อนาคตใหม่ลิ้นพันอ้างไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง แต่ไม่พูด'ไทยซัมมิท'ไล่คนงานออกเพราะอยากตั้งสหภาพฯ


เพิ่มเพื่อน    

27 พ.ย.61- นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Sustarum Thammaboosadee ระบุว่า

วันนี้ผมได้บรรยายเรื่องเสรีนิยมใหม่กับการทำลายประชาธิปไตยจากการทำลายระบบสวัสดิการ ที่ ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งนอร์เวย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโล

ข้อเสนอหลักคือ บันไดขั้นสุดท้ายของการทำลายประชาธิปไตยของรัฐบาลอำนาจนิยมคือการทำลายความเป็นประชาธิปไตยในระบบสวัสดิการ และสร้างระบบใหม่ที่วางอยู่บนฐานความไร้อำนาจของประชาชน

มีการแลกเปลี่ยนจากนักวิชาการชาวนอร์เวย์หลากหลายมากๆ หยิบประเด็นสำคัญดังนี้

Q: ในประเทศอย่างไทยที่ไม่มีสหภาพแรงงานเข้มแข็งจะสร้างรัฐสวัสดิการได้อย่างไร กรณีนอร์เวย์สหภาพแรงงานเป็นกลไกสำคัญมาก

A: ประเทศไทยมีสมาชิกสหภาพแรงงานน้อยมาก แต่เรามีสามารถเริ่มจากปริมาณที่ไม่มากนี้สำคัญคือ แรงงานนอกระบบ 20 ล้านคน เราต้องจัดเงื่อนไขรัฐสวัสดิการเพื่อคนกลุ่มนี้ให้ได้ เพราะฉะนั้นระบบต้องมีเงื่อนไขน้อยที่สุดเพราะคนที่ลำบากที่สุดไม่ได้จนที่สุดแต่ถูกกีดกันสิทธิมากที่สุด เมื่อรัฐสวัสดิการเกิดขึ้นคนกลุ่มนี้จะมีพลังและรวมตัวได้

Q: จะเรียนรู้จากจีนที่ใช้เสรีนิยมใหม่เข้ามาแล้วแก้ไขคนที่จนที่สุดได้หรือไม่

A: จีนประสบความสำเร็จในการแก้คนจนที่สุด แต่ล้มเหลว(โดยจงใจ)ในการแก้ความเหลื่อมล้ำ ปัจจุบันเทคโนโลยี ระบบการผลิตที่ก้าวหน้า ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและคนไร้อำนาจทางเศรษฐกิจจากความเหลื่อมล้ำ กลับสร้างอำนาจในการควบคุมชีวิตคนแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้ผ่านอำนาจรัฐและทุนที่ผูกขาดมากล้น

Q: การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในสองปีที่ผ่านมาในไทยทำให้มิติการพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน

A: จากผู้สังเกตภายนอกอาจไม่ต่าง เพราะเราปกครองโดยเผด็จการทหารมาสี่ปี ถ้าคุณมาเที่ยวเมืองไทย คุณอาจรู้สึกไม่ต่างกับการที่คุณไปสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย คนไทยเหมือนชินกับเผด็จการ แต่เมื่อไม่กี่เดือน แกนนำ กปปส.ประกาศตั้งพรรคการเมือง สี่ปีก่อนคนนับแสนสนับสนุนเขา ตอนนี้แม้เขาจะประกาศจุดยืนไม่ต่างกับสี่ปีก่อนแต่ความนิยมของพวกเขากลับตรงข้าม ผมเชื่อว่าเหตุหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงเมื่อสองปีก่อน

Q: ทำไมชนชั้นกลางไทยจึงไม่สนับสนุนรัฐสวัสดิการ รวมถึงประชาธิปไตย 

A:จากแผนภาพสถิติที่แสดงผมเชื่อว่ามีชนชั้นกลางในไทยน้อยกว่าที่คนไทยเข้าใจ คนที่ปลอดภัยจากการอยู่กับระบบมันน้อยมาก ทุกคนปากกัดตีนถีบ แต่คนที่พอปลอดภัยในระบบเชื่อว่าถ้าชนชั้นล่างมีชีวิตดีจะขึ้นมาแย่งพื้นที่ของเขาซึ่งล้วนเป็นมายาคติ ชนชั้นนำในไทยผูกขาดทั้งทางเศรษฐกิจและอุดมการณ์จนชีวิตชนชั้นกลางและล่างแทบไม่มีอะไร

Q:บริบทวัฒนธรรมไทยมีผลต่อการปฏิเสธ รัฐสวัสดิการและสิทธิมนุษยชนมั้ย

A:มีแน่นอน ซึ่งถูกหล่อหลอมประยุกต์ คติแบบจารีตให้มีผลสำคัญ เราคนไทยโดยมากไม่เชื่อเรื่องสิทธิโดยกำเนิด สิทธิมีเงื่อนไขเสมอโดยเฉพาะคนมีอำนาจสามารถกำหนดสิทธิได้ คนดีควรได้สิทธิมากกว่าคนอื่น คนเก่ง คนรวย คนประสบความสำเร็จ ก็พึงได้สิทธิมากกว่าตามแต่ละอรรถาธิบาย เห็นได้ชัดจากสิทธิข้าราชการ การสงเคราะห์ การพิสูจน์ความจน การผลักให้ลูกซื้อประกันให้พ่อแม่ (ผู้ฟังตลกและตกใจเรื่องนี้มาก พ่อแม่ซื้อให้ลูกก็แปลกแต่พอเข้าใจได้ แต่ลูกซื้อประกันให้พ่อแม่นี่แปลกมากสำหรับคนที่นี่) ซึ่งคติเหล่านี้ทำงานร่วมกับเสรีนิยมใหม่ได้ดีมาก ในการจำกัดอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองของคนส่วนใหญ่

บรรยากาศทางวิชาการและการมีส่วนร่วมของนักวิชาการเข้มข้นมากน่าจะมาจาก สหภาพผู้ปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยเข้มแข็ง นักวิชาการมีเวลาว่าง ภาระงานไม่เยอะมาก สามารถมาร่วมแลกเปลี่ยน

ทั้งนี้มีสิ่งหนึ่งที่นายษัษฐรัมย์ ไม่อธิบายคือคำถามจากนายใจ อึ๊งภากรณ์  นักเคลื่อนไหวทางวิชาการและการเมือง บุตรชายคนสุดท้องของ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์  อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่เคยเขียนบทความเรื่อง "แรงงานไม่ควรหลงเลือกนายใหม่ในรูปแบบพรรคอนาคตใหม่" ซึ่งมีเนื้อหา ระบุว่า บริษัทไทยซัมมิทอีสเทิร์น ซีบอร์ด ออโต้พาร์ท อินดัสตรี ของตระกูลนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ได้สั่งเลิกจ้างคนงาน 50 คนในวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เพราะได้ไปสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทย และทางบริษัทเกรงว่าจะทำให้ลูกจ้างมีอำนาจต่อรองกับบริษัทมากขึ้นหากมีสหภาพแรงงาน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"