายใหม่ของวงการศิลปะจากการเป่าแก้วให้เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึงผลักดันให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคอาเซียน พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้ชมเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานอันหลากหลายจากศิลปินแก้วระดับนานาชาติผ่านผลงานที่จัดแสดง ซึ่งถือเป็นนิทรรศการแสดงศิลปะจากการเป่าแก้วครั้งแรกของประเทศไทย เพื่้อผลักดันให้ผลงานศิลปะแก้วของไทยก้าวไกลสู่สากล ด้วยการนำเสนอศิลปะแก้วรูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนสนับสนุนพลังสร้างสรรค์ของศิลปินรุ่นใหม่ เพราะเราเชื่อมั่นว่าศักยภาพศิลปินไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก และเชื่ออย่างยิ่งว่านิทรรศการครั้งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาชมนิทรรศการอย่างแน่นอน” ศิลปรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ นิทรรศการ “Thailand Glass Art Festival 2018” จัดขึ้น ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 61 ชวนตื่นตาผลงานศิลปะแก้ว จากศิลปินแก้วระดับโลก ร่วมด้วยศิลปินแห่งชาติ และศิลปินแถวหน้าของไทย รวมกว่า 40 ชิ้น
Jeremy Popelka
ศิลปินแก้วระดับโลก ที่่มาร่วมงานเปิดนิทรรศการได้แก่ เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka) และ สเตฟานี เทร็นเชิร์ท (Stephanie Trenchard) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการยอมรับในฐานะศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะแก้ว โดยทั้งคู่ได้ร่วมกันสะท้อนเรื่องราวต่างๆ ผ่านงานศิลปะแก้วได้อย่างสวยงามและลงตัว ผลงานของทั้งคู่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในหลายประเทศ ทั้งยัง ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะแก้ว และงานหล่อทราย ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันศิลปะชั้นนำในสหรัฐอเมริกา
Nick Mount
ส่วนศิลปินผู้เชี่ยวชาญจากไทย อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล ศิลปินและอาจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรม ผู้บุกเบิกวิชาศิลปะแก้วในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงศิลปะและประติมากรรม ผลงานของอาจารย์ได้รับแรงบันดาลใจจากการนำความทรงจำและประสบการณ์ในอดีตมาเล่าเป็นกวี โดยนำเสนอเรื่องราวผ่านผลงานประติมากรรม
Stephanie Trenchard
ศิลปินแก้วนานาชาติ ที่นำผลงานมาจัดแสดง อื่นๆยังมี Austin Stern (USA), Nick Mount (Australia), Peter Bowles (Australia), Osamu Noda (Japan), Yumiko Noda (Japan), Hiroshi Yamano (Japan), Nobuyuki Fujiwara (Japan), Koh Seong-Hee (Korea), Lee Yong-Phill (Korea) ศิลปินแก้วไทย อาทิ อิทธิพล ตั้งโฉลก (ศิลปินแห่งชาติ), เดชา วราชุน (ศิลปินแห่งชาติ), ชนิดา สุวรรณเพ็ญ, จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, ณัฏฐา เจริญพานิช, ชานนท์ ไกรรส, อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์, สวรรยา จันทรสมัย, เอกชญงค์ พรขจรกิจกุล, อุทิศ โพธิคำ หรือ Jayoto, ชยุตม์ จันทรากุล, ปกรณ์ สิงชา
อิทธิพล ตั้งโฉลก
ผลงานของ อิทธิพล ตั้งโฉลก
เดชา วราชุน
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล
ผลงานของจักรพันธ์ วิลาสินีกุล
ผลงานของ Jeremy Popelka
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |